ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียน ของ ภาษาทมิฬ

ภาษาทมิฬมีรูปแบบที่แตกต่างกันหลายแบบ เช่น รูปแบบวรรณคดีคลาสสิกที่มาจากภาษายุคโบราณ (สันกัตตามิฬ) รูปแบบการเขียนสมัยใหม่และเป็นทางการ (เจนตามิฬ) และรูปแบบสมัยใหม่สำหรับการพูด (โกฎูนตามิฬ) แต่ละรูปแบบอาจมีลักษณะร่วมกัน เช่น เป็นไปได้ที่จะเขียนแบบเจนตามิฬโดยใช้รูปศัพท์ที่ต่ำกว่า เรียกเจญกัตตามิฬ หรือใช้รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับสำเนียงใดสำเนียงหนึ่งกับโกฎูนตามิฬ [11]


ในปัจจุบัน เจนตามิฬเป็นรูปแบบที่ใช้ทั่วไปในการเขียนและพูดอย่างเป็นทางการและเป็นภาษาในตำรา โกฎูนตามิฬเป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และเริ่มนำมาใช้ในภาพยนตร์และการหาเสียงของนักการเมืองทำให้เกิดการพูดแบบมาตรฐานที่ไม่เป็นทางการขึ้น ในอินเดีย มาตรฐานของโกฎูนตามิฬขึ้นกับการพูดของผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์และระดับการศึกษา[12] แต่ได้รับอิทธิพลจากสำเนียงธันชวูร์และมาดูไร ส่วนในศรีลังกามาตรฐานขึ้นกับสำเนียงจาฟนา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาทมิฬ http://books.google.com/books?id=2Qwf3pAxJpUC&pg=P... http://www.hindu.com/2005/10/28/stories/2005102809... http://www.languageinindia.com/feb2004/multilingua... http://www.languageinindia.com/feb2007/northeaster... http://www.languageinindia.com/nov2004/tamilglobal... http://www.lib.berkeley.edu/SSEAL/SouthAsia/overvi... http://ccat.sas.upenn.edu/~haroldfs/540/handouts/s... http://ccat.sas.upenn.edu/~haroldfs/messeas/diglos... http://news.bbc.co.uk/2/hi/south_asia/3667032.stm