ภาษาซีรีแอก
ภาษาซีรีแอก

ภาษาซีรีแอก

ภาษาซีรีแอก (อังกฤษ: Syriac language; ซีรีแอก: ܣܘܪܝܝܐ Suryāyā) เป็นสำเนียงตะวันออกของภาษาแอราเมอิก ใช้พูดในกลุ่มชาวคริสต์ ที่อยู่ระหว่างจักรวรรดิโรมันและเปอร์เซีย ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1 –12 ปัจจุบันยังคงใช้ในทางศาสนา โดยผู้พูดภาษาแอราเมอิกใหม่ในซีเรีย และใช้ในโบสถ์คริสต์ของชาวซีเรีย ในรัฐเกรละ ประเทศอินเดีย เป็นภาษาทางศาสนาในตะวันออกกลางในช่วงพุทธศตวรรษที่ 7 – 13 [1] ความหมายอย่างกว้างหมายถึงภาษาแอราเมอิกตะวันออกทั้งหมดที่ใช้ในหมู่ชาวคริสต์ ความหมายอย่างจำเพาะเจาะจงหมายถึงภาษาคลาสสิกของอีเดสซา ซึ่งเป็นภาษาทางศาสนาของชาวซีรีแอกที่นับถือศาสนาคริสต์ และกลายเป็นสื่อในการเผยแพร่วัฒนธรรมและศาสนาคริสต์จากทางเหนือไปสู่มาลาบาร์ และจากทางตะวันออกไปถึงจีนเคยใช้เป็นภาษากลางระหว่างชาวอาหรับกับชาวเปอร์เซียก่อนจะถูกแทนที่ด้วยภาษาอาหรับเมื่อ พุทธศตวรรษที่ 13

ภาษาซีรีแอก

ตระกูลภาษา
ออกเสียง /surˈjɑjɑ/ (ตะวันออก), /surˈjɔjɔ/ (ตะวันตก)
ระบบการเขียน อักษรซีรีแอก
จำนวนผู้พูด 1 500,000 คน  (ไม่พบวันที่)
ISO 639-3 มีหลากหลาย:
syr — ภาษาซีรีแอก (ทั่วไป)
syc — ภาษาซีรีแอก (คลาสสิก)
aii — ภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรีย
bhn — ภาษาแอราเมอิกใหม่โบห์ตัน
cld — ภาษาแอราเมอิกใหม่คัลเดีย
lhs — ภาษามลาโซ
kqd — ภาษากอย ซันจัก ซูรัต
syn — ภาษาเซนายา
tru — ภาษาตูโรโย
ISO 639-2 syr
ภาษาทางการ อิรัก (บริเวณที่มีชาวอัสซีเรียเป็นชนส่วนใหญ่)
ประเทศที่มีการพูด อาร์มีเนีย, อาเซอร์ไบจาน, จอร์เจีย, อิหร่าน, อิรัก, เลบานอน, ปาเลสไตน์, อิสราเอล, ซีเรีย, ตุรกี, รัฐเกราลา, อินเดีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาซีรีแอก http://www.assyrianlanguage.com/ http://www.ethnologue.com/show_language.asp?code=s... http://www.gorgiaspress.com/bookshop/c-7-syriac.as... http://www.morephrem.com/catalog_Dayro.htm http://www.omniglot.com/writing/syriac.htm http://www.premiumwanadoo.com/cuneiform.languages/... http://syrcom.cua.edu/hugoye/ http://www.beith-morounoye.org/syriac/index1.html http://www.bethmardutho.org/ http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=a...