การตอบสนอง ของ ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง

หลายหน่วยงานภาครัฐและ TEPCO ไม่ได้เตรียมตัวสำหรับ "การลดระดับภัยพิบัตินิวเคลียร์" (อังกฤษ: cascading nuclear disaster)[172] สึนามิที่ "เริ่มต้นภัยพิบัตินิวเคลียร์สามารถและควรได้รับการคาดคะเนและความคลุมเครือที่เกี่ยวกับบทบาทของสถ​​าบันภาครัฐและเอกชนในภาวะวิกฤตเช่นนั้นเป็นปัจจัยหนึ่งในการตอบสนองที่ไม่ดีที่ฟุกุชิมะ"[172] ในเดือนมีนาคมปี 2012 นายกรัฐมนตรี โยชิฮิโกะ โนดะ กล่าวว่ารัฐบาลมีส่วนที่จะได้รับโทษสำหรับภัยพิบัติที่ฟุกุชิมะ เขายังกล่าวอีกว่าเจ้าหน้าที่มองไม่เห็นด้วยความเชื่อที่ผิดใน"เทคโนโลยีที่ไม่มีทางล้ม"ของประเทศและยอมรับว่ามันเป็น"ตำนานที่ปลอดภัย" โนดะกล่าวต่อไปว่า "ทุกคนต้องแบ่งปันความเจ็บปวดของความรับผิดชอบ"[173]

ตามที่ Naoto Kan นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นในช่วงสึนามิ ประเทศไม่ได้เตรียมตัวไว้สำหรับภัยพิบัติ และโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ไม่ควรมีการก่อสร้างใกล้เคียงกับมหาสมุทรมากขนาดนั้น[174] กานยอมรับข้อบกพร่องในการจัดการกับวิกฤตของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งการสื่อสารและการประสานงานที่ไม่ดีระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลนิวเคลียร์ เจ้าหน้าที่สาธารณูปโภคและรัฐบาล เขากล่าวว่าภัยพิบัติ "ได้เปิดเผยให้เห็นชัดขึ้นของเจ้าภาพของช่องโหว่ที่ยิ่งใหญ่กว่าที่มนุษย์สร้างขึ้นในอุตสาหกรรมนิวเคลียร์และการควบคุมของญี่ปุ่น นับตั้งแต่แนวทางความปลอดภัยที่ไม่เพียงพอจนถึงการจัดการกับวิกฤต ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้เขาบอกว่าจำเป็นจะต้องมีการยกเครื่อง"[174]

นักฟิสิกส์และนักสิ่งแวดล้อม Amory Lovins กล่าวว่า "โครงสร้างของระบบราชการที่ไม่ยืดหยุ่น, การลังเลที่จะส่งข่าวร้ายขึ้นไป, ความจำเป็นที่จะต้องรักษาหน้า, การพัฒนาที่อ่อนแอของนโยบายทางเลือก, ความกระตือรือร้นที่จะรักษาความยอมรับของประชาชนในพลังงานนิวเคลียร์, และรัฐบาลที่เปราะบางทางการเมือง, พร้อมกับวัฒนธรรมการจัดการที่เป็นลำดับชั้นอย่างมากของ TEPCO, เหล่านี้ของญี่ปุ่นมีส่วนสร้างวิถีทางที่จะปิดบังการเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย นอกจากนี้ข้อมูลที่คนญี่ปุ่นได้รับเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์และทางเลือกของมันได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวดโดยทั้ง TEPCO และรัฐบาล"[175]

การสื่อสารที่ไม่ดีและความล่าช้า

รัฐบาลญี่ปุ่นไม่ได้เก็บบันทึกการประชุมที่สำคัญในช่วงวิกฤต[176] ข้อมูลจาก SPEEDI (ระบบสำหรับการทำนายข้อมูลปริมาณรังสีฉุกเฉินต่อสิ่งแวดล้อม) ถูกส่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังรัฐบาลท้องถิ่นในจังหวัด แต่ไม่ได้แชร์ร่วมกับผู้อื่น อีเมลจาก NISA ไปฟูกูชิม่า ซึ่งครอบคลุมระหว่าง 12 มีนาคมเวลา 23:54 จนถึง 16 มีนาคมเวลา 09:00 และแจ้งข้อมูลที่สำคัญสำหรับการอพยพและคำแนะนำด้านสุขภาพ ไม่ได้ถูกอ่านและถูกลบทิ้งไป ข้อมูลไม่ได้ถูกใช้เพราะสำนักงานตอบโต้ภัยพิบัติได้พิจารณาข้อมูลนั้นว่า "ไร้ประโยชน์เพราะปริมาณที่คาดการณ์ของรังสีที่ปล่อยออกมาไม่สมจริง"[177]

