ไวยากรณ์ ของ ภาษามลายู

ภาษามลายูเป็นภาษารูปคำติดต่อ การสร้างคำใหม่ทำได้ 3 วิธีคือ ลงวิภัติปัจจัยที่รากศัพท์ สร้างคำประสมหรือซ้ำคำ

หน่วยคำเติม

รากศัพท์ที่เติมหน่วยคำเติมเป็นได้ทั้งคำนามและคำกริยา ตังอย่างเช่น masak (ทำอาหาร) เป็น memasak (กำลังทำอาหาร) memasakkan (ทำอาหารเพื่อ) dimasak (ทำอาหาร-รูปถูกกระทำ) และ pemasak (ผู้ทำอาหาร) บางครั้งมีการเปลี่ยนเสียงพยัญชนะตัวแรกเมื่อเติมคำอุปสรรคหน้ารากศัพท์ เช่น sapu (กวาด) เป็น penyapu (ไม้กวาด) panggil (เรียก) เป็น memanggil (กำลังเรียก)

ตัวอย่างการใช้หน่วยคำเติมเพื่อเปลี่ยนความหมายของคำได้แก่การผันคำว่า ajar (สอน)

  • ajaran = คำสั่งสอน
  • belajar = กำลังเรียน
  • mengajar = สอน
  • diajar = (บางสิ่ง) กำลังถูกสอน
  • diajarkan = (บางคน) กำลังถูกสอน (เกี่ยวกับบางสิ่ง)
  • mempelajari = เรียน (บางอย่าง)
  • dipelajari = กำลังถูกศึกษา
  • pelajar = นักเรียน
  • pengajar = ครู
  • pelajaran = วิชาเรียน
  • pengajaran = บทเรียน
  • pembelajaran = การเรียนรู้
  • terpelajar = ถูกศึกษา
  • berpelajaran = มีการศึกษาดี

หน่วยคำเติมมี 4 ชนิดคือ อุปสรรค (awalan) ปัจจัย (akhiran) อุปสรรค+ปัจจัย (apitan) และอาคม (sisipan) หน่วยคำเติมเหล่านี้แบ่งเป็น 3 กลุ่มตามหน้าที่คือ ทำให้เป็นนาม กริยา และคุณศัพท์

หน่วยคำเติมสร้างคำนาม เปลี่ยนรากศัพท์ให้เป็นคำนาม ตัวอย่างแสดงในตารางข้างล่าง

ชนิดของปัจจัยหน่วยคำเติมตัวอย่างรากศัพท์ตัวอย่างคำที่ได้
อุปสรรคpe(N)-duduk (นั่ง)penduduk (ประชากร)
ke-hendak (ต้องการ)kehendak (ความต้องการ)
อาคม-el-tunjuk (ชี้)telunjuk (คำสั่ง)
-em-kelut (ยุ่งเหยิง)kemelut (วิกฤติ)
-er-gigi (ฟัน)gerigi (toothed blade)
ปัจจัย-anbangun (ยกขึ้น)bangunan (ตึก)
อุปสรรค+ปัจจัยke-...-anraja (กษัตริย์)kerajaan (ราชอาณาจักร/ราชการ/รัฐบาล)
pe(N)-...-ankerja (ทำงาน)pekerjaan (อาชีพ)

หน่วยคำเติมสร้างคำกริยา เปลี่ยนรากศัพท์ให้เป็นคำกริยา ตัวอย่างแสดงในตารางข้างล่าง

