ภาวะหลอดเลือดแข็ง
ภาวะหลอดเลือดแข็ง

ภาวะหลอดเลือดแข็ง

ภาวะหลอดเลือดแข็ง (อังกฤษ: Atherosclerosis) เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการที่ภายในของหลอดเลือดแดงแคบลงเนื่องจากมีการก่อตัวของคราบจุลินทรีย์ (อังกฤษ: plaque)[7] ในขั้นต้นมักจะไม่มีอาการ[1] เมื่อรุนแรงขึ้นอาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือปัญหาเกี่ยวกับไต ขึ้นอยู่กับหลอดเลือดแดงที่ได้รับผลกระทบ อาการที่เกิดขึ้นนี้มักไม่ปรากฏจนกว่าจะถึงวัยกลางคนปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ ได้แก่ ระดับคอเลสเตอรอลผิดปกติ, ความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, การสูบบุหรี่, โรคอ้วน, ประวัติของครอบครัว, และอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ[3] คราบจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นประกอบด้วยไขมัน, คอเลสเตอรอล, แคลเซียม, และสารอื่น ๆ ที่พบในเลือด การหดตัวของเส้นเลือดจะ จำกัดการไหลเวียนของเลือดที่ประกอบด้วยด้วยออกซิเจน ไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย[8]การป้องกันโดยปกติจะทำโดยกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ, ออกกำลังกาย, ไม่สูบบุหรี่, รักษาน้ำหนักตัวให้ปกติ[4] การรักษาโรคอาจรวมถึงการใช้ยาสำหรับลดคอเลสเตอรอลเช่น statins ยาความดันโลหิตสูง หรือยาที่ลดการแข็งตัวเช่น แอสไพริน ในบางขั้นตอนอาจจะต้องดำเนินการเช่น การสวนสายเข้าหลอดเลือดหัวใจ, การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ, หรือการผ่าตัดเปิดหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมอง[5]ภาวะหลอดเลือดแข็งมักจะเริ่มต้นเมื่อเป็นหนุ่มสาวและกำเริบขึ้นตามอายุ[2] เกือบทุกคนจะได้รับผลกระทบเมื่ออายุ 65[6] ภาวะหลอดเลือดแข็งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและความพิการในประเทศพัฒนาแล้ว ภาวะหลอดเลือดแข็งมีการอธิบายเป็นครั้งแรกว้ใน 1575 อย่างไรก็ตามมีหลักฐานว่าเกิดขึ้นกับคนมาแล้วมากกว่า 5,000 ปีก่อน[9]

ภาวะหลอดเลือดแข็ง

อาการ ไม่มี[1]
สาขาวิชา หทัยวิทยา, Angiology
ความชุก ~100% (>65 ปี)[6]
สาเหตุ ไม่ทราบ[1]
ยา Statin, ยาความดันโลหิตสูง, แอสไพริน[5]
ภาวะแทรกซ้อน หลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคหลอดเลือดสมองตีบ, ปัญหาเกี่ยวกับไต[1]
ปัจจัยเสี่ยง ระดับคอเลสเตอรอลผิดปกติ, ความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, การสูบบุหรี่, โรคอ้วน, ประวัติของครอบครัว, อาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ[3]
การตั้งต้น เยาวชน (จะแย่ลงตามอายุ)[2]
ชื่ออื่น Arteriosclerotic vascular disease (ASVD)
การป้องกัน กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ, ออกกำลังกาย, ไม่สูบบุหรี่, ทำให้มีน้ำหนักปกติ[4]

ใกล้เคียง

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ภาวะหลงผิดคิดตนเขื่อง ภาวะหูไวเกิน ภาวะหัวใจวาย ภาวะหัวเล็กเกิน ภาวะหูติดเชื้อรา ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิด ภาวะหลอดเลือดแข็ง ภาวะหน้าที่คล้ายกัน ภาวะหัวใจหยุด

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะหลอดเลือดแข็ง https://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/top... https://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/top... https://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/top... https://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/top... https://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/top... https://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/top... https://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/top... https://books.google.nl/books?id=OrbNBQAAQBAJ&pg=P... https://curlie.org/Health/Conditions_and_Diseases/... https://books.google.co.uk/books?id=ZEIAhmr7jOMC&p...