ประเภท ของ ภาวะไม่รู้ใบหน้า

แบบวิสัญชาน

ภาวะไม่รู้ใบหน้าแบบวิสัญชาน (อังกฤษ: apperceptive prosopagnosia) เป็นคำที่ใช้พรรณนากรณีภาวะบอดใบหน้าที่เกิดขึ้นภายหลัง ที่มีผลต่อกระบวนการประมวลผลในขั้นเบื้องต้นของระบบการรับรู้ใบหน้า เขตในสมองที่สันนิษฐานกันว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในภาวะไม่รู้ใบหน้าแบบวิสัญชาน ก็คือ รอยต่อของสมองกลีบขมับและสมองกลีบท้ายทอย (temporo-occipital junction) ในสมองซีกขวา[7]

คนไข้ที่มีภาวะนี้ไม่สามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับใบหน้าโดยประการทั้งปวง และไม่สามารถตัดสินความเหมือนความต่าง เมื่อมองดูรูปที่มีใบหน้าต่างๆ กัน ไม่สามารถที่จะรู้จำทั้งใบหน้าที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคย อย่างไรก็ดี คนไข้อาจจะสามารถรู้จำบุคคลต่างๆ อาศัยเหตุอื่นๆ นอกจากใบหน้าเช่นเสื้อผ้า ทรงผม หรือเสียง[13]

แบบสัมพันธ์

ภาวะไม่รู้ใบหน้าแบบสัมพันธ์ (อังกฤษ: associative prosopagnosia) เป็นคำที่ใช้พรรณนากรณีภาวะบอดใบหน้าที่เกิดขึ้นภายหลัง ที่ไม่ทำลายกระบวนการประมวลผล แต่ก่อความเสียหายให้กับการเชื่อมต่อกันระหว่างกระบวนการรับรู้ใบหน้าขั้นเบื้องต้น กับข้อมูลต่างๆ ที่เรามีเกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น. สมองกลีบขมับด้านหน้าในสมองซีกขวาอาจจะมีบทบาทสำคัญในภาวะนี้[7]

คนไข้ที่มีภาวะนี้อาจสามารถบอกได้ว่า รูปภาพใบหน้าต่างๆ นั้นเหมือนกันหรือต่างกัน และสามารถอนุมานวัยและเพศของใบหน้านั้น (ซึ่งบอกเป็นนัยว่า สามารถทำความเข้าใจบางอย่างในรูปใบหน้า) แต่ต่อจากนั้น อาจไม่สามารถระบุบุคคลหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลนั้นได้ เป็นต้นว่า ชื่อ อาชีพ หรือว่าพบกันครั้งสุดท้ายเมื่อไร[7]

เหตุพัฒนาและเหตุพันธุกรรม

ภาวะไม่รู้ใบหน้าเหตุพัฒนา (อังกฤษ: developmental prosopagnosia, ตัวย่อ DP) เป็นความบกพร่องในการรู้จำใบหน้าที่จะมีตลอดทั้งชีวิต ปรากฏอาการตั้งแต่ในวัยเด็ก และไม่สามารถสาวเหตุไปยังความเสียหายในสมองที่เกิดขึ้นภายหลัง งานวิจัยหลายงานค้นพบความบกพร่องของสมองโดยกิจของผู้มีภาวะนี้ อาศัยการตรวจโดยใช้คลื่นไฟฟ้าสมอง และโดยใช้ fMRI มีงานวิจัยที่บอกเป็นนัยว่าพันธุกรรมเป็นเหตุของภาวะนี้

คำว่า ภาวะไม่รู้ใบหน้าเหตุพันธุกรรม (อังกฤษ: hereditary prosopagnosia ตัวย่อ HPA) จะถูกใช้ถ้าภาวะบอดใบหน้าเกิดขึ้นกับสมาชิกครอบครัวมากกว่าหนึ่ง เพื่อเน้นความเป็นไปได้ที่พันธุกรรมจะมีส่วนเป็นเหตุในภาวะนี้ ในงานวิจัยหนึ่ง เพื่อที่จะตรวจสอบความเป็นไปทางพันธุกรรม นักศึกษาจำนวน 689 คนที่ถูกเลือกโดยสุ่มให้ตอบคำถามสำรวจ งานสำรวจนั้นระบุนักศึกษาผู้มีภาวะไม่รู้ใบหน้าเหตุพัฒนา 17 คน ต่อจากนั้น สมาชิกครอบครัวของนักศึกษาเหล่านั้น ก็ถูกสัมภาษณ์เพื่อสำรวจอาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันกับอาการของภาวะบอดใบหน้า และครอบครัวทั้งหมดใน 14 ครอบครัวเหล่านั้น ก็มีสมาชิกอย่างน้อยอีกคนหนึ่งที่มีอาการของภาวะบอดใบหน้า[14]

ในงานวิจัยปี ค.ศ. 2005 นำโดยเค็นเนอร์เน็คท์ สนับสนุนประเภทของภาวะบอดใบหน้าที่กล่าวถึงนี้ คือ งานวิจัยนี้แสดงหลักฐานทางวิทยาการระบาด (epidemiology) ว่า ภาวะบอดใบหน้าแต่กำเนิดเป็นโรคการรับรู้ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ และมักจะสืบกันไปภายในครอบครัว การวิเคราะห์การสืบเชื้อสายในงานวิจัยก็ยังแสดงด้วยว่า รูปแบบการสืบต่อของภาวะไม่รู้ใบหน้าเหตุพันธุกรรม (HPA) เป็นไปตามรูปแบบของพันธุกรรมโดยออโตโซมเด่น (autosomal dominant inheritance) วิธีการสืบต่อทางพันธุกรรมอย่างนี้อธิบายว่า ทำไม HPA จึงเกิดขึ้นบ่อยๆ ในบางครอบครัว[15]

มีความผิดปกติช่วงพัฒนาหลายอย่าง ที่สัมพันธ์กับโอกาสที่สูงขึ้น ที่บุคคลหนึ่งจะมีปัญหาในการรับรู้ใบหน้า ซึ่งบุคคลนั้นอาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว กลไกความเป็นไปของความบกพร่องในการรับรู้เหล่านี้ยังไม่ปรากฏ รายการโรคที่มีองค์ประกอบเป็นภาวะบอดใบหน้ารวมทั้งความผิดปกติในการเรียนที่ไม่เกี่ยวกับคำพูด[16] โรคอัลไซเมอร์ โรคกลุ่มออทิซึมสเปกตรัม[17] อย่างไรก็ตาม โรคเหล่านี้ซับซ้อนมาก เพราะฉะนั้น อาจจะดีกว่าถ้าเราไม่ตั้งสมมุติฐานตามอำเภอใจ[18]

ใกล้เคียง

ภาวะไม่รู้ใบหน้า ภาวะไม่รู้ความเคลื่อนไหว ภาวะไข้สูง ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส ภาวะไม่มีการสร้างของระบบท่อมุลเลอเรียน ภาวะไม่มีแกมมาโกลบูลินในเลือดที่ถ่ายทอดทางโครโมโซมเพศ ภาวะไม่ทนต่อฟรุกโทสกรรมพันธุ์ ภาวะไตเสื่อมมีน้ำคั่ง ภาวะไม่รู้ ภาวะไตวาย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะไม่รู้ใบหน้า http://www.nefy.ucl.ac.be/facecatlab/PDF/Mayer-Ros... http://articles.cnn.com/2007-02-02/health/face.bli... http://www.cnn.com/2007/HEALTH/conditions/02/02/fa... http://www.emedicine.com/NEURO/topic365.htm http://www.esquire.com/features/brad-pitt-cover-in... http://www.newyorker.com/reporting/2010/08/30/1008... http://pic.plover.com/prosopagnosia.pdf http://www.rahulgladwin.com/noteblog/neurology/not... http://www.martinagrueter.de/Grueter_et_al_2007cor... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3077885