ภาพรวม ของ ภัยพิบัติเชียร์โนบีล

ภัยพิบัติเริ่มในช่วงการทดสอบระบบในวันเสาร์ที่ 26 เมษายน 1986 ที่เครื่องปฏิกรณ์หมายเลขสี่ของโรงไฟฟ้าเชียร์โนบีล มีพลังงานกระชาก (อังกฤษ: power surge) ที่ฉับพลันและไม่คาดคิด และเมื่อมีความพยายามที่จะปิดแบบฉุกเฉิน พลังงานกระชากขนาดที่ใหญ่กว่ามากก็เกิดขึ้นในส่วนของพลังงานส่งออก ซึ่งนำไปสู่​​การแตกของ 'อ่างปฏิกรณ์' (อังกฤษ: reactor vessel) และการระเบิดเป็นชุดของไอน้ำ เหตุการณ์เหล่านี้เปิดให้ตัวหน่วงปฏิกิริยานิวตรอนที่ทำด้วยกราไฟท์ (อังกฤษ: graphite neutron moderator) ของเครื่องปฏิกรณ์ได้สัมผัสกับอากาศ ก่อให้เกิดการลุกไหม้[5] ไฟที่ไหม้ส่งกลุ่มฝุ่น (อังกฤษ: fallout) ที่มีกัมมันตรังสีสูงออกสู่ชั้นบรรยากาศและทั่วพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง รวมทั้งเมือง Pripyat กลุ่มฝุ่นกัมมันตรังสีลอยเหนือส่วนใหญ่ของภาคตะวันตกของสหภาพโซเวียตและยุโรป จากปี 1986-2000 ประชาชน 350,400 คนได้รับคำสั่งให้อพยพไปตั้งถิ่นฐานใหม่ออกจากพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ปนเปื้อนอย่างรุนแรงของเบลารุส รัสเซียและยูเครน[6][7] ตามข้อมูลอย่างเป็นทางการของโซเวียตช่วงหลังจากสลายตัว[8][9] ประมาณ 60% ของกลุ่มฝุ่นกัมมันตรังสีตกลงในเบลารุส

รัสเซีย ยูเครนและเบลารุสต้องรับภาระในการลบล้างการปนเปื้อนและค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องและมีความสำคัญอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เชียร์โนบีล รายงานจากสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศได้ทำการตรวจสอบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ[9] อีกหน่วยงานของสหประชาชาติ ได้แก่ UNSCEAR ได้ประมาณการปริมาณสะสมทั่วโลกของการสัมผัสกับรังสีจากอุบัติเหตุ "เทียบเท่ากับค่าเฉลี่ย 21 วันที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดรับรังสีพื้นหลังในธรรมชาติ (อังกฤษ: natural background radiation) ของโลก" ปริมาณของแต่ละบุคคลที่สัมผัสมีค่าสูงมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกในหมู่ผู้ที่สัมผัสมากที่สุด รวมทั้งคนงานท้องถิ่นกู้ภัย 530,000 คนที่มีค่าเฉลี่ยของรังสีที่เทียบเท่ากับปริมาณรังสียังผล (อังกฤษ: effective dose) มากจากปกติอีก 50 ปีของรังสีพื้นหลังธรรมชาติโดยทั่วไปของการได้รับรังสีในแต่ละคน[10][11][12] หลายการประมาณการของจำนวนผู้เสียชีวิตที่ในที่สุดจะเป็นผลมาจากอุบัติเหตุมีความแตกต่างกันอย่างมหาศาล; ความแตกต่างสะท้อนให้เห็นถึงทั้งการขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่แข็งแกร่งและวิธีการที่แตกต่างกันที่ใช้ในการวัดปริมาณการตาย ขึ้นอยู่กับว่าการปรึกษาหารือมีการจำกัดวงให้อยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจงหรือว่าขยายไปทั่วโลก และขึ้นอยู่กับว่าการเสียชีวิตเกิดขึ้นโดยทันทีหรือในช่วงระยะสั้นหรือในช่วงระยะยาว

