ภาษาปัญจาบ
ภาษาปัญจาบ

ภาษาปัญจาบ

ภาษาปัญจาบ หรือ ปัญจาบี หรือ ปัญชาพี (อักษรคุรมุขี: ਪੰਜਾਬੀ Paṁjābī ,อักษรชาห์มุขี: پنجابی Panjābī ) เป็นภาษาของชาวปัญจาบ และภูมิภาคปัญจาบของประเทศอินเดีย และประเทศปากีสถานภาษาปัญจาบเป็นภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียน ในกลุ่มย่อยอินโด-อิเรเนียน เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยุโรเปียนภาษาเดียวที่เป็นภาษาวรรณยุกต์ ซึ่งวรรณยุกต์เกิดจากการออกเสียงพยัญชนะชุดต่าง ๆ ด้วยเสียงสูงต่ำที่ต่างกัน ในเรื่องของความซับซ้อนของรูปศัพท์ เป็นภาษาที่ใช้คำประกอบ (agglutinative language) [1]และมักจะเรียงคำตามลำดับ 'ประธาน กรรม กิริยา'ชาวปัญจาบได้ถูกแบ่งระหว่างอินเดียและปากีสถานระหว่างการแบ่งอินเดียเมื่อพ.ศ. 2490 อย่างไรก็ดี ภาษาและวัฒนธรรมปัญจาบมักเป็นปัจจัยที่ทำให้ชาวปัญจาบอยู่รวมกันไม่ว่าจะสัญชาติหรือศาสนาใด มีชาวปัญจาบอพยพจำนวนมากในหลายประเทศเช่น สหรัฐ ออสเตรเลีย อังกฤษ แคนาดา ภาษาปัญจาบเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ของชาวสิกข์ที่ใช้เขียนวรรณกรรมทางศาสนา เป็นภาษาที่ใช้ในดนตรีภันคระที่แพร่หลายในเอเชียใต้

ภาษาปัญจาบ

ภูมิภาค ภูมิภาคปัญจาบ
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียน คุรมุขี (Gurmukhi), ชาห์มุขี (Shahmukhi)
จำนวนผู้พูด ตะวันตก: 61-62 ล้าน
ตะวันออก: 28 ล้าน
สิไรกิ: 14 ล้าน
ทั้งหมด: 104 ล้าน  (ไม่พบวันที่)
ISO 639-1 pa
ISO 639-3 มีหลากหลาย:
pan — ภาษาปัญจาบ (ทั่วไป)
pnb — ภาษาปัญจาบ (ตะวันตก)
pmu — ภาษาปัญจาบ (มีรปุรี)
lah — ภาษาลาห์นดิ
ISO 639-2 pan
ภาษาทางการ ปัญจาบ (อินเดีย) จันทคฤห์ เดลี
ประเทศที่มีการพูด ปากีสถาน อินเดีย และประเทศอื่น ๆ ที่มีผู้อพยพชาวปัญจาบ