สัทศาสตร์เชิงสังคม ของ ภาษาจีนฮกเกี้ยนสำเนียงไต้หวัน

ความผันแปรในแต่ละบริเวณ

ในไต้หวัน สำเนียงไทนานทางใต้ของไต้หวันเป็นสำเนียงหลัก สำเนียงอื่น ๆ ได้แก่ สำเนียงทางเหนือ สำเนียงภาคกลางและสำเนียงตามแนวชายฝั่งทางเหนือ ลักษระที่แตกต่างไปของสำเนียงตามแนวชายฝั่งคือการใช้สระ ‘uiⁿ’ แทนที่ ng สำเนียงทางเหนือแตกต่างไปโดยไม่มีเสียงวรรณยุกต์เสียงที่ 8 สำเนียงกลางเพิ่มเสียงสระ [ɨ] หรือ [ø]ซึ่งอยู่ระหว่าง i และ u

อิทธิพล

ประชาชนส่วนใหญ่ในไต้หวันพูดทั้งภาษาจีนกลางและภาษาไต้หวันทำให้มีอิทธิพลระหว่างกัน มีประชากรในไต้หวันประมาณ 20 - 30% ไม่สามารถพูดภาษาไต้หวันได้เลย ในขณะเดียวกันมีชาวไต้หวันประมาณ 10 - 20% ส่วนใหญ่เกิดก่อน พ.ศ. 2493 ไม่สามารถพูดภาษาจีนกลางได้เลย ชาวฮากกาในไต้หวันประมาณ 1/2 หนึ่งพูดภาษาไต้หวันได้ มีหลายครอบคัวที่เป็นเลือดผสมระหว่างฮากกา ฮกโล และชาวพื้นเมือง มีชาวไต้หวันจำนวนมากที่สามารถเข้าใจภาษาไต้หวันได้ดีกว่าการพูดภาษาไต้หวัน

โดยทั่วไปประชาชนจะใช้ภาษาจีนกลางในสถานะที่เป็นทางการ และใช้ภาษาไต้หวันในสถานะที่ไม่เป็นทางการ ภาษาไต้หวันจะใช้มากในเขตชนบท และใช้ภาษาจีนกลางมากในเขตเมือง คนอายุมากมีแนวโน้มใช้ภาษาไต้หวัน ในขณะที่วัยรุ่นมีแนวโน้มใช้ภาษาจีนกลาง สื่อต่าง ๆ เช่น วิทยุ ละครใช้ภาษาไต้หวัน ส่วนงานที่เป็นเอกสารใช้ภาษาจีนกลาง การสื่อสารทางการเมืองใช้ภาษาไต้หวันและภาษาจีนกลาง

ศิลปะและกวีนิพนธ์

ไฟล์:PiLiSuHuanJen.jpgPò͘-tē-hì, หุ่นกระบอกแบบไต้หวัน

Chhit-jī-á เป็นการเขียนกวีนิพนธ์ของภาษาไต้หวัน แต่ละวรรคมี 7 พยางค์ และมีรูปแบบเฉพาะสำหรับการแสดงละครเรียก koa-á-hì และหุ่นกระบอกแบบไต้หวันเรียก Pò͘-tē-hì

การแปลไบเบิล

สำเนาของการแปลไบเบิลเป็นภาษาอมอยของ Barclay ไบเบิลภาษาไต้หวันรูปแบบต่าง ๆ บนซ้าย, แบบToday’s Taiwanese ; บนขวา, ไบเบิลปกแดง; ล่าง, ฉบับแปลของ Barclayจากหนังสือไบเบิลปกแดง

เช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ การแปลไบเบิลเป็นภาษาไต้หวันมีลำดับขั้นของการจัดมาตรฐานภาษาและการออกเสียง การแปลไบเบิลเป็นภาษาอมอยหรือภาษาไต้หวันด้วยการออกเสียงแบบ pe̍h-ōe-jī โดยมิชชันนารีที่เข้ามาอยู่ในไต้หวัน James Laidlaw Maxwell ส่วนที่เป็นพันธสัญญาใหม่เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2416 ส่วนพันธสัญญาเก่าเผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2427

การแปลไบเบิลรุ่นต่อมาดำเนินการโดย Thomas Barclay ทั้งในมณฑลฝูเจี้ยนและไต้หวัน[1][2] ภาคพันธสัญญาใหม่แปลเป็นภาษาไต้หวันโดยสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2459 การแปลทั้งสองภาคเป็นภาษาไต้หวันโดยใช้การออกเสียงแบบ pe̍h-ōe-jī สำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2473 และตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2476 และได้ปริวรรตเป็นรูปที่ใช้อักษรจีนใน พ.ศ. 2539 [3]

การตีพิมพ์ไบเบิลปกแดงซึ่งใช้การออกเสียงแบบ pe̍h-ōe-jī ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2516 โดยใช้ศัพท์สมัยใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนกลาง การแปลเป็นภาษาไต้ไหวันโดยใช้รูปแบบอักษรโรมันปัจจุบันของไต้หวันตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2551[4] เฉพาะพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเก่ากำลังจัดพิมพ์[5]

การเมือง

ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 การใช้ภาษาไต้หวันร่วมกับสำเนียงอื่น ๆ ของภาษาจีนที่ไม่ใช่ภาษาจีนกลางถูกควบคุมโดยรัฐบาลก๊กมินตั๋งทั้งการใช้ในโรงเรียนและสื่อออกอากาศ การจำกัดถูกยกเลิกเมื่อ พ.ศ. 2533 เนื่องมีกระแสการสร้างความสำคัญของท้องถิ่น ภาษาจีนกลางยังคงเป็นภาษาสำคัญในโรงเรียน แต่ภาษาไต้หวันจะถูกสอนในโรงเรียนในฐานะภาษาแม่ ซึ่งเลือกได้ระหว่างภาษาไต้หวัน ภาษาฮากกา และภาษาของชาวพื้นเมือง การรณรงค์ให้ใช้ภาษาไต้หวันมากกว่าภาษาจีนกลางเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการไต้หวันเอกราชในอดีต แต่ความเชื่อมโยงระหว่างการเมืองกับภาษาในปัจจุบันลดน้อยลง ผลทางการเมืองของการใช้ภาษาไต้หวันมีทั้งเพื่อการเรียกร้องเอกราช และความเป็นหนึ่งเดียวกันของไต้หวัน การใช้ภาษาไต้หวันเพื่อการเรียกร้องเอกราชได้ลดลงเพราะต้องการควมร่วมมือจากชาวจีนแผ่นดินใหญ่และชาวฮากกา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาจีนฮกเกี้ยนสำเนียงไต้หวัน http://203.64.42.21/iug/ungian/SoannTeng/chil/taih... http://johangijsen.blogspot.com/ http://www.ethnologue.com/show_language.asp?code=C... http://www.ethnologue.com/show_language.asp?code=n... http://www.glossika.com/en/dict/taiwanese/index.ph... http://lomaji.com/poj/faq/ITASA_2001_Resources.pdf http://tailingua.com/ http://travlang.com/languages/cgi-bin/langchoice.c... http://taiwanesegrammar.wordpress.com/ http://taiwanesevocabulary.wordpress.com/