อันตรายจากกัมมันตภาพรังสี ของ ฟิสิกส์นิวเคลียร์

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นได้มีการใช้ระเบิดปรมาณมากที่ญี่ปุ่น พลังงานอันมหาศาลของปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันได้ทำลายสิ่งก่อสร้างและชีวิตมนุษย์เป็นจำนวนมาก แต่เดิมนั้นคิดว่ามนุษย์ตายเพราะแรงระเบิดเท่านั้นเพราะยังไม่เคยมีการศึกษาหรือทดลองผลกระทบของกัมมันตภาพรังสีต่อสิ่งมีชีวิตในสมัยนั้นรวมทั้งไม่มีเครื่องมือตรวจสอบสารกัมมันตภาพรังสีที่อยู่บริเวณที่ถูกระเบิดและในร่างกายผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุการ์ณนั้น แต่หลังจากการระเบิดของระเบิดปรมาณูประมาณ 1 ปี ก็พบว่ามีคนจำนวนมากเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเพราะได้รับกัมมันตภาพรังสีด้วยเหตุนี้โลกจึงเริ่มตื่นตัวศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของกัมมันตภาพรังสีที่มีต่อชีวิตมนุษย์เมื่อกัมมันตภาพรังสีจากธาตุกัมมันตภาพรังสีผ่านเข้าไปในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตจะทำให้เนื้อเยื่อเปลี่ยนแปลงคือ อาจทำให้เนื้อเยื่อตายทันทีหรือเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจนำไปสู่สาเหตุของการเป็นโรคมะเร็งได้

รูป 20.23 โครงสร้าง DNA

ความรุนแรงของอันตรายที่เกิดต่อร่างกาย

ความรุนแรงของอันตรายที่เกิดต่อร่างกายซึ่งได้รับกัมมันตภาพรังสี ขึ้นกับปริมาณของกัมมันตภาพรังสีในช่วงเวลาที่ร่างกายได้รับ และส่วนของร่างกายที่รับกัมมันตภาพรังสีนั้นตามปกติมนุษย์ได้รับกัมมันตภาพรังสีจากสภาพแวดล้อมในธรรมชาติอยู่ตลอดเวลาแล้วแต่ในปริมาณที่น้อยจึงไม่เป็นอันตรายใด ๆ ต่อร่างกายของเราเลยการบำบัดช่วยให้เรามีภูมิคุ้มกันโรคด้วยสารกัมมันตภาพรังสีหรือการตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะทำให้ร่างกายได้รับกัมมันตภาพรังสีในปริมาณสูงแต่ก็ยังไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเฉียบพลันเหมือนกับอยู่ในเหตุการณ์การระเบิดของปรมาณูหรือการระเบิดในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อาการที่ปรากฏหลังจากที่ร่างกายได้รับกัมมันตภาพรังสีจะมีอาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ถ้าอาการหนักผมอาจร่วง แต่ส่วนใหญ่แล้วอาการเหล่านี้จะไม่ปรากฏในทันที ดังนั้นประชาชนและผู้เกี่ยวข้องกับกัมมันตภาพรังสีจึงไม่ใส่ใจต่อการป้องกันอันตรายเมื่อเนื้อเยื่อของร่างกายได้รับสารกัมมันตภาพรังสีจะทำให้อิเล็กตรอนหลุดจากอะตอม หรือพันธะเคมีเสียหายทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเซลล์เกิดขึ้นความเสียหายมีตั้งแต่เล็กน้อยที่ร่างกายสามารถรักษาตัวเองได้ จนถึงเสียหายมากก็ขึ้นอยู่กับปริมาณของกัมมันตภาพรังสีที่ได้รับและระยะเวลาโดยเฉพาะเนื้อเยื่อสมองและเนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์เป็นตำแหน่งของร่างกายที่ไวต่อการรับกัมมันตภาพรังสีมากที่สุด สำหรับเนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ทีนะ

ใกล้เคียง

ฟิสิกส์ ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ของอนุภาค ฟิสิกส์ทฤษฎี ฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชีย ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์อะตอม ฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์วิศวกรรม

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฟิสิกส์นิวเคลียร์ http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=7... http://ikaen2520.wordpress.com/3-%E0%B8%9F%E0%B8%B... http://adsabs.harvard.edu/abs/1997NuPhS..57..259T http://adsabs.harvard.edu/abs/1999CQGra..16.2471S http://adsabs.harvard.edu/abs/2006ENews..37...24P //arxiv.org/abs/gr-qc/9905022 //doi.org/10.1016%2Fs0920-5632(97)00399-x //doi.org/10.1051%2Fepn:2006504 //doi.org/10.1088%2F0264-9381%2F16%2F7%2F320 http://www.europhysicsnews.org