ภาษากูย

ภาษากูย (อังกฤษ: Kuy) หรือ ภาษากวย (อังกฤษ: Kuay) เป็นตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก กลุ่มภาษามอญ-เขมร มีผู้พูดทั้งหมด 366,675 คน พบในไทย 300,000 คน (พ.ศ. 2535)[1] ในจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครราชสีมา ส่วนใหญ่พูดภาษาลาว ภาษาไทยถิ่นอีสาน ภาษาไทยหรือภาษาเขมรเหนือได้ด้วย พบในกัมพูชา 15,495 คน (พ.ศ. 2532) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือในจังหวัดพระวิหาร เสียมราฐ กำปงธม สตึงแตรง ส่วนใหญ่พูดภาษาเขมรได้ด้วย พบในลาว 51,180 คน (พ.ศ. 2543) ในแขวงสุวรรณเขต ส่วนใหญ่อยู่ตามริมแม่น้ำโขงในลาวภาคใต้ ภาษากูยเป็นภาษาที่ไม่มีวรรณยุกต์ ใช้ระบบน้ำเสียงแทน ในประเทศไทยมี 3 สำเนียงคือ ภาษากูย หรือ ภาษากวย มีอยู่ที่จังหวัดสุรินทร์ มีภาษาที่ใช้สนทนามี 2 สำเนียงคือ

ภาษากูย

ตระกูลภาษา
ระบบการเขียน ไม่มี
จำนวนผู้พูด 300,000 ในไทย 64,000 ในลาว
15,000 ในกัมพูชา ทั้งหมด 379,000 คน  (ไม่พบวันที่)
ISO 639-3 อย่างใดอย่างหนึ่ง:
kdt — Kuy (Kuay)
nyl — Nyeu (Yoe)
ประเทศที่มีการพูด ภาคอีสานตอนใต้ในไทย ทางเหนือของกัมพูชา ทางใต้ของลาว และเวียดนาม
ภาษาทางการ ไม่มี