การตรวจโรค ของ ภาวะเสียการระลึกรู้

เพื่อจะตรวจว่าคนไข้มีภาวะนี้หรือไม่ ต้องตรวจว่า คนไข้ไม่ได้มีการสูญเสียความรู้สึกทางประสาท และว่า ทั้งความสามารถต่างๆ ในเรื่องภาษาและในเชาวน์ปัญญา ไม่มีความเสียหาย เพื่อจะวินิจฉัยว่ามีภาวะเสียการระลึกรู้ คนไข้ต้องมีความบกพร่องในประสาททางเดียว (มีทางตาหรือหูเป็นต้น)

แยกแยะระหว่างแบบวิสัญชานกับแบบสัมพันธ์

เพื่อจะทำการวินิจฉัย ต้องแยกว่า เป็นภาวะแบบวิสัญชานหรือแบบสัมพันธ์ ซึ่งสามารถทำได้โดยให้คนไข้ทำข้อทดสอบในการลอกรูปแบบและจับคู่รูปแบบ ถ้าคนไข้มีภาวะแบบวิสัญชาน ก็จะไม่สามารถจับคู่รูปแบบที่เหมือนกัน

ในขณะเดียวกัน คนไข้มีภาวะแบบสัมพันธ์ ก็จะไม่สามารถจับคู่ตัวกระตุ้นตัวเดียวกันที่ปรากฏต่างๆ กัน ยกตัวอย่างเช่น คนไข้ที่ถูกวินิจฉัยว่ามีภาวะนี้ทางตาอย่างเดียว ก็จะไม่สามารถจับคู่รูปของโน้ตบุ๊กที่เปิดอยู่กับที่ปิดอยู่ได้[5]

วินิจฉัยภาวะบอดใบหน้า

คนไข้ภาวะบอดใบหน้า มักจะรับการตรวจสอบโดยแสดงรูปของใบหน้ามนุษย์ที่มีความคุ้นเคย เช่นของดารา นักร้อง นักการเมืองที่มีชื่อเสียง และของสมาชิกในครอบครัว รูปที่ใช้จะเป็นรูปที่เหมาะสมต่อวัยและวัฒนธรรม คนตรวจจะถามคนไข้ให้บอกชื่อของแต่ละใบหน้า ถ้าคนไข้ไม่สามารถบอกชื่อของใบหน้าในรูปภาพ คนตรวจอาจจะถามคำถามที่ช่วยในการรู้จำใบหน้าในรูปภาพ[5]

ใกล้เคียง

ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเสียการระลึกรู้ ภาวะเหล็กเกิน ภาวะเลือดจาง ภาวะเงินฝืด ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน ภาวะเพศกำกวม ภาวะเชิงการนับ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะเสียการระลึกรู้ http://brainmind.com/Agnosia.html http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S00283... http://www.emedicine.com/agnosia/topic.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=784.... http://thomasland.metapress.com/content/n13kykyq3x... http://www.newyorker.com/archive/content/articles/... http://dictionary.reference.com/browse/agnosia http://dictionary.webmd.com/terms/agnosia http://www.ninds.nih.gov/disorders/agnosia/agnosia... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1737727