คำอธิบายคร่าวๆ ของ ภาวะไม่รู้ใบหน้า

อาการที่ไม่สามารถรู้จำใบหน้าได้ถูกบันทึกไว้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 พร้อมกับกรณีศึกษา โดยฮักลิงส์ แจ็คสัน และชอน มาร์ติน ชาร์ค็อต แต่ว่า อาการเหล่านั้นไม่มีชื่อจนกระทั่งโจคิม บอดดะเมอร์ ผู้เป็นนักประสาทวิทยาชาวเยอรมัน ได้เริ่มใช้คำว่า "ภาวะไม่รู้ใบหน้า (prosopagnosia)" เป็นครั้งแรก

บอดดะเมอร์ได้พรรณนาถึงกรณีศึกษา 3 กรณี รวมทั้งชายวัย 24 ปีผู้ได้รับความบาดเจ็บจากลูกกระสุนที่ศีรษะ และสูญเสียความสามารถในการรู้จำเพื่อน ครอบครัว และแม้กระทั่งใบหน้าของตนเอง แต่ว่า เขายังสามารถรู้จำและระบุบุคคลผ่านความรู้สึกอื่นเช่นเสียง สัมผัส และแบบอื่นๆ ของตัวกระตุ้นทางตา เช่นท่าเดินและอาการทางกายอย่างอื่นได้ บอดดะเมอร์ได้ให้ชื่อผลงานของเขาว่า "ภาวะไม่รู้ใบหน้า" (เยอรมัน: Die Prosop-Agnosie) ซึ่งมีรากมาจากภาษากรีกโบราณว่า πρόσωπον (prósōpon) ซึ่งหมายความว่า "ใบหน้า" และ αγνωσία (agnōsía) ซึ่งหมายความว่า "ไม่ใช่ความรู้"

กรณีภาวะบอดใบหน้าหนึ่งก็คือเรื่องของ "ดร. พี" ในหนังสือของโอลิเวอร์ แซคส์ ที่ชื่อว่า "ชายผู้สับสนภรรยาของตนว่าเป็นหมวก" ถึงแม้ว่าอาจจะถูกต้องกว่าที่จะพิจารณากรณีนี้ว่า เป็นภาวะเสียการระลึกรู้ทางการเห็น อันเป็นอาการที่ครอบคลุมกว่า. แม้ว่า ดร. พี จะไม่สามารถรู้จำภรรยาของเขาได้จากใบหน้าของเธอ แต่เขาสามารถรู้จำเธอได้จากเสียง เขาสามารถรู้จำภาพครอบครัวและเพื่อนของเขาได้ โดยอาศัยลักษณะเฉพาะที่เจาะจงมาก เช่น คางที่เหลี่ยมและฟันที่ใหญ่ของพี่ชายของเขา. เป็นความบังเอิญว่า แม้แต่ตัวผู้เขียนคือโอลิเวอร์ แซคส์ผู้เป็นนักประสาทวิทยาเอง ก็มีภาวะบอดใบหน้า ทั้งที่เขาก็ไม่เคยรู้มาเกือบทั้งชีวิต[5] (ดูคนไข้ที่เป็นที่รู้จัก)

งานวิจัยเกี่ยวกับภาวะบอดใบหน้า เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับการรับรู้ใบหน้า เพราะภาวะบอดใบหน้าไม่ใช่เป็นโรคชนิดเดียว คือ คนไข้ต่างๆ กัน อาจจะมีความบกพร่องที่ต่างประเภทกันและต่างระดับกัน จึงมีการเสนอว่า การรับรู้ใบหน้าต้องอาศัยการประมวลผลหลายขั้นตอน และความบกพร่องในขั้นต่างๆ กัน อาจจะก่อให้เกิดความแตกต่างกันของอาการที่แสดงออกของคนไข้ภาวะบอดใบหน้า[6]

หลักฐานประเภทนี้สำคัญมากในการสนับสนุนทฤษฎีว่า อาจจะมีระบบการรับรู้ใบหน้าโดยเฉพาะในสมอง นักวิจัยโดยมากเห็นด้วยว่ากระบวนการรับรู้ใบหน้านั้นเป็นไปตามองค์ประกอบรวมๆ ไม่ใช่เป็นไปตามองค์ประกอบเฉพาะ ไม่เหมือนการรับรู้วัตถุอื่นๆ โดยมาก การรับรู้โดยองค์รวมของใบหน้าจึงไม่ต้องมีเซลล์ประสาทเป็นตัวแทนชัดแจ้ง (explicit representation) ของลักษณะเฉพาะต่างๆ เป็นต้นว่า ตา จมูก และปาก แต่การรับรู้ใบหน้าเป็นการพิจารณาใบหน้าโดยองค์รวม[7][8][9]

