งานวิจัย ของ ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ

PD-1 และการกระตุ้นโมโนไซต์/แมโครฟาจ

สารชื่อว่า PD-1 พบว่าเพิ่มปริมาณขึ้นในเม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์/แมโครฟาจในขณะเกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อในมนุษย์และหนู การเพิ่มขึ้นนี้สัมพันธ์กับการเพิ่มระดับของอินเทอร์ลิวคิน-10 (interleukin-10; IL-10) ในเลือด[26] ที่น่าสนใจคือ Said และคณะค้นพบว่าโมโนไซต์ที่ถูกกระตุ้นดังเช่นกรณีของภาวะพิษเหตุติดเชื้อจะมีระดับของ PD-1 สูงขึ้น และจะไปเหนี่ยวนำ PD-1 ที่แสดงบนเซลล์โมโนไซต์โดยใช้ไลแกนด์ PD-L1 ไปชักนำให้เกิดการสร้างอินเทอร์ลิวคิน-10 ซึ่งจะไปยับยั้งการทำงานของCD4 ทีเซลล์[27]

ตัวต้านการส่งสัญญาณการอักเสบ

การศึกษาที่รายงานในวารสาร Science แสดงว่า SphK1 เพิ่มขึ้นอย่างสูงในเซลล์อักเสบที่ได้จากผู้ป่วยภาวะพิษเหตุติดเชื้อ และการยับยั้งวิถีโมเลกุลนี้ช่วยลดการตอบสนองก่อนการอักเสบที่กระตุ้นโดยผลิตภัณฑ์จากแบคทีเรียในเซลล์มนุษย์ นอกจากนี้การศึกษายังแสดงการลดลงของอัตราเสียชีวิตของหนูทดลองที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อเมื่อให้การรักษาด้วยตัวต้าน SphK1[28]ในทำนองเดียวกันการยับยั้งวิถีการส่งสัญญาณของ p38 MAPK อาจช่วยหยุดยั้งการกระตุ้นกระบวนการก่อนการแข็งตัวของเลือดระหว่างภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด[29]

ไนตริกออกไซด์

การวิจัยทางการแพทย์มุ่งเน้นไปที่การต่อสู้กับไนตริกออกไซด์ซึ่งเป็นพิษต่อเนื้อเยื่อและหลอดเลือด ความพยายามจะลดการสร้างไนตริกออกไซด์กลับทำให้ความเสียหายของอวัยวะเพิ่มขึ้นและเพิ่มการเสียชีวิตทั้งในสัตว์ทดลองและการทดลองทางคลินิกในผู้ป่วย การศึกษาซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Experimental Medicine การรักษาด้วยการให้ไนไตรท์กลับช่วยลดภาวะตัวเย็นเกิน ความเสียหายของไมโทคอนเดรีย ภาวะเครียดจากออกซิเดชัน (oxidative stress) เนื้อเยื่อตายเหตุขาดเลือด และลดอัตราตายในหนู[30]

ใกล้เคียง

ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ ภาวะพิษกาเฟอีน ภาวะพิษจากเมทานอล ภาวะพหุสัณฐานของยีน ภาวะพร่องออกซิเจน ภาวะพร่องเอนไซม์ไรโบส-5-ฟอสเฟตไอโซเมอเรส ภาวะพหุสัณฐาน (ชีววิทยา) ภาวะพร่องออกซิเจนแบบไม่แสดงอาการ ภาวะพบร่วม PHACE ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ http://www.ccmjournal.com/pt/re/ccm/abstract.00003... http://www.ccmjournal.com/pt/re/ccm/abstract.00003... http://www.ccmjournal.com/pt/re/ccm/searchresults.... http://www.cell.com/molecular-cell/retrieve/pii/S1... http://www.cnn.com/2009/HEALTH/01/29/ep.sepsis.inf... http://www.diseasesdatabase.com/ddb11960.htm http://www.emedicine.com/asp/dictionary.asp?keywor... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=995.... http://www.physorg.com/news180096790.html http://www.physorg.com/news194879092.html