ประเภท ของ ภาวะเสียการระลึกรู้

ชื่อคำอธิบาย
ภาวะบอดความเคลื่อนไหว (Akinetopsia)หรือรู้จักกันว่า ภาวะบอดความเคลื่อนไหวเหตุสมอง (Cerebral akinetopsia) เป็นความไม่สามารถเห็นความเคลื่อนไหว เหตุอย่างหนึ่งของภาวะนี้คือรอยโรคในคอร์เทกซ์สายตานอกคอร์เทกซ์ลาย[7]
ภาวะเสียสำนึกความพิการ (Anosognosia)เป็นภาวะที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลป้อนกลับ (feedback) เกี่ยวกับภาวะของตน และบางครั้งสับสนกับความไม่มีความเข้าใจ แต่ความจริงเกิดขึ้นจากปัญหาในกลไกเกี่ยวกับข้อมูลป้อนกลับในสมอง เกิดขึ้นจากความเสียหายทางประสาท และสามารถเกิดขึ้นร่วมกับความบกพร่องทางประสาทอย่างอื่นๆ โดยมากแล้ว ตรวจพบในคนไข้ที่ส่งไปหาแพทย์ในกรณีอัมพาตเพราะโรคลมปัจจุบัน (stroke) ผู้มีภาวะนี้พร้อมกับความบกพร่องอย่างอื่นๆ อาจจะรับรู้ความบกพร่องบางอย่างของตน แต่ไม่สามารถรับรู้ความบกพร่องทุกอย่างโดยสิ้นเชิง
ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตาแบบวิสัญชาน (apperceptive visual agnosia)คือคนไข้ไม่สามารถจำแนกรูปร่างต่างๆ ทางตา และมีปัญหาในการรู้จำ การลอกแบบรูปภาพ และการแยกแยะระหว่างตัวกระตุ้นต่างๆ ทางตา โดยที่ต่างจากคนไข้ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตาแบบสัมพันธ์ (associative visual agnosia) คนไข้แบบวิสัญชานไม่สามารถลอกแบบรูปภาพต่างๆ ได้เลย[8]
ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตาแบบสัมพันธ์ (associative visual agnosia)คือคนไข้สามารถพรรณนาถึงทัศนียภาพทางตาและประเภทต่างๆ ของวัตถุได้ แต่ไม่สามารถรู้จำวัตถุเหล่านั้นได้ (คือไม่รู้ว่าเป็นอะไร) ตัวอย่างเช่น คนไข้อาจจะรู้ว่าซ่อมนั้นเอาไว้ใช้ทานอาหาร แต่อาจจะสับสนซ่อมโดยเห็นว่าเป็นช้อน คนไข้มีภาวะนี้สามารถลอกแบบรูปภาพได้
Astereognosisหรือรู้จักกันว่า ภาวะเสียการระลึกรู้ความรู้สึกทางกาย (Somatosensory agnosia) เป็นภาวะที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกสัมผัส คนไข้อาจจะมีปัญหาในการรู้จำวัตถุโดยการสัมผัสที่ใช้เพื่อจะรู้เนื้อของวัตถุ (texture) ขนาด และน้ำหนัก แต่ว่า อาจจะสามารถพรรณนาถึงวัตถุโดยคำพูด หรือรู้จำวัตถุนั้นโดยภาพ และสามารถวาดรูปวัตถุนั้นได้ มีการสันนิษฐานว่า เป็นภาวะเกิดจากรอยโรคหรือความเสียหายในคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (somatosensory cortex)
ภาวะเสียการระลึกรู้ทางหู
(Auditory agnosia)
เป็นภาวะที่รู้จักกันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1877[9] คนไข้ภาวะนี้มีปัญหาในการแยกแยะเสียงในสิ่งแวดล้อมและคำพูด รวมทั้งปัญหาการแยกแยะเสียงพูดและเสียงที่ไม่ใช่คำพูดแม้ว่าการได้ยินจะเป็นปกติ ภาวะนี้มี 2 ประเภท คือ แบบสัมพันธ์ความหมาย (semantic associative) และแบบแยกแยะ (discriminative) แบบสัมพันธ์ความหมาย มีความเกี่ยวข้องกับรอยโรคในสมองซีกซ้าย เปรียบเทียบกับ แบบแยกแยะซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับรอยโรคในสมองซีกขวา[10]
