พิธีสารเกียวโต
พิธีสารเกียวโต

พิธีสารเกียวโต

     ภาคี ประเทศภาคผนวกที่ 1 และ 2 โดยมีเป้าหมายผูกพัน     ภาคี ประเทศกำลังพัฒนาโดยไม่มีเป้าหมายผูกพัน*     รัฐที่มิใช่ภาคีสนธิสัญญา     ประเทศที่ลงนามโดยไม่มีเจตนาให้สัตยาบันสนธิสัญญา โดยไม่มีเป้าหมายผูกพัน[1]     ประเทศที่สละพิธีสารฯ โดยไม่มีเป้าหมายผูกพัน*[2]พิธีสารเกียวโต (อังกฤษ: Kyoto Protocol) ต่อท้ายอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) กำหนดพันธกรณีผูกพันต่อประเทศอุตสาหกรรมให้ลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก UNFCCC เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งมีเป้าหมายเพื่อบรรลุ "เสถียรภาพความเข้มข้นของแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศที่ระดับซึ่งจะป้องกันการรบกวนอันตรายจากน้ำมือมนุษย์กับระบบภูมิอากาศ"[6]พิธีสารเกียวโตมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2540 ในเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น และมามีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 จนถึงเดือนกันยายน 2554 มี 191 รัฐลงนามและให้สัตยาบันพิธีสารฯ[7] สหรัฐอเมริกาลงนามแต่มิได้ให้สัตยาบันพิธีสารฯ และแคนาดาถอนตัวจากพิธีสารฯ ในปี 2554[2] รัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นซึ่งมิได้ให้สัตยาบันพิธีสารฯ ได้แก่ อัฟกานิสถาน อันดอร์ราและเซาท์ซูดานภายใต้พิธีสารฯ 37 ประเทศอุตสาหกรรม[8] และประชาคมยุโรปในขณะนั้น[9] ("ภาคีภาคผนวกที่ 1") ผูกมัดตนเองให้จำกัดหรือลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกสี่ชนิด (คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์และซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์) และแก๊สสองกลุ่ม (ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอนและเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน)[10] รัฐสมาชิกทุกรัฐให้พันธกรณีทั่วไป[11] การจำกัดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกนี้ไม่รวมการปล่อยจากการบินและการเดินเรือระหว่างประเทศ[12]ที่การเจรจา ประเทศภาคผนวกที่ 1 ตกลงร่วมกันจะลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 5.2 ในระยะปี 2551-2555 เป็นสัดส่วนกับการปล่อยแก๊สเรือนกระจกต่อปีในปีฐาน ซึ่งโดยปกติใช้ปี 2533 เนื่องจากสหรัฐอเมริกามิได้ให้สัตยาบันในสนธิสัญญา การปล่อยแก๊สเรือนกระจกร่วมกันของประเทศภาคผนวกที่ 1 พิธีสารเกียวโตลดลงจากต่ำกว่าปีฐานร้อยละ 5.2 เหลือร้อยละ 4.2[13]:26ระดับการปล่อยในปี 2533 มาตรฐานที่รับรองโดยการประชุมภาคี UNFCCC (decision 2/CP.3) คือค่าของ "ศักยภาพโลกร้อน" (global warming potential) ซึ่งคำนวณแก่รายงานการประเมินฉบับที่สองของ IPCC[14] ตัวเลขเหล่านี้ถูกใช้เพื่อเปลี่ยนการปล่อยแก๊สเรือนกระจกหลายชนิดเป็นค่าสมมูลคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้เมื่อคำนวณจากแหล่งและแหล่งกักเก็บ (sink) ทั้งหมดพิธีสารฯ อนุญาตให้มี "กลไกยืดหยุ่น" หลายข้อ เช่น การค้าขายแลกเปลี่ยนก๊าซเรือนกระจก กลไกการพัฒนาที่สะอาด และการดำเนินการร่วมกันเพื่อให้ประเทศภาคผนวกที่ 1 สามารถรักษาการจำกัดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกโดยการซื้อเครดิตลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากที่อื่น ผ่านการแลกเปลี่ยนทางการเงิน โครงการซึ่งลดการปล่อยในประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 จากประเทศอื่นในภาคผนวกที่ 1 หรือจากประเทศภาคผนวกที่ 1 ซึ่งมีเงินช่วยเหลือเกินประเทศภาคผนวกที่ 1 แต่ละประเทศถูกกำหนดให้ต้องส่งรายงานประจำปีแสดงบัญชีการปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากน้ำมือมนุษย์จากแหล่งต่าง ๆ และการนำออกจากแหล่งกักเก็บภายใต้ UNFCCC และพิธีสารเกียวโต ประเทศเหล่านี้เสนอชื่อบุคคลเพื่อสร้างและจัดการบัญชีแก๊สเรือนกระจกของประเทศนั้น ๆ เรียกว่า "หน่วยงานผู้มีอำนาจของรัฐ" (designated national authority) แทบทุกประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 ยังได้ตั้งหน่วยงานผู้มีอนำาจของรัฐเพื่อจัดการข้อผูกมัดตามพิธีสารเกียวโตด้วย หรือโดยเฉพาะ "ขบวนการกลไกพัฒนาที่สะอาด" ซึ่งกำหนดว่าโครงการแก๊สเรือนกระจกใดที่ต้องการเสนอเพื่อให้ได้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาดที่การประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่โดฮาในปี 2555 ภาคีพิธีสารเกียวโต[15] ตกลงระยะผูกมัดการลดการปล่อยที่สองตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ถึง 31 ธันวาคม 2563 ซึ่งเกิดขึ้นในรูปของการแก้ไขพิธีสารฯ[16][17][18] 37 ประเทศซึ่งมีเป้าหมายผูกพันในระยะผูกมัดที่สอง ได้แก่ ออสเตรเลีย รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปทุกรัฐ เบลารุส โครเอเชีย ไอซ์แลนด์ คาซัคสถาน นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์และยูเครน[15] เมื่อรวมกันแล้ว ประเทศเหล่านี้จะลดการปล่อยร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับระดับเมื่อปี 2533 ระหว่างปี 2556-2563[15] เป้าหมายอาจปรับเพิ่มขึ้นในปี 2557[15][19] เป้าหมายการปล่อยที่ระบุไว้ในระยะผูกมัดที่สองจะมีผลต่อการปล่อยแก๊สเรือนกระจกของโลกราวร้อยละ 15[20][17] ภาคีภาคผนวกที่ 1 หลายรัฐซึ่งเข้าร่วมในพิธีสารเกียวโตรอบแรกมิได้รับเป้าหมายใหม่ในระยะผูกมัดที่สอง ได้แก่ ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และรัสเซีย ภาคีภาคผนวกที่ 1 อื่นซึ่งไม่มีเป้าหมายรอบสอง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (ซึ่งไม่เคยเป็นสมาชิกของพิธีสารฯ) และแคนาดา (ซึ่งถอนตัวจากพิธีสารเกียวโต มีผลบังคับปี 2555)[21][19]