ชนิดของปัจจัยหน่วยคำเติมตัวอย่างรากศัพท์ตัวอย่างคำที่ได้
อุปสรรคbe(R)-ajar (สอน)belajar (เรียน) - Intransitive
me(N)-tolong (ช่วย)menolong (ช่วย) - Active transitive
di-ambil (นำไป)diambil (ถูกนำไป) - Passive transitive
mempe(R)-kemas (เป็นลำดับ)memperkemas (จัดเรียงต่อไป)
dipe(R)-dalam (ลึก)diperdalam (ลึกลงไป)
te(R)-makan (กิน)termakan (ถูกกินทันทีทันใด)
ปัจจัย-kanletak (เก็บ)letakkan (เก็บ) - คำสั่ง
-ijauh (ไกล)jauhi (หลีกเลี่ยง) - คำสั่ง
อุปสรรค+ปัจจัยbe(R)-...-anpasang (ซ่อม)berpasangan (ถูกซ่อม)
be(R)-...-kantajuk (หัวข้อ)bertajukkan (ถูกตั้งหัวข้อ)
me(N)-...-kanpasti (แน่นอน)memastikan (มั่นใจ)
me(N)-...-iteman (companion)menemani (to accompany)
mempe(R)-...-kanguna (ใช้)mempergunakan (to misuse, to utilise)
mempe(R)-...-iajar (teach)mempelajari (to study)
ke-...-anhilang (หายไป)kehilangan (หาย)
di-...-isakit (เจ็บ)disakiti (เจ็บปวด)
di-...-kanbenar (ถูก)dibenarkan (ถูกอนุญาต)
dipe(R)-...-kankenal (จำได้)diperkenalkan (ถูกแนะนำ)

หน่วยคำเติมสร้างคำคุณศัพท์ เปลี่ยนรากศัพท์ให้เป็นคำคุณศัพท์ ตัวอย่างแสดงในตารางข้างล่าง:

ชนิดของปัจจัยAffixตัวอย่างรากศัพท์ตัวอย่างคำที่ได้
อุปสรรคte(R)-kenal (รู้จัก)terkenal (มีชื่อเสียง)
se-bijak (ฉลาด)sebijak (ฉลาดเท่ากับ)
อาคม-el-serak (disperse)selerak (messy)
-em-cerlang (radiant bright)cemerlang (bright, excellent)
-er-sabut (husk)serabut (ยุ่งเหยิง)
อุปสรรค+ปัจจัยke-...-anbarat (ตะวันตก)kebaratan (ทำให้เป็นทั่วไป)

ภาษามลายูมีปัจจัยที่ยืมจากภาษาอื่นเช่น ภาษาสันสกฤต ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ เช่น maha- juru- pasca- eka- anti- pro-

คำประสม

คำประสมเกิดจากการรวมคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปเข้าด้วยกัน ซึ่งคำเหล่านี้ปกติจะเขียนแยกกันในประโยค คำประสมนี้อาจรวมกันได้โดยตรง หรือมีปัจจัยเชื่อมคำเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น kereta หมายถึงรถ และ api หมายถึงไฟ รวมกันเป็น kereta api หมายถึงรถไฟkita หมายถึง เราkasih " รักkamu "คุณรวมกันเป็น เรารักคุณ

การซ้ำคำ

การซ้ำคำในภาษามลายูมี 4 แบบคือ ซ้ำทั้งหมด ซ้ำบางส่วน ซ้ำเป็นจังหวะ และซ้ำโดยความหมาย

ลักษณนาม

ภาษามลายูมีการใช้ลักษณนามเช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ ในเอเชีย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม และภาษาเบงกอล

คำหน้าที่

มี 16 ชนิด เป็นคำที่มีหน้าที่ทางไวยากรณืในประโยค ได้แก่ คำสันธาน คำบุพบท คำปฏิเสธ และคำอื่น ๆ

คำปฏิเสธ

คำที่แสดงการปฏิเสธในภาษามลายูมี 2 คำ คือ bukan และ tidak bukan ใช้ปฏิเสธนามวลีและบุพบท ส่วน tidak ใช้ปฏิเสธคำกริยาและวลีคุณศัพท์

ประธานคำปฏิเสธการบ่งชี้
Lelaki yang berjalan dengan Fazila itu
(เด็กชายคนนั้นที่กำลังเดินกับฟาซีลา)
bukan
(ไม่ใช่)
teman lelakinya
(แฟนของหล่อน)
Surat itu
(จดหมายฉบับนั้น)
bukan
(ไม่ได้)
daripada teman penanya di Perancis
(มาจากญาติของเขาในฝรั่งเศส)
Pelajar-pelajar itu
(นักเรียนเหล่านั้น)
tidak
(ไม่)
mengikuti peraturan sekolah
(เชื่อฟังกฎของโรงเรียน)
Penguasaan Bahasa Melayunya
(คำสั่งของเขาในภาษามลายู)
tidak
(ไม่)
sempurna
(สมบูรณ์)

