พินอิน

พินอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (จีนตัวย่อ: 汉语拼音; จีนตัวเต็ม: 漢語拼音; พินอิน: Hànyǔ Pīnyīn; จู้อิน : ㄏㄢˋ ㄩˇ ㄆㄧㄣ ㄧㄣ แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์)พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese)สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน

พินอิน

- ยวีดปิง Hon3jyu5 Ping3jam1 Fong1on3
- ฮกเกี้ยนแบบ POJ peng-im/pheng-im
- Hokkien POJ hàn-gú pheng-im hong-àn
- พินอิน Hànyǔ Pīnyīn Fāng'àn
- Bopomofo ㄏㄢˋ ㄩˇ ㄆㄧㄣ ㄧㄣ ㄈㄤ ㄢˋ
- เวยถัวหม่า Han4-yü3 P‘in1-yin1 Fang1-an4
จีนตัวเต็ม 漢語拼音方案
การถอดถ่ายตัวอักษรฮากกา- โรมันจีนกลาง- พินอิน- เวยถัวหม่า- BopomofoMin- Hokkien POJWu- โรมันกวางตุ้ง- ยวีดปิง- Yale Romanization
การถอดถ่ายตัวอักษร
ฮากกา
- โรมันhon55 ngi24 pin24 im24 fong24 on55
จีนกลาง
- พินอินHànyǔ Pīnyīn Fāng'àn
- เวยถัวหม่าHan4-yü3 P‘in1-yin1 Fang1-an4
- Bopomofoㄏㄢˋ ㄩˇ ㄆㄧㄣ ㄧㄣ ㄈㄤ ㄢˋ
Min
- Hokkien POJhàn-gú pheng-im hong-àn
Wu
- โรมันhoe去 nyiu上 phin平 in平 faon平 oe去
กวางตุ้ง
- ยวีดปิงHon3jyu5 Ping3jam1 Fong1on3
- Yale RomanizationHonyúh Pingyām Fōng'on
- Yale Romanization Honyúh Pingyām Fōng'on
- โรมัน hoe去 nyiu上 phin平 in平 faon平 oe去
จีนตัวย่อ 汉语拼音方案
จีน 拼音
- ยวึดปิง Ping3jam1
การถอดถ่ายตัวอักษรฮากกา- โรมันจีนกลาง- พินอิน- เวยถัวหม่า- ปอพอมอฟอภาษาหมิ่น- ฮกเกี้ยนแบบ POJภาษาอู๋- โรมันกวางตุ้ง- ยวึดปิง- Yale Romanization
การถอดถ่ายตัวอักษร
ฮากกา
- โรมันpin24 im24
จีนกลาง
- พินอินPīnyīn
- เวยถัวหม่าP‘in1-yin1
- ปอพอมอฟอㄆㄧㄣ ㄧㄣ
ภาษาหมิ่น
- ฮกเกี้ยนแบบ POJpeng-im/pheng-im
ภาษาอู๋
- โรมันphin平 in平
กวางตุ้ง
- ยวึดปิงPing3jam1
- Yale RomanizationPingyām
- ปอพอมอฟอ ㄆㄧㄣ ㄧㄣ