ประวัติ ของ ภาวะเสียการระลึกรู้

ศัพท์ว่า "agnosia" (ภาวะเสียการระลึกรู้) ถูกใช้เป็นครั้งแรกโดยซิกมันด์ ฟรอยด์ ในปี ค.ศ. 1891[26] ว่า

สำหรับความปั่นป่วนในการรู้จำวัตถุต่างๆ ซึ่งฟิงเกลน์เบอร์กได้จัดเป็นประเภท asymbolia (ไม่รู้เครื่องหมาย) ข้าพเจ้าขอเสนอศัพท์ว่า agnosia

ก่อนการเสนอศัพท์นี้ของฟรอยด์ ความคิดเรื่องภาวะเสียการระลึกรู้มาจากเวอร์นิเก (ผู้ค้นพบเขตภาษาเวอร์นิเก ในสมอง) ผู้ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะเสียการสื่อความด้านรับ (receptive aphasia) ขึ้นในปี ค.ศ. 1874 ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่า คนไข้ภาวะเสียการสื่อความด้านรับ ไม่สามารถเข้าใจคำพูดหรือกล่าวตามคำต่างๆ ได้ เวอร์นิเกเชื่อว่า ภาวะเสียการสื่อความด้านรับเกิดจากรอยโรคในส่วน 1/3 ท้ายของ รอยนูนกลีบขมับบน (superior temporal gyrus) และเพราะรอยโรคเหล่านี้ จึงเชื่อว่า คนไข้เหล่านี้มีความหนวกแบบจำกัดสำหรับเสียงบางอย่างและความถี่เสียงบางระดับในคำพูด[9]

หลังจากเวอร์นิเก ในปี ค.ศ. 1877 กุสมอล์ได้พยายามอธิบายเหตุของ ภาวะเสียการระลึกรู้ศัพท์ทางหู (Auditory verbal agnosia) ที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาวะหนวกศัพท์ (word deafness) แต่โดยไม่เหมือนกับคำอธิบายของเวอร์นิเก กุสมอล์เชื่อว่า ภาวะนี้เกิดจากความเสียหายอย่างสำคัญต่อรอยนูนกลีบขมับ "ส่วนแรก" ซีกซ้าย และได้ออกความคิดเห็นเกี่ยวกับการกำเนิดของภาวะเสียการอ่าน (Alexia) ซึ่งรู้จักอีกอย่างหนึ่งว่า ภาวะบอดศัพท์ (word blindness) ว่า เกิดจากรอยโรคที่รอยนูนแองกูลาร์ (angular gyrus) และที่ Supramarginal gyrus ซีกซ้าย[9]

ส่วนเฮ็นริค ลิสเซาร์ ได้ให้ความคิดของเขาเกี่ยวกับภาวะเสียการระลึกรู้หลังเวอร์นิเกและกุสมอล์[9] ในปี ค.ศ. 1890 เขาได้ตั้งทฤษฎีขึ้นว่า มี 2 แบบ ที่การรู้จำวัตถุสามารถเกิดความเสียหายได้ คือ มีความเสียหายต่อการประมวลผลเพื่อการรับรู้ในระยะต้น หรือว่า มีความเสียหายต่อตัวแทนของวัตถุ (object representation) นั้น ถ้าตัวแทนวัตถุมีความเสียหาย วัตถุนั้นจะไม่สามารถบันทึกลงในความทรงจำทางตาได้ และดังนั้น บุคคลนั้นก็จะไม่สามารถรู้จำวัตถุนั้นได้[27]

ในสมัยของเวอร์นิเก กุสมอล์ และลิสเซาร์ พวกเขายังไม่มีความรู้เกี่ยวกับเปลือกสมอง แต่ในปัจจุบันนี้ ด้วยเทคนิคการสร้างภาพประสาท (neuroimaging) ต่างๆ เราสามารถที่จะเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับภาวะเสียการระลึกรู้ได้อย่างกว้างขวาง[5]

ใกล้เคียง

ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเสียการระลึกรู้ ภาวะเหล็กเกิน ภาวะเลือดจาง ภาวะเงินฝืด ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน ภาวะเพศกำกวม ภาวะเชิงการนับ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะเสียการระลึกรู้ http://brainmind.com/Agnosia.html http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S00283... http://www.emedicine.com/agnosia/topic.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=784.... http://thomasland.metapress.com/content/n13kykyq3x... http://www.newyorker.com/archive/content/articles/... http://dictionary.reference.com/browse/agnosia http://dictionary.webmd.com/terms/agnosia http://www.ninds.nih.gov/disorders/agnosia/agnosia... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1737727