การวินิจฉัย ของ ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก

ประวัติ

ภาวะโลหิตจางสามารถวินิจฉัยจากเพียงอาการ แต่ว่าถ้าเป็นแบบเบา ๆ อาจจะไม่สามารถวินิจฉัยจากอาการที่ไม่เฉพาะต่อโรคภาวะโลหิตจางเหตุขาดเหล็กจะวินิจฉัยได้โดยประวัติที่สมควร (เช่น โลหิตจางในหญิงที่กำลังมีประจำเดือน หรือนักกีฬาวิ่งทางไกล) การมีเลือดในอุจจาระ (ที่มองไม่เห็น) และบ่อยครั้งโดยประวัติอื่น ๆ[16]ยกตัวอย่างเช่น โรค celiac disease สามารถเป็นเหตุให้ดูดซึมเหล็กได้ไม่ดีประวัติเดินทางไปยังเขตที่มีพยาธิปากขอและพยาธิแส้ม้า อาจชี้ให้ตรวจอุจจาระเพื่อดูพยาธิหรือไข่พยาธิ[ต้องการอ้างอิง]

การเปลี่ยนแปลงเมื่อมีเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก
การเปลี่ยนแปลง ตัวแปร
ferritin, เฮโมโกลบิน, MCV
TIBC, transferrin, RDW

การตรวจเลือด

ภาวะโลหิตจางสามารถพบในการตรวจเลือดทั่วไป ซึ่งมักจะรวมการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ (CBC) ซึ่งทำโดยเครื่องมือที่ให้ข้อมูลเป็นชุดตัวเลขการมีค่าเฮโมโกลบิน (Hb) ต่ำ โดยนิยามเป็นตัววินิจฉัยภาวะโลหิตจาง แต่การมีค่าฮีมาโทคริต (Ht หรือ HCT) ต่ำ ก็เป็นลักษณะอีกอย่างด้วยแต่ยังอาจต้องตรวจสอบต่อไปเพื่อเช็คเหตุการมีเลือดจางถ้าภาวะมีเหตุจากการขาดธาตุเหล็ก ค่าผิดปกติที่จะพบใน CBC ในขณะที่ระดับสะสมเหล็กค่อย ๆ หมดลง จะเป็นค่า ความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดง (RDW) ที่สูง ซึ่งเแสดงขนาดเม็ดเลือดแดงที่ต่าง ๆ กันเพิ่มขึ้นถ้าเป็นการเสียเหล็กไปอย่างช้า ๆ ค่า RDW ที่เพิ่มขึ้นจะปรากฏก่อนภาวะโลหิตจางเสียอีกค่าปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย (MCV) ที่ต่ำบ่อยครั้งปรากฏต่อมาเมื่อระดับเหล็กลดลงเรื่อย ๆซึ่งแสดงขนาดเม็ดเลือดแดงที่เล็กผิดปกติเป็นจำนวนมากค่า MCV ต่ำ, ค่าปริมาณเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (MCH) หรือค่าความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (MCHC) ต่ำ, และลักษณะของเม็ดเลือดแดงในฟิล์มเลือด จะจำกัดปัญหาเป็นภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงเล็ก (microcytic anemia)

ค่าเหล่านี้กำหนดและคำนวณโดยเครื่องมือแล็บที่ทันสมัยเม็ดเลือดของคนที่ขาดธาตุเหล็กจะมีสีจาง (hypochromic) เล็ก (microcytic) และอาจมีรูปร่างหลายแบบ (poikilocytosis) มีขนาดหลายหลาก (anisocytosis)ถ้าภาวะเลือดจางเริ่มรุนแรงขึ้น ฟิล์มเลือดอาจจะแสดงเม็ดเลือดรูปดินสอมีสีจาง และบางครั้งเม็ดเลือดที่เห็นนิวเคลียส[17]สิ่งสามัญอีกอย่างก็คือ ระดับเกล็ดเลือดจะสูงกว่าปกติเล็กน้อย คือมีภาวะเกล็ดเลือดมากแบบเบา ๆซึ่งสันนิษฐานว่ามีเหตุจากระดับฮอร์โมน erythropoietin ที่สูงขึ้นในร่างกาย เพื่อกระตุ้นการผลิตเม็ดเลือดแดงโดยเป็นผลของเลือดจาง แต่ก็กระตุ้นการทำงานของ thrombopoietin receptor ของเซลล์ที่ผลิตเกล็ดเลือดอีกด้วยแต่ว่า กระบวนการนี้ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแต่การมีเกล็ดเลือดสูงเกินนิดหน่อยไม่มีอันตราย และเป็นตัวบ่งชี้อย่างหนึ่งถ้าเหตุของภาวะเลือดจางยังไม่ชัดเจน[ต้องการอ้างอิง]

