การประเมินโรคทางประสาทจิตวิทยา ของ ภาวะไม่รู้ใบหน้า

มีวิธีการประเมินโรคทางประสาทจิตวิทยา ที่สามารถวินิจฉัยภาวะบอดใบหน้าอย่างชัดเจน

การตรวจสอบโดยใช้ใบหน้าของคนมีชื่อเสียง

การตรวจสอบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายก็คือ การตรวจสอบโดยใช้ใบหน้าของคนมีชื่อเสียง แต่ว่า การตรวจสอบนี้ยากที่จะทำให้มีมาตรฐานเดียวกัน

การตรวจสอบการรู้จำใบหน้าแบบเบ็นตัน

การตรวจสอบการรู้จำใบหน้าแบบเบ็นตัน (อังกฤษ: Benton Facial Recognition Test ตัวย่อ BFRT) เป็นวิธีอีกอย่างหนึ่งที่นักประสาทจิตวิทยาใช้เพื่อประเมินทักษะในการรู้จำใบหน้า ใบหน้าเป้าหมายหนึ่งถูกแสดงให้กับผู้สอบ เหนือใบหน้าตรวจสอบอีก 6 ใบหน้า แล้วให้ผู้สอบระบุว่า ใบหน้าตรวจสอบไหนเหมือนกับใบหน้าเป้าหมาย รูปภาพเหล่านั้นถูกตัดออกเพื่อไม่ให้เห็นผมหรือเสื้อผ้า เพราะว่า ผู้มีภาวะบอดใบหน้าเป็นจำนวนมากใช้ผมและเสื้อผ้าเป็นตัวช่วยเพื่อจะรู้จำบุคคล ใบหน้าของทั้งผู้หญิงทั้งผู้ชายถูกแสดงในระหว่างการตรวจสอบ

ในรูปตรวจสอบ 6 รูปแรก มีรูปตรวจสอบรูปเดียวเท่านั้นที่เหมือนกับใบหน้าเป้าหมาย แต่ในรูปตรวจสอบ 7 รูปต่อไป รูปตรวจสอบ 3 รูปเหมือนกับใบหน้าเป้าหมายและบุคคลในแต่ละรูปอยู่ในอากัปกิริยาที่ต่างกัน แต่ว่า ความเชื่อถือได้ของการตรวจสอบชนิดนี้ ถูกท้าทายโดยงานวิจัยของดูเชนและนากายามาที่แสดงว่า คะแนนเฉลี่ยของผู้ที่แจ้งว่าตนมีภาวะบอดใบหน้า 11 คน ปรากฏว่าอยู่ในระดับปกติ[24]

อย่างไรก็ดี การทดสอบนี้อาจจะมีประโยชน์ ในการระบุชี้คนไข้ที่มีภาวะไม่รู้หน้าแบบวิสัญชาน เพราะว่านี่เป็นการทดสอบโดยจับคู่รูปที่เหมือน. คนไข้แบบวิสัญชานจะไม่สามารถรู้จำทั้งใบหน้าที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคย และจะไม่สามารถผ่านการสอบได้ แต่ข้อทดสอบนี้ไม่มีประโยชน์ในการวินิจฉัยคนไข้ที่มีภาวะไม่รู้หน้าแบบสัมพันธ์

การตรวจสอบการจำใบหน้าแบบเคมบริดจ์

การทดสอบการจำใบหน้าแบบเคมบริดจ์ (อังกฤษ: Cambridge Face Memory Test ตัวย่อ CFMT) เป็นการตรวจสอบแบบใหม่ที่พัฒนาโดยดูเชนและนากายามา เพื่อการวินิจฉัยผู้มีภาวะบอดใบหน้าที่ดีกว่า ระบบการทดสอบตอนแรกแสดงแก่ผู้สอบรูป 3 รูปของแต่ละใบหน้าเป้าหมาย 6 ใบหน้า ต่อจากนั้น แสดงรูป 3 รูปเป็นชุดๆ แต่ละชุดมีใบหน้าเป้าหมาย 1 รูป และมีรูปที่ไม่ใช่เป้าหมายอีก 2 รูป

ดูเชนและนากายามาแสดงว่า CFMT แม่นยำกว่า และมีประสิทธิภาพกว่าการทดสอบอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้วในการวินิจฉัยคนไข้ภาวะบอดใบหน้า งานวิจัยของนักวิจัยทั้งสองแสดงว่า คนไข้ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะบอดใบหน้าที่ 75% โดย CFMT แต่ได้รับการวินิจฉัยเพียงแค่ 25% โดย BFRT แต่ว่า โดยที่เหมือนกับ BFRT คนไข้ต้องจับคู่ใบหน้าที่ไม่คุ้นเคย เพราะว่า ใบหน้าเหล่านั้นถูกแสดงในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้นในตอนต้นของการทดสอบ ในปัจจุบัน การทดสอบนี้ยังไม่มีการใช้อย่างแพร่หลาย และจะต้องมีการทดลองเพิ่มขึ้นอีกก่อนที่จะได้รับพิจารณาว่า เชื่อถือได้[24]

ใกล้เคียง

ภาวะไม่รู้ใบหน้า ภาวะไม่รู้ความเคลื่อนไหว ภาวะไข้สูง ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส ภาวะไม่มีการสร้างของระบบท่อมุลเลอเรียน ภาวะไม่มีแกมมาโกลบูลินในเลือดที่ถ่ายทอดทางโครโมโซมเพศ ภาวะไม่ทนต่อฟรุกโทสกรรมพันธุ์ ภาวะไตเสื่อมมีน้ำคั่ง ภาวะไม่รู้ ภาวะไตวาย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะไม่รู้ใบหน้า http://www.nefy.ucl.ac.be/facecatlab/PDF/Mayer-Ros... http://articles.cnn.com/2007-02-02/health/face.bli... http://www.cnn.com/2007/HEALTH/conditions/02/02/fa... http://www.emedicine.com/NEURO/topic365.htm http://www.esquire.com/features/brad-pitt-cover-in... http://www.newyorker.com/reporting/2010/08/30/1008... http://pic.plover.com/prosopagnosia.pdf http://www.rahulgladwin.com/noteblog/neurology/not... http://www.martinagrueter.de/Grueter_et_al_2007cor... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3077885