จำนวนผู้เสียชีวิต 31 คน ที่ต้องเสียชีวิตโดยตรงจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ทั้งหมดเป็นเจ้าหน้าที่เครื่องปฏิกรณ์และคนงานฉุกเฉิน[13] รายงานของ UNSCEAR แสดงการเสียชีวิต ณ ปี 2008 รวม 64 ราย ที่ยืนยันแล้วว่าเกิดจากรังสี ในขณะที่เชียร์โนบีลฟอรั่มคาดการณ์ว่า ยอดเสียชีวิตในที่สุดอาจสูงถึง 4,000 รายในหมู่ผู้ที่สัมผัสกับรังสีระดับสูง (คนงานฉุกเฉิน 200,000 คน, ผู้อพยพ 116,000 ตนและผู้อาศัย 270,000 คนที่อยู่ในพื้นที่ปนเปื้อนมากที่สุด) ตัวเลขนี้เป็นการประมาณการของการตายตามสาเหตุทั้งหมด รวมคนงานฉุกเฉินที่เสียชีวิตประมาณ 50 รายไม่นานหลังจากอุบัติเหตุด้วยโรครังสีเฉียบพลัน เด็ก 9 รายที่ผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์และที่คาดการณ์ในอนาคตไว้รวม 3,940 รายจากการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งและมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่เกิดจากรังสี[14]

ในสิ่งพิมพ์หนึ่งที่มีการตรวจสอบโดยเพื่อนร่วมงาน (อังกฤษ: peer-reviewed publication) ใน'วารสารนานาชาติสำหรับโรคมะเร็ง'ในปี 2006 ผู้เขียน (หลังจากวิธีการสรุปที่แตกต่างกันในการศึกษาของเชียร์โนบีลฟอรั่ม ซึ่งปรากฏยอดการตายที่คาดการณ์รวม 4,000 รายหลังจากที่นำปัจจัยของอัตราการรอดตายจากโรคมะเร็งในสหรัฐมาใช้) กล่าวว่า (โดยปราศจากเข้าสู่การอภิปรายเกี่ยวกับการเสียชีวิต) ในแง่ของการเกิดโรคมะเร็งส่วนเกินทั้งหมดมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุ[15]

ประมาณการความเสี่ยงแนะนำว่า ณ ตอนนี้เชียร์โนบีลอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ประมาณ 1,000 กรณีและทำให้เกิดโรคมะเร็งอื่น ๆ ในยุโรปอีก 4,000 กรณี คิดเป็นประมาณ 0.01% ของมะเร็งในทุกกรณีที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่เกิดอุบัติเหตุ มีหลายโมเดลที่คาดการณ์ว่าภายในปี 2065 โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ประมาณ 16,000 กรณีและโรคมะเร็งอื่น ๆ อีก 25,000 กรณีคาดว่าอาจจะเกิดจากรังสีจากอุบัติเหตุ ในขณะที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งหลายร้อยล้านกรณีคาดว่ามาจากสาเหตุอื่น ๆ

นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับการประมาณค่านอกช่วง (อังกฤษ: extrapolation) จากโมเดลเชิงเส้นที่ไม่มีขีดจำกัด (อังกฤษ: linear no-threshold model) ของความเสียหายที่เกิดจากรังสี ให้ลดลงไปที่ศูนย์ สหภาพนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นห่วง (อังกฤษ: Union of Concerned Scientist) ประมาณการว่า ในหมู่หลายร้อยล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขึ้น จะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งเกิน 50,000 กรณีซี่งจะทำให้เกิน 25,000 รายเสียชีวิตจากมะเร็ง[16]

สำหรับกลุ่มที่กว้างกว่านี้ รายงานของ TORCH ในปี 2006 ที่เรียบเรียงโดยพรรคการเมือง European Greens คาดการณ์ว่ามีเกิน 30,000 ถึง 60,000 รายเสียชีวิตจากมะเร็ง[17] ในแง่ของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ไม่ใช่ทางวิทยาศาสตร์ สองรายงานถูกเผยแพร่ออกมาจากกลุ่มต่อต้านนิวเคลียร์กรีนพีซ หนึ่งในนั้นรายงานตัวเลขที่ 200,000 รายหรือมากกว่า[18]

