ภาวะเงินเฟ้อในประวัติศาสตร์ ของ ภาวะเงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อประจำปีของอเมริกาตั้งแต่ปีค.ศ. 1666 ถึง 2019

การเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเกิดขึ้นในสังคมทุกยุคทุกสมัย จะแตกต่างก็เพียงชนิดของเงินที่ใช้ (เช่นธนบัตร เปลือกหอย หรือ อัญมณี) [15][16] ยกตัวอย่างสมัยที่ยังมีการใช้เหรียญทองคำแทนเงิน รัฐบาลสามารถนำเหรียญทองมาเจือจางด้วยโลหะอื่นๆเช่น เงิน ทองแดง หรือ ตะกั่ว แล้วนำกลับไปใช้ในระบบที่มูลค่าหน้าเหรียญเท่าเดิม การเพิ่มเหรียญให้มากขึ้นโดยใช้ปริมาณทองคำเท่าเดิมถือเป็นการทำกำไรซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า การออกหนี้ (หรือเงิน) โดยไม่มีต้นทุน (หรือลดต้นทุน)[17] เมื่อปริมาณเหรียญในระบบเพิ่มขึ้นมูลค่าที่แท้จริงของเหรียญแต่ละเหรียญจึงลดลง ผู้บริโภคจึงต้องจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและการบริการในปริมาณเท่าเดิม[18]

ราชวงศ์ซ่งของจีนเป็นผู้ริเริ่มการตีพิมพ์เงินกระดาษหรือธนบัตรและถือเป็นเงินตราที่บังคับให้ประชาชนใช้โดยที่รัฐบาลไม่ต้องถือทุนสำรองครั้งแรกของโลก[19] ในช่วงราชวงศ์หยวนของมองโกลรัฐบาลใช้เงินอย่างมากมายไปกับการศึกสงคราม จึงจัดให้มีการพิมพ์ธนบัตรอย่างมากมายและทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ[20] ปัญหาเงินเฟ้อทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจนในที่สุดผู้คนหยุดใช้ธนบัตรเนื่องจากเห็นว่าเป็นเพียง "กระดาษไร้ค่า"[21] รัฐบาลในสมัยราชวงศ์หมิงตอนต้นเกรงกลัวต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับราชวงศ์หยวน จึงอนุญาตให้ใช้เงินที่ทำจากเหรียญทองแดงเท่านั้นและไม่มีออกเงินกระดาษจนกระทั่งปีค.ศ. 1375[21]

หลักฐานทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่าการนำทองหรือแร่เงินเข้าสู่ระบบมากขึ้นเรื่อยๆสามารถทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้เช่นเดียวกัน ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 15 จนถึงครึ่งแรกของศควรรษที่ 17 ประเทศยุโรปตะวันตกได้เผชิญกับวงจรเงินเฟ้อครั้งสำคัญซึ่งเรียกว่า การปฏิวัติทางราคา[22][23] โดยที่สินค้ามีราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณหกเท่าภายในเวลา 150 ปี สาเหตุหลักมาจากการหลั่งไหลของแร่เงินและทองจากโลกใหม่เข้าสู่สเปนในสมัยราชวงศ์ฮับส์บูร์กอย่างรวดเร็ว[24] แร่เงินได้กระจายเข้าสู่ยุโรปซึ่งขาดแคลนตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างกว้างขวาง[25][26] ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของประชากรในยุโรปหลังการระบาดครั้งใหญของโรคกาฬโรคถือเป็นส่วนเสริมให้มีการขยับขึ้นของราคาสินค้าเช่นเดียวกัน

ในช่วงศตวรรษที่ 19 นักเศรษฐศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าการขึ้นลงของราคาสินค้ามีสาเหตุมาจาก 3 ปัจจัยได้แก่ (1) การเปลี่ยนแปลงมูลค่าพื้นฐานหรือค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้า (2) การเปลี่ยนแปลงราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งก็คือแร่โลหะที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินนั้นๆเช่น ทองคำ หรือ เงิน และ (3) "การลดค่าของสกุลเงิน" ซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของปริมาณเงินตรากับปริมาณของโลหะสำรองที่เงินตรานั้นๆสามารถนำไปแลกได้ หลังจากมีการใช้บัตรธนาคาร (ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์) อย่างแพร่หลายในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกา คำว่า "ภาวะเงินเฟ้อ" จึงเริ่มมีความหมายตรงกับการลดค่าของสกุลเงิน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของบัตรธนาคารได้แซงปริมาณของโลหะที่บัตรธนาคารนั้นๆสามารถทำไปแลกได้ ในสมัยนั้น "ภาวะเงินเฟ้อ" จึงหมายถึงการลดค่าของสกุลเงินแทนที่จะหมายถึงการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า[27]

นักเศรษฐศาสตร์แบบคลาสสิคเช่น เดวิด ฮูม และ เดวิด ริคาร์โด ชี้ให้สังคมเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณที่มากเกินไปของบัตรธนาคารและการลดค่าของตัวบัตร และภายหลังได้ทำการตรวจสอบและอภิปรายผลกระทบของการลดค่าของสกุลเงินที่มีต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า[28]

ในช่วงศตวรรษที่ 18 หลายประเทศนำระบบเงินกระดาษที่รัฐบาลไม่ต้องถือทุนสำรองมาใช้ จึงทำให้เกิดสกุลเงินต่างๆขึ้นมากมาย นับตั้งแต่สมัยนั้นการเพิ่มขึ้นของการใช้เงินกระดาษส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดหลายครั้งในหลายประเทศ และในแต่ละครั้งมีความรุนแรงมากกว่าในสมัยที่ยังใช้เงินที่ทำจากแร่โลหะ ภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดในสาธารณรัฐไวมาร์ของเยอรมนีเป็นถือเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ

ใกล้เคียง

ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเสียการระลึกรู้ ภาวะเหล็กเกิน ภาวะเลือดจาง ภาวะเงินฝืด ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน ภาวะเพศกำกวม ภาวะเชิงการนับ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะเงินเฟ้อ http://67.208.89.102/files/2010/11/01/11-Nov-2010-... http://www.mint.ca/royalcanadianmintpublic/RcmImag... http://www.chass.utoronto.ca/ecipa/archive/UT-ECIP... http://www.vcharkarn.com/varticle/34764 http://www.vox.com/cards/inflation-definition-and-... http://www.youtube.com/watch?v=Ml9IMkxH8CY http://www.federalreserve.gov/boarddocs/hh/2004/ju... http://www.sedlabanki.is/?PageID=195 http://www.j-bradford-delong.net/Politics/whynotth... http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q2/article20...