ระดับการสะสมเหล็กที่ต่ำในร่างกายสามารถเช็คโดยการตรวจเลือดและจะพบระดับ ferritin ต่ำ, ระดับเหล็กต่ำ, ระดับ transferrin สูง, และระดับ total iron binding capacity สูงระดับ ferritin เป็นการตรวจที่ไวต่อภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กมากที่สุดแต่ว่า ระดับ ferritin ในเลือดก็ยังสามารถสูงขึ้นเนื่องจากการอักเสบเรื้อรังและดังนั้น ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นการเช็คสถานะเหล็กที่เชื่อถือได้เสมอไปถ้าอยู่ในเกณฑ์ปกติ (ค่ามีความหมายถ้าต่ำกว่าปกติ คืออาจเป็นโรค แต่ไม่ค่อยมีความหมายถ้าปกติ คือไม่ได้ยืนยันว่าไม่เป็นโรค)ระดับเหล็กในเลือด (ที่ไม่ใช่ส่วนของเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง) อาจวัดได้โดยตรงในเลือด แต่ระดับจะเพิ่มขึ้นทันทีที่ทานเหล็กเสริม (และคนวัดต้องหยุดทานเหล็กเสริมเป็นเวลา 24 ชม.) และระดับเหล็กในเลือดก็ไม่ไวต่อภาวะเท่ากับการเช็คค่าเหล็กในเลือดทั้งหมด ซึ่งรวมค่า total iron binding capacity (TIBC) เข้าไปด้วย

อัตราของระดับเหล็กในเลือดต่อ TIBC ซึ่งเรียกว่า iron saturation index หรือ transferrin saturation index เป็นการตรวจที่จำเพาะที่สุดเมื่อไม่ขาดธาตุเหล็ก ถ้าต่ำพอคือ ระดับ iron saturation (หรือ transferrin saturation) < 5% หมายถึงการขาดเหล็กแทบเต็มร้อย แต่ระดับ 5% - 10% แสดงเพียงแค่ว่าอาจขาดเหล็กแต่ไม่ชัดเจนแต่ว่าการมี iron saturation >= 12% (โดยไม่ได้ตรวจอย่างอื่น) บอกว่ามีโอกาสน้อยที่จะมีภาวะนี้ระดับปกติของหญิง (>12%) จะต่ำกว่าชาย (>15%) แต่นี้เพียงแค่ชี้ว่าหญิงมีระดับเหล็กน้อยกว่าชายในกลุ่มประชากร "ปกติ"[ต้องการอ้างอิง]

แต่ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก และทาลัสซีเมียน้อย (thalassemia minor) มีผลแล็บหลายอย่างเหมือนกันและสำคัญมากที่จะไม่รักษาคนที่เป็นทาลัสซีเมียด้วยการเสริมธาตุเหล็ก เพราะว่า นี่อาจทำให้เกิดการสะสมเหล็กในอวัยวะต่าง ๆ (hemochromatosis) โดยเฉพาะที่ตับการตรวจ hemoglobin electrophoresis ให้หลักฐานที่สำคัญในการแยกแยะภาวะทั้งสองนี้ รวมกับการตรวจเหล็ก[ต้องการอ้างอิง]

การตรวจคัดกรอง

ยังไม่ชัดเจนว่าการตรวจคัดกรองหญิงมีครรภ์ว่าขาดเหล็กหรือไม่ สามารถปรับปรุงผลที่ได้ในประเทศกำลังพัฒนา[18]

มาตรฐานทอง

โดยทั่วไปแล้ว การวินิจฉัยที่ชัดเจนที่สุดจะต้องแสดงว่าร่างกายไม่มีเหล็กสะสมโดยการตรวจไขกระดูก (bone marrow aspiration) โดยเติมสีใส่ไขกระดูกเพื่อหาเหล็ก[19][20]เนื่องจากนี่เป็นวิธีการที่เจ็บ ในขณะที่การทดลองรักษาด้วยเหล็กไม่แพงและไม่เจ็บ หมอจึงมักรักษาคนไข้ตามประวัติรักษาและระดับ ferritin โดยไม่ต้องตรวจไขกระดูกนอกจากนั้นแล้ว งานศึกษาปี 2552[21]ยังตั้งข้อสงสัยถึงคุณค่าของการตรวจไขกระดูกหลังจากมีการฉีดเหล็กให้

ใกล้เคียง

ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเสียการระลึกรู้ ภาวะเหล็กเกิน ภาวะเลือดจาง ภาวะเงินฝืด ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน ภาวะเพศกำกวม ภาวะเชิงการนับ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก http://www.nps.org.au/health_professionals/publica... http://www.cmaj.ca/cgi/content/abstract/119/8/884 http://www.anaemiaworld.com/portal/eipf/pb/m/aw/es... http://www.diseasesdatabase.com/ddb6947.htm http://www.emedicine.com/med/topic1188.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=280 http://www.ironatlas.com/en.html/ http://journals.lww.com/smajournalonline/Fulltext/... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1496985 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1819106