สมมติฐานและเขตสมองที่เกี่ยวข้อง ของ ภาวะไม่รู้ใบหน้า

ภาวะบอดใบหน้าอาจจะมีเหตุมาจากรอยโรคในส่วนต่างๆ ของสมองกลีบท้ายทอยด้านล่าง (คือเขตรู้หน้าในสมองกลีบท้ายทอย) รอยนูนรูปกระสวย (เขตรับรู้หน้าในรอยนูนรูปกระสวย) และสมองกลีบขมับด้านหน้า[7] การสร้างภาพสมองด้วยโพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟีและ fMRI แสดงว่า ในผู้ที่ไม่มีภาวะไม่รู้หน้า เขตเหล่านี้จะเริ่มทำงานโดยตอบสนองต่อใบหน้าโดยเฉพาะ[3] เขตต่างๆ ในสมองกลีบท้ายทอยด้านล่าง โดยหลักมีบทบาทในการประมวลผลขั้นต้นๆ ของระบบการรู้หน้า และเขตต่างๆ ในสมองกลีบขมับด้านหน้าประสานข้อมูลเกี่ยวกับใบหน้า เสียง และชื่อของบุคคลที่คุ้นเคย[7]

ภาวะบอดใบหน้าที่เกิดขึ้นภายหลัง สามารถเกิดขึ้นได้เพราะความเสียหายทางประสาท ที่มีเหตุเกี่ยวเนื่องกับโรคหลอดเลือดสมองหลายๆ อย่าง รวมทั้งเนื้อตายเพราะหลอดเลือดในสมองด้านหลัง (posterior cerebral artery infarct) และการตกเลือดในด้านล่างด้านใน (infero-medial) ของรอยต่อสมองกลีบขมับและสมองกลีบท้ายทอย (temporo-occipital junction) เหตุเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นทั้งสองซีกสมอง หรือเพียงสมองซีกเดียวก็ได้ แต่ถ้าเกิดที่ซีกสมองเดียว ก็มักจะเกิดขึ้นในซีกขวาเกือบทุกกรณี[3] ภาวะบอดใบหน้าที่เกิดขึ้นภายหลัง สามารถเกิดขึ้นได้เพราะความเสียหายทางประสาท ที่มีเหตุเกี่ยวเนื่องกับโรคหลอดเลือดสมองหลายๆ อย่าง รวมทั้งเนื้อตายเพราะหลอดเลือดในสมองด้านหลัง (posterior cerebral artery infarct) และการตกเลือดในด้านล่างด้านใน (infero-medial) ของรอยต่อสมองกลีบขมับและสมองกลีบท้ายทอย (temporo-occipital junction) เหตุเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นทั้งสองซีกสมอง หรือเพียงสมองซีกเดียวก็ได้ แต่ถ้าเกิดที่ซีกสมองเดียว ก็มักจะเกิดขึ้นในซีกขวาเกือบทุกกรณี[3]

งานวิจัยเร็วๆ นี้ยืนยันว่า ความเสียหายต่อสมองซีกขวา ที่เขตรอยต่อของสมองกลีบขมับและสมองกลีบท้ายทอยที่กล่าวถึงนั้น เพียงพอที่จะก่อให้เกิดภาวะบอดใบหน้า คือ การสร้างภาพด้วย MRI ในคนไข้ภาวะบอดใบหน้า แสดงรอยโรคที่จำกัดอยู่ในสมองข้างขวา ในขณะที่การสร้างภาพด้วย fMRI แสดงว่าสมองซีกซ้ายทำงานเป็นปกติ[3]

รอยโรคที่รอยต่อของสมองกลีบขมับและสมองกลีบท้ายทอย (temporo-occipital junction) ซีกซ้ายข้างเดียว ก่อให้เกิดภาวะไม่รู้วัตถุ แต่ไม่มีผลต่อกระบวนการรู้จำใบหน้า แต่ว่า เพราะว่ามีบางกรณีที่ถูกบันทึกว่า ความเสียหายต่อสมองข้างซ้ายซีกเดียวก่อให้เกิดภาวะบอดใบหน้า จึงมีการเสนอว่า ความบกพร่องของการรู้จำใบหน้า ที่เกิดจากความเสียหายในสมองซีกซ้ายข้างเดียว เป็นเพราะมีความผิดปกติ ที่เข้าไปห้ามกระบวนการค้นคืนความจำเกี่ยวกับข้อมูลของบุคคล ที่ปรากฏอยู่ในสายตานั้น[7]

สมุฏฐานอย่างอื่นๆ ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยของภาวะบอดใบหน้ารวมทั้ง คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ การตัดสมองกลีบขมับทั้งกลีบ สมองอักเสบ เนื้องอก สมองกลีบขมับขวาฝ่อ ความบาดเจ็บ (trauma) โรคพาร์กินสัน และโรคอัลไซเมอร์[3]

ใกล้เคียง

ภาวะไม่รู้ใบหน้า ภาวะไม่รู้ความเคลื่อนไหว ภาวะไข้สูง ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส ภาวะไม่มีการสร้างของระบบท่อมุลเลอเรียน ภาวะไม่มีแกมมาโกลบูลินในเลือดที่ถ่ายทอดทางโครโมโซมเพศ ภาวะไม่ทนต่อฟรุกโทสกรรมพันธุ์ ภาวะไตเสื่อมมีน้ำคั่ง ภาวะไม่รู้ ภาวะไตวาย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะไม่รู้ใบหน้า http://www.nefy.ucl.ac.be/facecatlab/PDF/Mayer-Ros... http://articles.cnn.com/2007-02-02/health/face.bli... http://www.cnn.com/2007/HEALTH/conditions/02/02/fa... http://www.emedicine.com/NEURO/topic365.htm http://www.esquire.com/features/brad-pitt-cover-in... http://www.newyorker.com/reporting/2010/08/30/1008... http://pic.plover.com/prosopagnosia.pdf http://www.rahulgladwin.com/noteblog/neurology/not... http://www.martinagrueter.de/Grueter_et_al_2007cor... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3077885