อาการ ของ ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก

อาการของภาวะก็คือซีด (เพราะมีเฮโมโกลบินที่ส่งออกซิเจนในระดับน้อยกว่าที่ผิวหนังและเยื่อเมือกต่าง ๆ) ความล้า เวียนหัว และความอ่อนเพลียแต่ว่าอาการเหล่านี้ (และที่จะกล่าวต่อไป) ไม่ใช่ว่าจำเป็นต้องมี (not sensitive คือไม่ไวต่อโรค) หรือว่ามีเฉพาะโรคนี้ (nonspecific คือไม่จำเพาะโรค)ความซีดของเยื่อเมือก (โดยหลักที่เยื่อตา คือตาเหลือง) เป็นตัวบ่งภาวะในเด็กที่ดีที่สุด โดยงานศึกษาขนาดใหญ่พบว่า เป็นอาการที่มีค่า[9]

  • ความไว 28% และความจำเพาะ 87% ในการแยกแยะเด็กที่มีเลือดจาง (hemoglobin (Hb) <11.0 g/dl)
  • ความไว 49% และความจำเพาะ 79% ในการแยกแยะเด็กที่มีเลือดจางรุนแรง (hemoglobin (Hb) <7.0 g/dl)

ดังนั้น อาการนี้จึงเป็นตัวชี้ที่ดีพอสมควรถ้ามี แต่ไม่ได้ช่วยถ้าไม่มี เพราะว่าเด็กประมาณ 1/3 ถึง 1/2 ที่มีเลือดจางเท่านั้นจะมีอาการนี้ดังนั้น การวินิจฉัยโรคนี้ต้องอาศัยการตรวจเลือดโรคมักจะเกิดอย่างช้า ๆ และจะเกิดการปรับตัว ทำให้ไม่สังเกตเห็นโรคเป็นระยะเวลานาน บางครั้งเป็นปี ๆคือคนไข้บ่อยครั้งปรับตัวให้เข้ากับปัญหาทางสุขภาพที่ภาวะเป็นเหตุในกรณีที่รุนแรง อาจมีอาการหายใจลำบาก (dyspnea)และการอยากทานแปลก ๆ อย่างหมกมุ่น (pica) อาจจะเกิดขึ้นมีการเสนอว่าการอยากทานน้ำแข็ง (pagophagia) อาจเป็นอาการจำเพาะ แต่จริง ๆ ทั้งไม่ไวทั้งไม่จำเพาะ ดังนั้นจึงไม่ช่วยการวินิจฉัยและเมื่อมี มันอาจจะหายหรือไม่หายเมื่อแก้การขาดธาตุเหล็กแล้ว

อาการอย่างอื่น ๆ ของโรครวมทั้ง

  • ความวิตกกังวล บ่อยครั้งมีผลเป็นการย้ำคิดย้ำทำ
  • ความหงุดหงิดหรือความซึม
  • อาการปวดเค้นหัวใจ (Angina)
  • ท้องผูก
  • ง่วงนอนมาก
  • เสียงในหู (tinnitus)
  • แผลในปาก
  • ใจสั่น
  • ผมหลุด
  • เป็นลม หรือรู้สึกเหมือนจะเป็นลม
  • อารมณ์ซึมเศร้า
  • หายใจไม่ทัน
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • ผิวซีด
  • รู้สึกซ่า ชา หรือเหมือนไหม้
  • การขาดประจำเดือน
  • พัฒนาการทางสังคมที่ช้า
  • ลิ้นอักเสบ (Glossitis)
  • แผลอักเสบที่มุมปาก (Angular cheilitis)
  • สภาพเล็บรูปช้อน (Koilonychia) หรือเล็บเปราะไม่แข็งแรง
  • ไม่อยากอาหาร
  • อาการคัน (Pruritus)
  • การกลืนลำบาก (Dysphagia) เนื่องจากการเกิดเยื่อที่หลอดอาหาร (esophageal web หรือ Plummer-Vinson syndrome)
  • การนอนไม่หลับ
  • กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless legs syndrome)[10]

พัฒนาการของทารก

ภาวะในทารกโดยเฉพาะในพัฒนาการระยะต้น ๆ อาจมีผลเสียหายมากกว่าในผู้ใหญ่ทารกที่ขาดธาตุเหล็กอย่างรุนแรงในเบื้องต้นของชีวิตไม่สามารถฟื้นสภาพสู่ภาวะปกติแม้เมื่อให้ธาตุเหล็กแล้วเปรียบเทียบกับระยะพัฒนาการต่อ ๆ มาที่จะสามารถชดเชยได้ภาวะมีผลต่อพัฒนาการทางประสาทโดยลดสมรรถภาพในการเรียนรู้ เปลี่ยนสภาพการเคลื่อนไหว ลดจำนวนตัวรับโดพามีนและเซโรโทนินอย่างถาวรการขาดธาตุเหล็กในช่วงพัฒนาการสามารถทำให้สร้างปลอกไมอีลินที่ไขสันหลังน้อยลง และยังเปลี่ยนองค์ประกอบของปลอกไมอีลินอีกด้วย

นอกจากนั้นแล้ว ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กมีผลลบต่อการเจริญเติบโตและการหลั่งฮอร์โมนเติบโต (Growth hormone) ก็สัมพันธ์กับระดับโปรตีน transferrin ในเลือด ซึ่งแสดงนัยว่าระดับ transferrin (และเหล็ก) ในเลือดมีสหสัมพันธ์กับการเติบโตทั้งโดยความสูงและน้ำหนักโรคยังสัมพันธ์กับการอยากอาหารแปลก ๆ อย่างหมกมุ่น (pica) โดยอาจเป็นเหตุ

ใกล้เคียง

ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ภาวะเงินฝืด ภาวะเสียการระลึกรู้ ภาวะเหล็กเกิน ภาวะเลือดจาง ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ภาวะเพศกำกวม

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก http://www.nps.org.au/health_professionals/publica... http://www.cmaj.ca/cgi/content/abstract/119/8/884 http://www.anaemiaworld.com/portal/eipf/pb/m/aw/es... http://www.diseasesdatabase.com/ddb6947.htm http://www.emedicine.com/med/topic1188.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=280 http://www.ironatlas.com/en.html/ http://journals.lww.com/smajournalonline/Fulltext/... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1496985 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1819106