พฤติกรรมนิยม

พฤติกรรมนิยม (อังกฤษ: behaviorism/behaviourism) เป็นแนวทางสู่จิตวิทยาซึ่งรวมปรัชญา วิธีวิทยาและทฤษฎีบางส่วน กำเนิดขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นปฏิกิริยาต่อจิตวิทยา "มโนนิยม" ซึ่งมักลำบากในการพยากรณ์ที่สามารถทดสอบได้โดยใช้วิธีทดลองอย่างเคร่งครัด หลักพื้นฐานของพฤติกรรมนิยมดังที่แสดงในงานเขียนของจอห์น บี. วัตสัน, บี. เอฟ. สกินเนอร์ และอื่น ๆ คือ จิตวิทยาควรเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคลและสัตว์ที่สังเกตได้ มิใช่เหตุการณ์สังเกตไม่ได้ที่เกิดในจิต สำนักคิดพฤติกรรมนิยมถือว่าพฤติกรรมดังกล่าวสามารถอธิบายทางวิทยาศาสตร์ได้โดยไม่ต้องอาศัยทั้งเหตุการณ์จิตวิทยาภายในหรือการตีความสมมุติฐาน เช่น ความคิดความเชื่อนับแต่จิตวิทยายุคต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 สำนักคิดพฤติกรรมนิยมมีลักษณะควบร่วมกับขบวนการจิตวิเคราะห์และเกสตัลท์ในจิตวิทยาจนคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่ยังต่างจากปรัชญาจิตของนักจิตวิทยาเกสตัลท์ในทางสำคัญ อิทธิพลหลักของสำนักคิดนี้คือ อีวาน ปัฟลอฟซึ่งสำรวจการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (classical conditioning) แม้เขาไม่ได้เห็นด้วยกับพฤติกรรมนิยมหรือนักพฤติกรรมนิยม เอ็ดเวิร์ด ลี ธอร์นไดก์, จอห์น บี. วัตสันผู้ปฏิเสธวิธีอันตรวินิจและมุ่งจำกัดจิตวิทยาเฉพาะวิธีทดลอง และบี. เอฟ. สกินเนอร์ ผู้วิจัยเรื่องการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (operant conditioning)ในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 พฤติกรรมนิยมส่วนใหญ่ถูกบดบังเป็นผลจากการปฏิวัติการรู้ แม้สำนักคิดจิตวิทยาพฤติกรรมนิยมและการรู้อาจไม่ลงรอยกันตามทฤษฎี แต่ทั้งสองเสริมกันและกันในากรนำไปใช้รักษาทางปฏิบัติ เช่น การบำบัดการรู้–พฤติกรรมซึ่งมีประโยชน์ที่แสดงได้ในการรักษาพยาธิสภาพบางอย่าง เช่น โรคกลัวอย่างง่าย ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ และการติด นอกเหนือจากนี้ พฤติกรรมนิยมมุ่งสร้างแบบจำลองเบ็ดเสร็จของกระแสพฤติกรรมตั้งแต่มนุษย์เกิดจนตาย

ใกล้เคียง

พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี พฤติกรรม พฤติการณ์ที่ตาย พฤติกรรมผู้บริโภค พฤติกรรมศาสตร์ พฤติกรรมนิยม พฤติกรรมปัจจุบันของมนุษย์ พฤติกรรมวิทยา พฤติกรรมดูแลและผูกมิตร พฤติกรรมทางเพศของเกย์