การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ ของ ภาษาทมิฬ

การแพร่กระจายของผู้พูดภาษาทมิฬในอินเดียใต้และศรีลังกา (พ.ศ. 2504)

ภาษาทมิฬเป็นภาษาหลักในรัฐทมิฬนาฑูของอินเดียและจังหวัดตะวันออกเฉียงเหนือของศรีลังกา และใช้พูดโดยชนกลุ่มเล็ก ๆ ในพื้นที่อื่นๆของทั้งสองประเทศนี้ เช่น รัฐกรณาฏกะ รัฐเกรละ รัฐอานธรประเทศ และรัฐมหาราษฏระของอินเดีย รวมทั้งโคลอมโบและทางตะวันออกของศรีลังกา

จากการอพยพของสมัยอาณานิคมทำให้ปัจจุบันมีผู้พูดภาษาทมิฬกระจายไปในหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย [2] ไทย [3] มาเลเซีย สิงคโปร์ พม่า เวียดนาม แอฟริกาใต้ และมอริเชียส นอกจากนั้นยังพบบ้างในกายอานา ฟีจี ซูรินาม ตรินิแดดและโตเบโก คนเหล่านี้เป็นคนที่พูดภาษาทมิฬมาก่อน[4] แต่ปัจจุบันเริ่มหันไปพูดภาษาอื่น และยังมีผู้อพยพจากอินเดียและศรีลังกาไปอยู่ที่แคนาดา สหรัฐ ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง และยุโรปตะวันตกสถานะทางกฎหมายภาษาทมิฬเป็นภาษาราชการของรัฐทมิฬนาฑู เป็นภาษาราชการร่วมในสหภาพพอนดิเชอรี[5] และหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ [6] เป็นหนึ่งในภาษาประจำชาติ 23 ภาษาของอินเดีย เป็นภาษาราชการร่วมของศรีลังกาและสิงคโปร์ ในมาเลเซียมีโรงเรียนประถมศึกษา 543 แห่งสอนเป็นภาษาทมิฬ[7]

เมื่อ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ดร. อับดุล กาลัมประธานาธิบดีอินเดียได้ประกาศยอมรับให้ภาษาทมิฬเป็นภาษาคลาสสิกของอินเดีย[8][9][10]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาทมิฬ http://books.google.com/books?id=2Qwf3pAxJpUC&pg=P... http://www.hindu.com/2005/10/28/stories/2005102809... http://www.languageinindia.com/feb2004/multilingua... http://www.languageinindia.com/feb2007/northeaster... http://www.languageinindia.com/nov2004/tamilglobal... http://www.lib.berkeley.edu/SSEAL/SouthAsia/overvi... http://ccat.sas.upenn.edu/~haroldfs/540/handouts/s... http://ccat.sas.upenn.edu/~haroldfs/messeas/diglos... http://news.bbc.co.uk/2/hi/south_asia/3667032.stm