ภาวะเสียการระลึกรู้ศัพท์ทางหู
(Auditory verbal agnosia)
หรือรู้จักกันว่า ภาวะหนวกคำล้วนๆ (Pure Word Deafness) เป็นภาวะที่มีความหนวกในความหมายของคำ คือ การได้ยินไม่มีปัญหาอะไร แต่มีปัญหาอย่างสำคัญในการรู้จำคำพูดว่ามีความหมายอะไร
Autotopagnosiaเกี่ยวกับความไม่สามารถเปลี่ยนทิศทางของอวัยวะในร่างกาย และมักเกิดขึ้นเพราะรอยโรคในสมองกลีบข้าง
ภาวะบอดสีเหตุสมอง (Cerebral achromatopsia)หรือรู้จักกันอีกอย่างหนึ่งว่า ภาวะเสียการระลึกสี (Color agnosia) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแยกประเภทของสีด้วย เกี่ยวกับการรู้จำสีด้วย ภาวะนี้มักจะเกิดเพราะความเสียหายทางประสาท[11][12] มีเขต 2 เขตในสมองที่มีกิจเฉพาะในการรู้จำสี คือเขตสายตา V4 และเขตสายตา V8 ถ้ามีรอยโรคข้างเดียวในเขต V4 ก็จะเกิดการสูญเสียการรับรู้สีซึ่งเรียกว่า hemiachromatopsia (ภาวะบอดสีข้างเดียว)[5]
ภาวะหนวกเหตุสมอง (Cortical deafness)หมายถึงคนไข้ผู้ไม่สามารถรับรู้ข้อมูลทางหู แม้ว่าอวัยวะคือหูจะไม่ปรากฏว่ามีปัญหา
ภาวะไม่รู้สิ่งแวดล้อม (Environmental Agnosia)เป็นความไม่สามารถบ่งบอกตำแหน่งของห้องหรืออาคารที่มีความคุ้นเคย และความไม่สามารถบอกเส้นทางไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง คนไข้ภาวะนี้มีปัญหาในการเรียนรู้เส้นทาง มักเกี่ยวข้องกับรอยโรคในสมองทั้งสองซีกหรือซีกขวาซีกเดียวทางด้านหลัง และยังมีความเกี่ยวข้องกับภาวะบอดใบหน้า (prosopagnosia) และโรคพาร์กินสัน[5]
ภาวะไม่รู้นิ้ว
(Finger agnosia)
เป็นความไม่สามารถที่จะแยกแยะนิ้วมือทั้งของตนและของผู้อื่นได้ มีเหตุคือรอยโรคในสมองกลีบข้างในด้านซีกสมองที่เป็นใหญ่ (คือคนถนัดขวาจะมีสมองซีกซ้ายเป็นใหญ่) และเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของ Gerstmann syndrome
ภาวะไม่รู้รูปร่าง
(Form agnosia)
คนไข้รับรู้ได้แต่รายละเอียดเป็นส่วนๆ แต่ไม่สามารถรับรู้วัตถุโดยองค์รวมทั้งวัตถุได้
Integrative agnosiaโดยปกติแล้วคนไข้ภาวะเสียการระลึกรู้มักจะเป็นแบบสัมพันธ์ (associative) หรือแบบวิสัญชาน (appreceptive) แต่ว่าในแบบ integrative คนไข้มีความสามารถระดับที่อยู่ในระหว่างแบบสัมพันธ์ และแบบวิสัญชาน คือามารถรู้จำองค์ประกอบของวัตถุได้ แต่ไม่สามารถประสานองค์ประกอบเหล่านั้นให้เป็นวัตถุโดยองค์รวมเพื่อที่จะรู้จำได้
ภาวะเสียการระลึกรู้ความเจ็บปวด (Pain agnosia)บางครั้งเรียกว่า Analgesia คนไข้มีปัญหาในการรับรู้และประมวลผลเกี่ยวกับความเจ็บปวด มีสันนิษฐานว่า เป็นภาวะที่เป็นมูลฐานของการทำร้ายตัวเองบางประเภท
Phonagnosiaเป็นความไม่สามารถรู้จำเสียงที่คุ้นเคยได้ แม้ว่าผู้ฟังจะสามารถเข้าใจคำที่พูดได้[13]
ภาวะบอดใบหน้า (Prosopagnosia)คนไข้ไม่สามารถรู้จำใบหน้าที่คุ้นเคยได้ด้วยจิตใต้สำนึก และในบางกรณีแม้แต่จะเป็นใบหน้าของตน บางครั้งสับสนกับความไม่สามารถจำชื่อ
