ประเภทของการศึกษาภาษาศาสตร์ ของ ภาษาศาสตร์

การศึกษาด้านภาษาศาสตร์สามารถแบ่งออกได้หลายมุมมอง ได้แก่

ภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์ (Dichotomies and language) แบ่งได้เป็น
  • การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์เน้นเฉพาะยุคสมัย (synchronic study) เป็นการศึกษาคุณสมบัติทางภาษาศาสตร์ (linguistic feature) ของภาษาในช่วงยุคสมัยต่าง ๆ
  • ภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ (diachronic study) เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ของภาษาและกลุ่มของภาษา และความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่เกิดขึ้นในยุคต่าง ๆ
ภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎีและเชิงประยุกต์
  • ภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎี (หรือภาษาศาสตร์ทั่วไป) จะเป็นการกำหนดอรรถาธิบายให้กับภาษาแต่ละภาษา และกำหนดทฤษฎีเกี่ยวกับมุมมองต่าง ๆ ของภาษาให้ครอบคลุม
  • ภาษาศาสตร์เชิงประยุกต์จะเป็นการประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางภาษาศาสตร์ต่าง ๆ กับงานด้านอื่น ๆ
ภาษาศาสตร์แบบพึ่งพาบริบทและแบบไม่พึ่งพาบริบท (Contextual and Independent Linguistics)
  • ภาษาศาสตร์แบบพึ่งพาบริบท เป็นการสร้างอรรถาธิบายเกี่ยวกับการใช้ภาษาโดยมนุษย์ เช่น หน้าที่เชิงสังคมในภาษา วิธีการใช้งานภาษา และวิธีการสร้างและรับรู้ภาษาของมนุษย์
  • ภาษาศาสตร์แบบไม่พึ่งพาบริบท เป็นการศึกษาที่ตัวภาษาเอง โดยไม่พิจารณาปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตามคำทั้งสองนี้ยังไม่มีการแบ่งแยกอย่างชัดเจน ในหนังสือ สารานุกรมบริทานิกา (Encyclopædia Britannica) จึงใช้คำว่า ภาษาศาสตร์มหภาค (macrolinguistics) และภาษาศาสตร์จุลภาค (microlinguistics) แทน

จากมุมมองต่าง ๆ เหล่านี้ นักภาษาศาสตร์ หรือนักภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎี โดยทั่วไป มักจะศึกษาภาษาศาสตร์แบบไม่พึ่งพาบริบท ในเชิงทฤษฎี เฉพาะยุคสมัย (independent theoretical synchronic linguistics) ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเป็นแก่นของวิชาภาษาศาสตร์

ผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ได้ตั้งประเด็นคำถามและทำวิจัยทางด้านภาษาศาสตร์ไว้อย่างกว้างขวาง ซึ่งบางประเด็นก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ดังที่ รัส ไรเมอร์ (Russ Rymer) ได้กล่าวเอาไว้อย่างละเอียดว่า

"ภาษาศาสตร์เป็นทรัพย์สินที่มีการโต้เถียงกันอย่างเผ็ดร้อนที่สุดโดยหาจุดยุติไม่ได้ในวงการวิชาการ ภาษาศาสตร์โชกชุ่มไปด้วยหยาดโลหิตของนักกวี นักศาสนวิทยา นักปรัชญา นักภาษาโบราณ นักจิตวิทยา นักชีววิทยา และนักประสาทวิทยา รวมทั้งเลือดของนักไวยากรณ์เท่าที่จะสามารถเอาออกมาได้"

(Linguistics is arguably the most hotly contested property in the academic realm. It is soaked with the blood of poets, theologians, philosophers, philologists, psychologists, biologists, and neurologists, along with whatever blood can be got out of grammarians.) 1

ใกล้เคียง

ภาษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ ภาษาศาสตร์สังคม ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ ภาษาศาสตร์จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา