โครงสร้าง ของ ฟองน้ำ

โครงสร้างภายใน

  • เป็นสัตว์ที่มีรูเล็ก ๆ ทั่วตัว มีช่องทางให้น้ำผ่านเข้าเรียกว่าออสเทีย (Ostium) ส่วนรูใหญ่ที่อยู่ด้านบนเป็นทางให้น้ำออกเรียกว่าออสคูลัม (Osculum)
  • ผนังลำตัวประกอบด้วยเนื้อยื่อสองชั้นคือเนื้อเยื่อชั้นนอกเป็นเซลล์รูปร่างแบนเรียงกันคล้ายแผ่นกระเบื้อง ประกอบด้วยเซลล์เป็นปลอก มีแส้เซลล์ช่วยโบกพัดให้น้ำเคลื่อนผ่านลำตัว และทำหน้าที่กินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่ปนมากับน้ำ เรียกเซลล์เหล่านี้ว่าเซลล์ปลอกคอ (Choanocyte)
  • ระหว่างเนื้อเยื่อสองชั้น จะมีชั้นกลางที่มีลักษณะคล้ายวุ้นเรียกว่าชั้นมีเซนไคม์ (Mesenchyme) ในชั้นนี้จะเซลล์ที่สามารถเคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นเซลล์อื่นได้ เรียกว่าอะมีโบไซต์ (Amoebocyte) เช่นเปลี่ยนไปเป็นสเกลอโรบลาสต์ (Scleroblast) เพื่อทำหน้าที่ขนส่งอาหารและลำเลียงของเสียออกจากตัวมัน

โครงสร้างภายนอก

โครงสร้างที่อยู่ในชั้นเซนไคม์ เรียกว่า "ขวาก" (spicule) เป็นตัวคงรูปร่างของฟองน้ำ สามารถแบ่งสารประกอบที่ใช้ในการคงรูปร่างได้เป็น 3 ชนิดคือ

  • ขวากหินปูน (Calacreous spicule) มีหินปูนเป็นองค์ประกอบ พบในฟองน้ำหินปูน
  • ขวากแก้ว (Siliceous spicule) มีซิลิกา (silica) เป็นองค์ประกอบ
  • สปอนจิน (Spongin) ไม่อยู่ในจำพวกของ "ขวาก" แต่เป็นเส้นใยที่มีองค์ประกอบเป็นสารสเกลอโรโปรตีน (Scleroprotein)
 ชนิดของเซลล์[9]สปิคุล[10]เส้นใยสปองจิน [11]โครงสร้างภายนอก[12]ระบบไหลเวียนน้ำ[13]
แคลคาเรียนิวเคลียสอันเดียว, เยื่อหุ้มภายนอกชั้นเดียวแคลไซต์
อาจเป็นแบบเดี่ยวหรือ large masses
ไม่มีปกติ
สร้างจากแคลไซต์ถ้ามี
แบบ แอสโคนอยด์ ไซโคนอยด์ หรือลิวโคนอยด์
ฟองน้ำแก้วส่วนใหญ่เป็น syncytia ในทุกสปีชีส์ซิลิกา
อาจเป็นแบบเดี่ยวหรือ fused
ไม่มีไม่มีลิวโคนอยด์
เดโมสปองเจียนิวเคลียสอันเดียว, เยื่อหุ้มภายนอกชั้นเดียวซิลิกาในหลายสปีชีส์ในบางสปีชีส์
สร้างจาก อะราโกไนต์ ถ้ามี[14] [15]
ลิวโคนอยด์