ภาวะเสียการอ่านล้วน (Pure alexia)เป็นความไม่สามารถในการรู้จำหนังสือ คนไข้ภาวะนี้บ่อยครั้งมีความเสียหายใน corpus callosum และต่อเขตสายตาสัมพันธ์ของสมองซีกซ้าย[5] ภาวะนี้เป็นความไม่สามารถในการอ่านหนังสือ แต่ยังเขียนหนังสือได้ คนไข้มักจะอ่านคำในหนังสือทีละอักษร[14] แต่ว่า ความปรากฏบ่อยๆ ของคำ มีผลต่อการอ่าน คนไข้สามารถอ่านคำที่ปรากฏบ่อยได้ดีกว่าและเร็วกว่าคำที่เกิดขึ้นไม่บ่อย[15]
ภาวะเสียการระลึกรู้ความหมาย (Semantic agnosia)คนไข้ภาวะนี้ "บอดวัตถุ" คือไม่เข้าใจว่าวัตถุที่เห็นคืออะไร มีประโยชน์อะไร และต้องใช้ระบบประสาทอื่นๆ นอกจากการเห็นเพื่อจะรู้จำวัตถุ ตัวอย่างเช่นต้องลูบคลำ แตะเบาๆ ดมกลิ่น หรือเขย่าวัตถุนั้น ซึ่งอาจจะทำให้เข้าใจวัตถุนั้นว่าคืออะไร[16]
Social-Emotional Agnosiaบางครั้งเรียกว่า Expressive Agnosia เป็นภาวะเสียการระลึกรู้ประเภทที่คนไข้ไม่สามารถรับรู้สีหน้า ภาษากาย และน้ำเสียง ทำให้ไม่สามารถรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของคนอื่นที่ไม่ได้สื่อโดยคำพูดได้ กีดกันคนไข้จากการเข้าสังคมเพราะเหตุนั้น
Simultagnosiaคือความไม่สามารถในการประมวลข้อมูลทางสายตาให้เป็นองค์รวม แทนที่จะทำอย่างนั้นได้ คนไข้ประมวลใบหน้า ร่างกาย วัตถุ ห้อง สถานที่ และรูปภาพทีละอย่างๆ[17] เมื่อมองดูภาพ คนไข้สามารถกล่าวถึงส่วนต่างๆ ของภาพนั้น แต่มีความยากลำบากในการเข้าใจภาพโดยองค์รวม ภาวะนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Bálint syndrome[18] แต่ก็อาจจะเกิดขึ้นเพราะความบาดเจ็บในสมอง
ภาวะเสียการระลึกรู้โดยสัมผัส (Tactile agnosia)เป็นความเสียหายในความสามารถที่จะรู้จำวัตถุโดยการจับต้องเพียงอย่างเดียว[19]
ภาวะเสียการระลึกรู้เวลา (Time agnosia)คือการสูญเสียความเข้าใจในลำดับและช่วงเวลาของเหตุการณ์ต่างๆ
Topographical disorientation
(ภาวะงุนงนสับสนภูมิประเทศ)
รู้จักอีกอย่างหนึ่งว่า Topographical agnosia (ภาวะเสียการระลึกรู้ภูมิประเทศ) หรือ Topographagnosia ซึ่งเป็นภาวะเสียการระลึกรู้ทางตาแบบหนึ่งที่คนไข้ไม่สามารถอาศัยสิ่งที่เห็นทางตาเพื่อจะนำทางไปได้ เนื่องจากความไม่สามารถที่จะรู้จำวัตถุ แต่ว่า คนไข้อาจจะมีความสามารถที่เยี่ยมในการพรรณนาถึงแผนผังของสถานที่เดียวกัน คนไข้ภาวะนี้มีความสามารถในการอ่านแผนที่ แต่จะหลงทางแม้ในสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคย[20]
Visuospatial dysgnosiaเป็นการสูญเสียความรู้สึกว่า "อยู่ที่ไหน" เกี่ยวกับตำแหน่งของตัวเองกับสิ่งแวดล้อม หรือของวัตถุกับวัตถุ[21] ภาวะนี้มักจะมีความสัมพันธ์กับ Topographical disorientation
ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา (Visual agnosia)เป็นภาวะที่สัมพันธ์กับรอยโรคในสมองกลีบท้ายทอยซีกซ้ายและสมองกลีบขมับ ภาวะนี้มีหลายประเภทที่เกี่ยวข้องกับความไม่สามารถในการรู้จำวัตถุ[22]

ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา

ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา (Visual agnosia) เป็นกลุ่มของภาวะต่างๆ ที่คนไข้มีความบกพร่องในการรู้จำวัตถุทางตา ภาวะนี้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อย 2 อย่างคือ แบบวิสัญชาน (apperceptive visual agnosia) และแบบสัมพันธ์ (associative visual agnosia)[23]

คนไข้แบบวิสัญชานสามารถเห็นเส้นรูปร่างของวัตถุ แต่มีปัญหาถ้าต้องแยกประเภทวัตถุ เป็นภาวะที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายในสมองซีกหนึ่ง โดยเฉพาะในส่วนหลังของซีกขวา[23] เปรียบเทียบกับคนไข้แบบสัมพันธ์ ผู้มีปัญหาในการบอกชื่อของวัตถุและมีความเสียหายในทั้งสมองซีกซ้ายทั้งซีกขวา ที่จุดเชื่อมของสมองกลีบท้ายทอยและสมองกลีบขมับ.[23]

รูปแบบอย่างหนึ่งของแบบสัมพันธ์ก็คือ ภาวะบอดใบหน้า (Prosopagnosia) ซึ่งเป็นความไม่สามารถรู้จำใบหน้า ยกตัวอย่างเช่น คนไข้อาจมีปัญหาในการรู้จำเพื่อนๆ สมาชิกในครอบครัว และเพื่อนร่วมทำงาน[23] ถึงอย่างนั้น คนไข้ภาวะนี้ยังสามารถรู้จำวัตถุอื่นๆ ทางตาได้[24]

ใกล้เคียง

ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเสียการระลึกรู้ ภาวะเหล็กเกิน ภาวะเลือดจาง ภาวะเงินฝืด ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน ภาวะเพศกำกวม ภาวะเชิงการนับ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะเสียการระลึกรู้ http://brainmind.com/Agnosia.html http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S00283... http://www.emedicine.com/agnosia/topic.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=784.... http://thomasland.metapress.com/content/n13kykyq3x... http://www.newyorker.com/archive/content/articles/... http://dictionary.reference.com/browse/agnosia http://dictionary.webmd.com/terms/agnosia http://www.ninds.nih.gov/disorders/agnosia/agnosia... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1737727