พราหมณ์
พราหมณ์

พราหมณ์

พราหมณ์ (อักษรเทวนาครี: ब्राह्मण) เป็นวรรณะหนึ่งในแนวคิดศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ เช่น วิปฺระ, ทฺวิช, ทฺวิโชตฺตมะ หรือ ภูสร เป็นต้นพราหมณนั้นเป็นวรรณะหนึ่งในสี่วรรณะของสังคมอินเดีย เป็นผู้สืบทอดวิชาความรู้ ในคัมภีร์ ไตรเวทพิธีกรรม จารีต ประเพณี ศิลปะวัฒนธรรม และคติความเชื่อต่าง ๆ ให้สืบทอดต่อไป หรือไม่สืบทอดก็ได้โดยใช้ชีวิตตามปกติชนคนธรรมดาทั่วไป คงไว้ให้ผู้ใดในตระกูลสืบทอดแทน เป็นผู้มีสิทธิ์เลือก แบ่งแยกเป็นนิกายคือ พวกไศวนิกาย จะถือเพศ นุ่งขาว ห่มขาว ไว้มวยผม ถือศีล จริยาวัตรของพราหมณ์ มีครอบครัวได้ อยู่บ้าน หรือ เทวะสถาน ประจำลัทธิ นิกายแห่งตน อีกนิกายหนึ่งคือ ไวษณวะนิกาย จะไว้ผมเปียหรือมวยผม ถือเพศพรหมจรรย์ กินมังสวิรัติ ไม่ถูกต้องตัวสตรีเพศ นุ่งห่มสีขาว หรือสีต่าง ๆ ตามวรรณะนิกาย และอาศัยอยูในเทวสถานในการบวชเป็นพราหมณ์หลวง จะต้องได้รับความยินยอมจากที่ประชุมพราหมณ์ ในทำเนียบพราหมณ์หลวง โดยผู้บวชจะนำของมาถวายพราหมณ์ผู้ใหญ่ แล้วพราหมณ์ผู้ใหญ่จะมอบสายสิญจน์รับพราหมณ์ใหม่ หรือทวิชาติ ซึ่งหมายถึงการเกิดครั้งที่ 2 ซึ่งการบวชพราหมณ์ไม่ได้มีกฎปฏิบัติจำนวนมากเหมือนกับการบวชพระ โดยถือศีล 5 เป็นศีลปฏิบัติ สามารถแต่งกายสุภาพเหมือนผู้ชายทั่วไปในเวลาปกติ และสวมเครื่องแบบเป็นเสื้อราชปะแตนและโจงกระเบนสีขาวในยามประกอบพิธีกรรม รวมถึงสามารถมีภรรยาเพื่อมีทายาทสืบตระกูลพราหมณ์ต่อไปได้ กระนั้นก็ยังมีข้อห้ามบางประการที่พราหมณ์ไม่สามารถทำได้ อาทิ ห้ามรับประทานเนื้อวัว ปลาไหล และงูต่าง ๆ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบริวารของเทพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และห้ามตัดแต่งผม ต้องไว้ผมยาวแล้วมุ่นเป็นมวยไว้ที่ท้ายทอย เพราะตามหลักศาสนาเชื่อว่าบริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของเทวดา สำหรับกิจประจำวันที่พราหมณ์ต้องทำ คือนมัสการพระอาทิตย์ตามเวลาเช้า กลางวัน เย็น เพื่อเป็นการนำจิตวิญญาณกลับไปสู่พรหม กล่าวคือ การไหว้พระอาทิตย์จะนำแสงสว่างให้เกิดในปัญญานำไปสู่การหลุดพ้น และจะมีการสาธยายพระเวท ซึ่งถือเป็นคัมภีร์หลักในศาสนาพราหมณ์ ประกอบด้วย ฤคเวท ใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้า สามเวท ใช้สำหรับสวดในพิธีกรรมถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์และขับกล่อมเทพเจ้า ยชุรเวท ว่าด้วยระเบียบวิธีในการประกอบพิธีบูชายัญและบวงสรวงต่าง ๆ และ อาถรรพเวท ใช้เป็นที่รวบรวมคาถาอาคมหรือเวทมนตร์ ปฏิบัติต่อเทพด้วยความศรัทธา ปัจจุบันพราหมณ์หลวงจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับ พระราชพิธีต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ ในการอัญเชิญพระผู้เป็นเจ้าและทวยเทพตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มาเป็นสักขีในการกระทำพิธีนั้น ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแด่องค์พระมหากษัตริย์ ราชบัลลังก์ และบ้านเมือง โดยงานพระราชพิธีจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ งานประจำปี ได้แก่ งานเฉลิมพระชนมพรรษา วันฉัตรมงคล วันพืชมงคล การเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต เป็นต้น และงานตามวาระ อาทิ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อปีที่แล้ว เป็นต้น หน้าที่ของพราหมณ์หลวงคือการรักษาวัฒนธรรมในการประกอบพระราชพิธีถวายตามโอกาสต่าง ๆ แต่ก็สามารถรับประกอบพิธีอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากงานพระราชพิธีได้ เรียกว่า รัฐพิธี เป็นงานที่ถูกเชิญมาจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น วางศิลาฤกษ์ ยกเสาเอก งานวันเกิด งานตัดจุก ตั้งศาลพระภูมิ ซึ่งจะมีเงินทักษิณามอบให้พราหมณ์ตามศรัทธาทั้งนี้ ปัจจุบันมีตระกูลพราหมณ์ที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายงานพระราชพิธี หรือที่เรียกกันว่า พราหมณ์หลวง ซึ่งสืบสายมาจากบรรพบุรุษทั้งสิ้น 7 ตระกูล ได้แก่ สยมภพ โกมลเวทิน นาคะเวทิน วุฒิพราหมณ์ ภวังคนันท์ รัตนพราหมณ์ และรังสิพราหมณกุล