พิธีสารเกียวโต

เงื่อนไข 55 รัฐให้สัตยาบันต่ออนุสัญญา, รวมทั้งรัฐที่รวมอยู่ในภาคผนวกที่ 1 ซึ่งเป็นเหตุอย่างน้อยร้อยละ 55 ของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์รวมในปี 2533 ของภาคีที่รวมอยู่ในภาคผนวกที่ 1
ผู้เก็บรักษา เลขาธิการสหประชาชาติ
มีผลวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548
วันลงนาม 11 ธันวาคม 2540
ผู้ให้สัตยาบัน 191
ผู้ลงนาม 83
สถานที่ เกียวโต
ภาษา อาหรับ, จีน, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, รัสเซียและสเปน

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: พิธีสารเกียวโต http://www.ctpost.com/news/science/article/UN-conf... http://www.huffingtonpost.com/2012/12/08/un-climat... http://articles.economictimes.indiatimes.com/2012-... http://edition2a.intellimag.com/?id=ssee-july2011 http://www.reuters.com/article/2012/12/08/climate-... http://www.startribune.com/world/135469408.html http://unfccc.int/documentation/documents/advanced... http://unfccc.int/essential_background/convention/... http://unfccc.int/kyoto_protocol/items/2830.php http://unfccc.int/kyoto_protocol/items/3145.php