ในบทหนึ่งของกรีนพีซ ผู้ก่อตั้งภูมิภาคนั้นชาวรัสเซียยังประพันธ์หนังสือเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า "เชียร์โนบีล: ผลกระทบของภัยพิบัติที่เกิดกับผู้คนและสิ่งแวดล้อม" ซึ่งสรุปได้ว่าท่ามกลางผู้คนนับพันล้านคนทั่วโลกที่ได้สัมผัสกับการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีจากภัยพิบัติ เกือบหนึ่งล้านคนเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งก่อนวัยอันควรระหว่างปี 1986 ถึงปี 2004 [19] อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้ล้มเหลวในกระบวนการ peer review [20][21] ในห้าความคิดเห็นที่ตีพิมพ์ในสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ สี่ความคิดเห็นพิจารณาว่าหนังสือเล่มนี้มีข้อบกพร่องและขัดแย้งอย่างรุนแรง และหนึ่งความคิดเห็นยกย่องในขณะที่มีการตั้งข้อสังเกตถึงข้อบกพร่องบางอย่าง ความคิดเห็นโดย M.I. Balonov เผยแพร่โดย 'สถาบันวิทยาศาสตร์นิวยอร์ก' สรุปว่ารายงานมีค่าเป็นลบเพราะมันมีประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์น้อยมากในขณะที่สร้างความเข้าใจผิดอย่างมากให้กับผู้อ่าน มันประมาณการผู้เสียชีวิตเกือบหนึ่งล้านคนในดินแดนของนิยายมากกว่าในดินแดนของวิทยาศาสตร์[22]

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นสร้างความกังวลเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์ไปทั่วโลกและทำให้มีการชะลอตัวหรือพิจารณายกเลิกแผนการขยายตัวของโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์[23] นอกจากนี้อุบัติเหตุที่เกิดยังสร้างความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของอุตสาหกรรมพลังงานนิวเคลียร์ของสหภาพโซเวียตอีกด้วย ทำให้มีการชะลอการขยายจำนวนปีของการใช้งานและมีการบังคับให้รัฐบาลโซเวียตให้เก็บความลับเกี่ยวกับขั้นตอนให้น้อยลง[24][notes 1] การปกปิดเรื่องภัยพิบัติของ Chernobyl ของรัฐบาลเป็น "ตัวเร่งปฏิกิริยา" สำหรับโครงการ Glasnost ซึ่ง "ปูทางไปสู่การปฏิรูปที่นำไปสู่​​การล่มสลายของสหภาพโซเวียต"[25]

ใกล้เคียง

ภัยพิบัติเชียร์โนบีล ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง ภัยพิบัติแห่งอียิปต์ ภัยพิบัติทางอากาศมิวนิก ภัยพิบัติกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ ภัยพิบัติท่าอากาศยานเตเนริเฟ ภัยพิบัติสนามกีฬากันจูรูฮัน ภัยพิบัติกอสตากอนกอร์เดีย ภัยพิบัติเรือผู้อพยพในเมซีนีอา พ.ศ. 2566 ภัยพิบัติฮิลส์โบโร

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภัยพิบัติเชียร์โนบีล http://www.zamg.ac.at/aktuell/index.php?seite=1&ar... http://www.iaea.or.at/NewsCenter/Features/Chernoby... http://www.susandwhite.com.au/drawings_prints/1986... http://www.genzyme.ca/thera/ty/ca_en_p_tp_thera-ty... http://www.atomictv.com/heavywater.html http://www.bbc.com/news/magazine-18721292 http://chernobylgallery.com/chernobyl-disaster/tim... http://www.cnn.com/WORLD/9604/26/chernobyl/230pm/i... http://www.ebrd.com/pages/news/press/2011/110408e.... http://www.foxnews.com/world/2010/12/13/ukraine-op...