ภาษามลายูปัตตานี

ภาษามลายูปัตตานี หรือ ภาษามลายูปาตานี (มลายูปัตตานี: บาซอนายูตานิง; มลายู: Bahasa Melayu Patani, อักษรยาวี: بهاس ملاي ڤطاني) หรือนิยมเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ภาษายาวี (มลายูปัตตานี: บาซอญฺวี, บอซอยาวี, อักษรยาวี: بهاس جاوي) เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเซียนที่พูดโดยชาวไทยเชื้อสายมลายูในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา รวมทั้งในอำเภอนาทวี อำเภอจะนะ อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย ทางทิศตะวันออกของจังหวัดสงขลา (ไม่รวมจังหวัดสตูล) และในเขตฮูลูเประในรัฐเประของมาเลเซียในประเทศไทยมีประชากรที่พูดภาษานี้มากกว่า 1 ล้านคน ภาษานี้ใกล้เคียงมากกับภาษามลายูถิ่นในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่แตกต่างจากส่วนที่เหลือของประเทศมาเลเซีย บางครั้งก็มีการเรียกรวมกันเป็นภาษาเดียวกันว่า ภาษามลายูกลันตัน-ปัตตานี (มลายูปัตตานี: บาซอนายูกือลาแต-ตานิง, กลันตัน: Baso nayu Kelate-Taning)

ภาษามลายูปัตตานี

ภูมิภาค จังหวัดปัตตานี, นราธิวาส, ยะลา บางส่วนของสงขลา และบางส่วนของรัฐเประ (อาจจรวมถึงรัฐกลันตัน)
ตระกูลภาษา
ออกเสียง /baˈsɔ ˈnːaju ˈtːaniŋ/
ระบบการเขียน อักษรยาวี, อักษรไทย,[1] อักษรโรมัน
จำนวนผู้พูด 1 ล้านคน[1]  (2549)
ISO 639-3 mfa (Pattani)
ประเทศที่มีการพูด ไทย