ภาษามลายู
ภาษามลายู

ภาษามลายู

อักษรไทย (ในไทย)ภาษามลายู (มลายู: Bahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ. 2552)[2] โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวักและกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวันในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตนภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูเรียว (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัสซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม

ภาษามลายู

ตระกูลภาษา
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน อินโดนีเซีย
(ภาษามลายูถิ่นมีฐานะเป็นภาษาประจำภูมิภาคในเกาะสุมาตรา นอกเหนือจากภาษาอินโดนีเซียที่ใช้เป็นภาษามาตรฐานแห่งชาติ)
รูปแบบมาตรฐาน
ผู้วางระเบียบ สถาบันภาษาและวรรณกรรม (มาเลเซีย)
สำนักงานพัฒนาและส่งเสริมภาษา (อินโดนีเซีย)
สภาภาษาบรูไน–อินโดนีเซีย–มาเลเซีย (ความร่วมมือสามฝ่าย)
ระบบการเขียน อักษรละติน (อักษรมลายู/รูมี)
อักษรอาหรับ (อักษรยาวี)[3]

อักษรไทย (ในไทย)

เดิมใช้อักษรปัลลวะ, อักษรกวิ, อักษรเร็นจง
Linguasphere 31-MFA-a
รูปแบบก่อนหน้า
จำนวนผู้พูด 77 ล้านคน  (2550)[1]
ทั้งหมด : 200–250 ล้านคน (2552)[2]
ISO 639-1 ms
ISO 639-3 msaรหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
zlm — ภาษามลายูมาเลเซีย
zsm — ภาษามาเลเซีย
ind — ภาษาอินโดนีเซีย
lrt — ภาษามลายูลารันตูกา ?
kxd — ภาษามลายูบรูไน ?
meo — ภาษามลายูเกอดะฮ์ ?
zmi — ภาษามีนังกาเบา
dup — ภาษาดัวโน ?
jak — ภาษาจากุน ?
orn — ภาษาโอรังกานะก์ ?
ors — ภาษาโอรังเซอเลตาร์ ?
tmw — ภาษาเตอมวน ?
ISO 639-2 may (B)
msa (T)
ภาษาทางการ  บรูไน
 มาเลเซีย (ในฐานะภาษามาเลเซีย)
 สิงคโปร์
 อินโดนีเซีย (ในฐานะภาษาอินโดนีเซีย)
 หมู่เกาะโคโคส (ดินแดนของ  ออสเตรเลีย)
ประเทศที่มีการพูด

ใกล้เคียง

ภาษามลายู ภาษามลายูปัตตานี ภาษามลายูมาเลเซีย ภาษามลายูบางกอก ภาษามลายูเกอดะฮ์ ภาษามลายูบรูไน ภาษามลายูรีเยา ภาษามลายูเนอเกอรีเซิมบีลัน ภาษามลายูนาตูนา ภาษามลายูบ้าบ๋า

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษามลายู http://ipll.manoa.hawaii.edu/indonesian/2012/03/10... http://thestar.com.my/news/story.asp?file=/2008/8/... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=d... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=i... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=j... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=k... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=l... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=m... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=o... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=o...