รายงานระหว่างกาลของ'คณะกรรมการสอบสวนเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะของบริษัทพลังงานไฟฟ้ากรุงโตเกียว' ระบุว่าการตอบสนองของญี่ปุ่นมีข้อบกพร่องจาก "การสื่อสารที่ไม่ดีและความล่าช้าในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการรั่วไหลของรังสีที่เป็นอันตรายที่โรงไฟฟ้า" รายงานตำหนิรัฐบาลกลางของประเทศญี่ปุ่นและ TEPCO "แสดงภาพของเจ้าหน้าที่ที่ไร้ความสามารถในการตัดสินใจในการอุดการรั่วไหลของรังสีเมื่อสถานการณ์ที่โรงไฟฟ้าริมชายฝั่งที่แย่ลงมากยิ่งขึ้นในช่วงหลายวันและหลายสัปดาห์หลังจากภัยพิบัติ"[178]​ รายงานกล่าวว่า การวางแผนไม่ดีทำให้การตอบสนองต้อภัยพิบัติแย​​่ลง สังเกตได้ว่าเจ้าหน้าที่ "ประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับสึนามิต่ำไปอย่างมาก" ที่เกิดตามหลังแผ่นดินไหวที่ขนาด 9.0 คลื่นสึนามิสูง 12.1 เมตร (40 ฟุต) ที่โจมตีโรงไฟฟ้ามีความสูงเป็นสองเท่าของคลื่นสูงสุดที่เจ้าหน้าที่คาดการณ์ไว้ สมมติฐานที่ผิดพลาดที่คิดว่าระบบระบายความร้อนของโรงไฟฟ้าจะทำงานหลังจากคลื่นสึนามิทำให้ภัยพิบัติแย่ลง "คนงานโรงไฟฟ้าไม่มีคำแนะนำที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการตอบสนองต่อภัยพิบัติดังกล่าว ทำให้การสื่อสารผิดพลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อภัยพิบัติทำลายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง"[178]

ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2012 'มูลนิธิการสร้างใหม่ของความคิดริเริ่มของญี่ปุ่น'อธิบายว่าการตอบสนองของญี่ปุ่นถูกขัดขวางโดยการสูญเสียความไว้วางใจระหว่างตัวแสดงที่สำคัญได้อย่างไร ได้แก่ นายกรัฐมนตรีกาน, สำนักงานใหญ่โตเกียวของ TEPCO และผู้จัดการโรงไฟฟ้า รายงานกล่าวว่าความขัดแย้งเหล่านี้ "ผลิตกระแสที่สับสนของข้อมูลที่ขัดแย้งกันบางครั้ง"[179][180] ตามรายงาน กานได้ถ่วงเวลาการระบายความร้อนของเตาปฏิกรณ์โดยการตั้งคำถามถึงทางเลือกของน้ำทะเลแทนที่จะเป็นน้ำจืด กล่าวหาพวกเขาถึงความพยายามตอบสนองแบบ micromanaging และแต่งตั้งพนักงานตำแหน่งเล็กและผู้ใกล้ชิดในตำแหน่งผู้ตัดสินใจ รายงานระบุว่ารัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจช้าที่จะยอมรับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์ของสหรัฐ