คำ bukan อาจใช้นำหน้า กริยาและวลีคุณศัพท์ได้ ถ้าประโยคนั้นแสดงความขัดแย้ง

ประธานการปฏิเสธการทำนายความขัดแย้ง
Karangannya
(เรียงความของเขา)
bukan
(ไม่)
baik sangat,
(ดีมาก)
tetapi dia mendapat markah yang baik
(แต่เขาได้คะแนนดี)
Kilang itu
(โรงงาน)
bukan
(ไม่)
menghasilkan kereta Kancil,
(ผลิตรถ Kancil )
sebaliknya menghasilkan Proton Wira
(แต่ผลิต Proton Wira แทน)

เพศทางไวยากรณ์

โดยทั่วไปไม่มีการแบ่งเพศ มีเพียงบางคำที่มีการแบ่งเพศตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น adik หมายถึงน้องโดยไม่แบ่งเพศ adik laki-laki หมายถึงน้องชายซึ่งไม่ตรงกับ"brother" ในภาษาอังกฤษ คำที่แบ่งเพศ เช่น puteri (เจ้าหญิง)และ putera (เจ้าชาย)

การทำให้เป็นพหูพจน์

โดยทั่วไปการแสดงพหูพจน์ใช้การซ้ำคำ ตัวอย่างเช่น ถ้วย 1 ใบ ใช้ cawan ถ้วยหลายใบใช้cawan-cawan แต่ลดรูปเหลือ cecawan แต่บางคำมีข้อยกเว้นเช่น orang หมายถึงบุคคลแต่คำว่าประชาชนไม่ใช้ orang-orang แต่ใช้คำว่า rakyat แต่ถ้าหมายถึงคนหลายคนหรือคนเยอะใช้คำว่า ramai orang ,คน 1 พันคนใช้ seribu orang ซึ่งเป็นการใช้คำแสดงจำนวนแสดงรูปพหูพจน์

นอกจากใช้แสดงพหูพจน์แล้ว การซ้ำคำยังใช้สร้างคำใหม่ด้วย เช่น hati หมายถึงหัวใจหรือตับแล้วแต่บริบท hati-hati หมายถึงระวัง และมักใช้เป็นคำกริยา การซ้ำคำนี้ถือเป็นเรื่องยากสำหรับชาวต่างชาติที่เรียนภาษามลายู

คำกริยา

ไม่มีการผันคำกริยาตามกาลหรือจำนวน ไม่มีเครื่องหมายแสดงกาล แต่มักบอกกาลโดยใช้คำกริยาวิเศษณ์แทน (เช่นเมื่อวานนี้) หรือตัวบ่งกาล เช่น sudah (พร้อมแล้ว) แต่ภาษามลายูมีระบบคำกริยาที่ซับซ้อนของปัจจัยเพื่อแสดงความหมายที่ต่างกันเล็กน้อยรวมทั้งแสดงผู้กระทำ ปัจจัยบางตัวถูกยกเว้นไม่ใช้ในการสนทนา

การเรียงลำดับคำ

โดยทั่วไปเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม คำคุณศัพท์ คำสรรพนามชี้เฉพาะและสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของตามหลังคำนามที่ขยาย

ใกล้เคียง

ภาษามลายู ภาษามลายูปัตตานี ภาษามลายูมาเลเซีย ภาษามลายูบางกอก ภาษามลายูเกอดะฮ์ ภาษามลายูบรูไน ภาษามลายูรีเยา ภาษามลายูเนอเกอรีเซิมบีลัน ภาษามลายูนาตูนา ภาษามลายูบ้าบ๋า

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษามลายู http://ipll.manoa.hawaii.edu/indonesian/2012/03/10... http://thestar.com.my/news/story.asp?file=/2008/8/... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=d... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=i... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=j... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=k... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=l... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=m... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=o... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=o...