เพราะว่าใบหน้าโดยรูปแบบมีระเบียบที่แน่นอน เช่น ตาต้องอยู่เหนือจมูก และจมูกต้องอยู่เหนือปาก ดังนั้น วิธีที่ใช้องค์รวมในการรู้จำบุคคลหรือใบหน้า จากกลุ่มใบหน้าที่มีโครงสร้างคล้ายๆ กัน จึงเป็นอุบายที่มีประสิทธิภาพ การประมวลผลโดยองค์รวมอย่างนี้นี่แหละ ที่มีความเสียหายในผู้มีภาวะบอดใบหน้า[7] ซึ่งเป็นผู้สามารถที่จะรู้จำลักษณะเฉพาะแต่ละอย่างขององค์ประกอบของใบหน้าได้ แต่ไม่สามารถที่จะประมวลองค์ประกอบเหล่านั้นเพื่อจะรู้ใบหน้าทั้งหน้าได้ เหตุผลนี้ไม่ค่อยแจ่มชัดต่อคนจำนวนมาก เพราะไม่ใช่ทุกคนเชื่อว่า ใบหน้านั้นมีความพิเศษ จึงควรถูกรับรู้โดยวิธีที่แตกต่างจากการรับรู้วัตถุอย่างอื่นทั้งหมด

ถึงแม้ว่าจะมีหลักฐานที่บอกเป็นนัยว่า แม้วัตถุอื่นๆ ทางตาก็ถูกประมวลผลโดยองค์รวมๆ เช่นกัน (เช่น การรู้จำสุนัขของผู้ชำนาญในสุนัข) แต่ว่า ปรากฏการณ์ในกรณีเหล่านั้นไม่กว้างขวางเท่าและไม่สม่ำเสมอเท่า ปรากฏการณ์ในการประมวลผลเพื่อรู้ใบหน้า งานวิจัยหนึ่งที่ทำโดยไดมอนด์และแครีย์ แสดงความเป็นไปอย่างนี้ในกรรมการผู้ตัดสินของการประกวดสุนัข คือ ผู้วิจัยแสดงภาพของสุนัขให้กรรมการและให้ชนกลุ่มควบคุมดูแล้ว พลิกลับภาพเหล่านั้นแล้วก็แสดงให้ดูอีกครั้งหนึ่ง กรรมการตัดสินกลับมีปัญหามากกว่าในการรู้จำสุนัขเมื่อภาพนั้นถูกพลิกลับ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ปัญหาที่เกิดขึ้นในการรู้จำรูปที่พลิกกลับนี้ เรียกว่า ปรากฏการณ์พลิกกลับ ก่อนงานวิจัยนี้ เชื่อกันว่าปรากฏการณ์พลิกกลับนี้มีอยู่ในการรู้จำใบหน้าเท่านั้น แต่งานวิจัยนี้กลับแสดงว่า ปรากฏการณ์นี้ก็ยังมีในการรู้จำที่ทำอย่างชำนาญในสิ่งอื่นๆ ด้วย[10]

มีการเสนออีกด้วยว่า ภาวะบอดใบหน้าอาจจะเป็นความบกพร่องโดยทั่วๆ ไปของการเข้าใจโครงสร้างโดยองค์รวม ที่เกิดจากองค์ประกอบของการเห็นแต่ละอย่างมารวมกัน นักจิตวิทยามาร์ทา ฟาราฮ์ เป็นคนสำคัญในแนวคิดนี้[11][12]

ใกล้เคียง

ภาวะไม่รู้ใบหน้า ภาวะไม่รู้ความเคลื่อนไหว ภาวะไข้สูง ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส ภาวะไม่มีการสร้างของระบบท่อมุลเลอเรียน ภาวะไม่มีแกมมาโกลบูลินในเลือดที่ถ่ายทอดทางโครโมโซมเพศ ภาวะไม่ทนต่อฟรุกโทสกรรมพันธุ์ ภาวะไตเสื่อมมีน้ำคั่ง ภาวะไม่รู้ ภาวะไตวาย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะไม่รู้ใบหน้า http://www.nefy.ucl.ac.be/facecatlab/PDF/Mayer-Ros... http://articles.cnn.com/2007-02-02/health/face.bli... http://www.cnn.com/2007/HEALTH/conditions/02/02/fa... http://www.emedicine.com/NEURO/topic365.htm http://www.esquire.com/features/brad-pitt-cover-in... http://www.newyorker.com/reporting/2010/08/30/1008... http://pic.plover.com/prosopagnosia.pdf http://www.rahulgladwin.com/noteblog/neurology/not... http://www.martinagrueter.de/Grueter_et_al_2007cor... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3077885