รายงานในThe Economist ปี 2012 กล่าวว่า "บริษัทที่ดำเนินงานมีการควบคุมที่ไม่ดีและไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ผู้ตวบคุมเครื่องทำงานผิดพลาด ตัวแทนของกองตรวจความปลอดภัยหลบหนี บางส่วนของอุปกรณ์เสียหาย ผู้ประกอบการทำงานไม่เต็มสูบซ้ำ ๆ กับความเสี่ยงและทำการปราบปรามข้อมูลที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของ plume ที่มีกัมมันตรังสี ดังนั้นบางคนจึงถูกอพยพออกจากสถานที่ที่ปนเปื้อนที่เบาไปยังสถานที่ที่ปนเปื้อนที่มากขึ้น[181]

จากวันที่ 17 ถึง 19 มีนาคม 2011 เครื่องบินทหารสหรัฐได้วัดรังสีภายในรัศมี 45 กิโลเมตรของโรงไฟฟ้า ข้อมูลบันทึกค่า 125 microsieverts ต่อชั่วโมงของรังสีที่ระยะ 25 กิโลเมตร (15.5 ไมล์) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของโรงไฟฟ้า สหรัฐได้ให้แผนที่แสดงรายละเอียดไปที่กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (METI) เมื่อวันที่ 18 เดือนมีนาคมและไปยังกระทรวงศึกษาธิการวัฒนธรรมกีฬาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (MEXT) สองวันต่อมา แต่เจ้าหน้าที่ไม่ได้ดำเนินการอย่างไรกับข้อมูล[182]

ข้อมูลไม่ได้ถูกส่งต่อไปยังสำนักงานของนายกรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการความปลอดภัยนิวเคลียร์ (NSC) และไม่ได้ถูกใช้ในการอำนวยการในการอพยพ เนื่องจากส่วนที่สำคัญของสารกัมมันตรังสีตกถึงพื้นดินทางตะวันตกเฉียงเหนือ ผู้อยู่อาศัยที่อพยพในทิศทางนี้จึงต้องสัมผัสกับรังสีโดยไม่จำเป็น ตามที่หัวหน้า NSC เท็ตสึยะ ยามาโมโตะ "มันเป็นเรื่องน่าเศร้าอย่างมากที่เราไม่ได้แชร์และใช้ประโยชน์จากข้อมูล" Itaru วาตานาเบะจากสำนักนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตำหนิสหรัฐว่าไม่เผยแพร่ข้อมูล[183]

หลังจากที่ชาวอเมริกันตีพิมพ์แผนที่ของพวกเขาในวันที่ 23 มีนาคม ญี่ปุ่นก็ตีพิมพ์แผนที่ของ fallout ที่รวบรวมมาจากการวัดภาคพื้นดินและ SPEEDI ในวันเดียวกัน ในวันที่ 19 มิถุนายน 2012, รัฐมนตรีวิทยาศาสตร์ฮิโรฟูมิ ฮิราโนะกล่าวว่า "งานของผมเป็นเพียงการวัดระดับรังสีบนดิน" และว่ารัฐบาลจะศึกษาว่าการเปิดเผยข้อมูลจะสามารถช่วยในความพยายามเพื่อการอพยพหรือไม่[184]

ใกล้เคียง

ภัยพิบัติเชียร์โนบีล ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง ภัยพิบัติแห่งอียิปต์ ภัยพิบัติทางอากาศมิวนิก ภัยพิบัติกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ ภัยพิบัติท่าอากาศยานเตเนริเฟ ภัยพิบัติสนามกีฬากันจูรูฮัน ภัยพิบัติกอสตากอนกอร์เดีย ภัยพิบัติเรือผู้อพยพในเมซีนีอา พ.ศ. 2566 ภัยพิบัติฮิลส์โบโร

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง http://www.heraldsun.com.au/news/special-reports/o... http://www.news.com.au/world/neon-city-goes-dim-as... http://www.smh.com.au/world/fukushima-nuclear-acci... http://www.smh.com.au/world/japan-starts-up-offsho... http://canceraustralia.gov.au/affected-cancer/canc... http://www.engineersaustralia.org.au/shadomx/apps/... http://www.ctv.ca/CTVNews/TopStories/20120217/japa... http://www.j.sinap.ac.cn/nst/EN/article/downloadAr... http://www.aljazeera.com/news/asia-pacific/2012/07... http://www.aljazeera.com/news/asia-pacific/2012/07...