แขนงวิชาของภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎี ของ ภาษาศาสตร์

บ่อยครั้ง ภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎีสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายแขนง บางแขนงสามารถศึกษาได้โดยอิสระ บางแขนงก็ต้องศึกษาควบคู่กับแขนงอื่น อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ภาษาศาสตร์เชิงทฤษฎีสามารถแบ่งออกเป็นแขนงต่าง ๆ ได้ดังนี้

  • สัทศาสตร์ (Phonetics) เป็นการศึกษาเสียงต่าง ๆ ซึ่งใช้ร่วมกันในภาษามนุษย์ทุกภาษา
  • สัทวิทยา (Phonology) เป็นการศึกษารูปแบบเสียงพื้นฐานของภาษา
  • วิทยาหน่วยคำ (Morphology linguistics) เป็นการศึกษาโครงสร้างภายในของคำและการเปลี่ยนรูปของคำ
  • วากยสัมพันธ์ (Syntax) เป็นการศึกษาการประกอบคำขึ้นเป็นประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
  • อรรถศาสตร์ (Semantics) เป็นการศึกษาความหมายของคำ (lexical semantics) และวิธีการประกอบคำขึ้นเป็นประโยคเพื่อสื่อความหมาย
  • วัจนปฏิบัติศาสตร์ (Pragmatics) เป็นการศึกษาวิธีการใช้ถ้อยความ (utterance) เพื่อสื่อความหมายในการสื่อสาร เช่น แบบตรงตัว (literal pragma) แบบอุปมาอุปไมย (figurative pragma) ฯลฯ
  • ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ (Historical linguistics) เป็นการศึกษาภาษาต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันในเชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากความใกล้เคียงของคำศัพท์ การสร้างคำ และวากยสัมพันธ์
  • แบบลักษณ์ภาษา (Linguistic typology) เป็นการศึกษาคุณสมบัติทางไวยากรณ์ที่ใช้อยู่ในภาษาต่าง ๆ
  • วัจนลีลาศาสตร์ (Stylistics linguistics) เป็นการศึกษาลีลาในการใช้ภาษา

อย่างไรก็ตาม ความสำคัญเฉพาะของแขนงต่าง ๆ ก็ยังไม่เป็นที่ทราบโดยทั่วกัน และนักภาษาศาสตร์ทุกท่านก็เห็นพ้องกันว่า การแบ่งแขนงแบบดังกล่าวยังคงมีขอบเขตซ้อนทับกันอยู่มาก ถึงกระนั้น แขนงย่อยก็ยังคงมีคอนเซ็ปต์แก่นซึ่งสนับสนุนการตั้งประเด็นปัญหาและการวิจัยของผู้ชำนาญการได้เป็นอย่างดี

ใกล้เคียง

ภาษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย ภาษาศาสตร์สังคม ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ ภาษาศาสตร์จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา