เหตุ ของ ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก

เมื่อวินิจฉัยว่ามีภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กแล้ว ยังควรตรวจสอบว่ามีเหตุอะไรอีกด้วยเพราะอาจมาจากความต้องการเหล็กมากขึ้น หรือการได้เหล็กน้อยลง[11]และสามารถเกิดทั้งในเด็กและผู้ใหญ่เหตุของอาการเลือดออกเรื้อรังควรจะพิจารณาตามเพศ อายุ และประวัติ เพราะว่าภาวะเลือดจางที่ยังไม่ทราบเหตุสำคัญพอที่จะรีบตรวจสอบเพื่อกันมะเร็งที่อาจเป็นเหตุในทารกและเด็กวัยรุ่น การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วอาจทำให้ต้องการเหล็กมากขึ้น มีผลให้ขาดเหล็กโดยไม่ถึงกับเป็นโรคหรือเป็นเพราะการขาดอาหารอย่างผิดปกติ[11]สำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์ การมีประจำเดือนที่หนักหรือนานสามารถเป็นเหตุเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กอย่างเบา ๆ

พยาธิ

เหตุการขาดธาตุเหล็กที่สามัญที่สุดในโลกก็คือการมีพยาธิ เช่น พยาธิตัวแบน พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด พยาธิตัวกลม[ต้องการอ้างอิง]องค์การอนามัยโลกประเมินว่า "คนประมาณ 2,000 ล้านคนทั่วโลกติดพยาธิจากพื้น"[12]ซึ่งสามารถเป็นเหตุการอักเสบและการเสียเลือดเรื่อย ๆ

การเสียเลือด

เซลล์เม็ดเลือดแดงมีธาตุเหล็ก และดังนั้น การเสียเลือดจึงทำให้เสียเหล็กด้วยมีเหตุสามัญหลายอย่างในการเสียเลือด หญิงที่มีประจำเดือนหนัก (menorrhagia) เสี่ยงต่อเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก เพราะว่ามีความเสี่ยงสูงในการเสียเลือดมากกว่าที่จะได้ชดเชยจากอาหารส่วนการเสียเลือดอย่างน้อย ๆ แต่เรื้อรังภายในร่างกาย เช่น จากแผลกระเพาะอาหาร การมีเส้นเลือดวิรูปในท้อง (angiodysplasia) การมีติ่งเนื้อเมือกในลำไส้ใหญ่ หรือมีมะเร็งในทางเดินอาหาร สามารถเป็นเหตุเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กทั้งนั้นเลือดออกในทางเดินอาหารอาจเกิดจากการใช้ยาบางกลุ่มเป็นประจำด้วย เช่น ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs เช่น แอสไพริน) ยากันเลือดเป็นลิ่ม เช่น clopidogrel และวาร์ฟาริน แม้ว่าอาจจะเป็นยาจำเป็นสำหรับคนไข้บางคน โดยเฉพาะที่มีภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด (thrombosis)

อาหาร

ร่างกายปกติจะได้ธาตุเหล็กที่จำเป็นจากอาหารแต่ถ้าทานเหล็กน้อยเกินไป หรือว่าดูดซึมเหล็กได้ไม่ดี (เช่นเหล็กแบบที่ไม่อยู่ในรูปแบบ heme) ก็จะสามารถขาดธาตุเหล็กในช่วงระยะเวลาหนึ่งตัวอย่างอาหารที่สมบูรณ์ด้วยเหล็กคือเนื้อ ไข่ ผักใบเขียว และอาหารเสริมเหล็กเพื่อการเติบโตและพัฒนาการที่สมควร ทารกและเด็กจะต้องได้เหล็กจากอาหาร[13]

การทานนมวัวมากสัมพันธ์กับความเสี่ยงโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กที่เพิ่มขึ้น[14]ปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นรวมทั้งการทานเนื้อน้อยและการทานอาหารเสริมเหล็กน้อย[14]

การดูดซึมเหล็ก

เหล็กจากอาหารจะดูดซึมเข้าเลือดผ่านลำไส้เล็ก โดยเฉพาะส่วนต้นและที่ติดกับส่วนปลายโรคลำไส้หลายชนิดสามารถลดสมรรถภาพการดูดซึมธาตุเหล็กซึ่งเกิดจากกลไกต่าง ๆ กันในกรณีที่มีการลดบริเวณผิวของลำไส้ เช่น ใน celiac disease, inflammatory bowel disease, หรือการผ่าตัดลำไส้ แม้ว่าร่างกายจะสามารถดูดซึมเหล็ก แต่ก็มีเนื้อที่ไม่พอ[ต้องการอ้างอิง]ถ้ากระเพาะอาหารผลิตกรดไฮโดรคลอริกไม่พอ ภาวะกรดเกลือน้อย/ภาวะไร้กรดเกลืออาจเกิดขึ้น (บ่อยครั้งจากการติดเชื้อแบคทีเรีย H. pylori อย่างเรื้อรัง หรือการใช้ยายับยั้งการหลั่งกรดเป็นระยะยาว)เกลือเหล็ก (Ferrous salt, Ferric iron salt) จะตกตะกอนจากเหล็กในลำไส้ซึ่งดูดซึมได้ไม่ดีในกรณีที่เกิดการอักเสบทั้งระบบ (systemic inflammation) เนื้อเยื่อบุผิว (enterocyte) ของลำไส้เล็กจะสามารถดูดซึมเหล็กได้ แต่ว่าเพราะมีระดับโปรตีน ferroportin แบบ basolateral ต่ำซึ่งอำนวยการส่งเหล็กต่อไปในเลือด เหล็กก็จะติดอยู่ที่ enterocyte และจะเสียไปเมื่อเนื้อเยื่อบุผิวลอกหลุดไป ดังนั้น ขึ้นอยู่กับสภาวะของโรค อาจจะมีกลไกอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่ทำให้ดูดซึมเหล็กได้ไม่ดี[ต้องการอ้างอิง]

การตั้งครรภ์

ถ้าไม่เสริมธาตุเหล็ก ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กมักจะเกิดในหญิงมีครรภ์ เพราะว่าเหล็กที่สะสมต้องใช้เพื่อเลือดที่เพิ่มขึ้น เป็นแหล่งเฮโมโกลบินของทารกที่กำลังเจริญเติบโตขึ้น และยังใช้เพื่อสร้างรกอีกด้วย[13]เหตุอื่น ๆ ที่สามัญน้อยกว่ารวมทั้งการสลายของเม็ดเลือดแดงในเส้นเลือด (intravascular hemolysis) และภาวะปัสสาวะมีฮีโมโกลบิน (hemoglobinuria)

ใกล้เคียง

ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ภาวะเงินฝืด ภาวะเสียการระลึกรู้ ภาวะเหล็กเกิน ภาวะเลือดจาง ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ภาวะเพศกำกวม

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก http://www.nps.org.au/health_professionals/publica... http://www.cmaj.ca/cgi/content/abstract/119/8/884 http://www.anaemiaworld.com/portal/eipf/pb/m/aw/es... http://www.diseasesdatabase.com/ddb6947.htm http://www.emedicine.com/med/topic1188.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=280 http://www.ironatlas.com/en.html/ http://journals.lww.com/smajournalonline/Fulltext/... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1496985 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1819106