ภาษาศาสตร์สังคม

ภาษาศาสตร์สังคม (อังกฤษ: sociolinguistics) คือการศึกษาเชิงพรรณนาเกี่ยวกับผลกระทบของแง่มุมใด ๆ ทั้งหมดของสังคม (รวมถึงบรรทัดฐาน ความคาดหวัง และบริบททางวัฒนธรรม) ต่อวิธีการใช้ภาษา และผลกระทบของสังคมต่อภาษา ภาษาศาสตร์สังคมแตกต่างจากสังคมวิทยาภาษาซึ่งมุ่งเน้นไปที่ผลกระทบของภาษาต่อสังคม ภาษาศาสตร์สังคมมีเนื้อหาซ้อนเหลื่อมกับวัจนปฏิบัติศาสตร์มาก และยังมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับมานุษยวิทยาภาษาศาสตร์ บางคนตั้งคำถามถึงความแตกต่างระหว่างสาขาทั้งสองโดยเน้นย้ำความสัมพันธ์ต่อกันและกันในอดีต[1]ภาษาศาสตร์สังคมยังศึกษาว่าวิธภาษาระหว่างกลุ่มบุคคลที่แยกจากกันโดยตัวแปรทางสังคมบางอย่าง (เช่น ชาติพันธุ์ ศาสนา สถานภาพ สถานะเพศ ระดับการศึกษา อายุ ฯลฯ) มีความแตกต่างกันอย่างไร และการสร้างและความยึดมั่นในเกณฑ์เหล่านี้ถูกใช้ในการจัดจำแนกบุคคลในชั้นสังคมหรือชั้นเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างไร เนื่องจากการใช้ภาษานั้นแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่ การใช้ภาษาจึงแตกต่างกันไปตามชั้นสังคมด้วย และสังคมภาษณ์ (sociolect) เหล่านี้คือสิ่งที่ภาษาศาสตร์สังคมสนใจศึกษาแง่มุมทางสังคมของภาษาได้รับการค้นคว้าตามแบบสมัยใหม่โดยนักภาษาศาสตร์ชาวอินเดียและชาวญี่ปุ่นในคริสต์ทศวรรษ 1930 และโดยหลุยส์ โกชา นักภาษาศาสตร์ชาวสวิส ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1900 แต่ยังไม่ได้รับความสนใจมากนักในซีกโลกตะวันตกจนกระทั่งในเวลาต่อมา ในทางกลับกัน การศึกษาเหตุจูงใจทางสังคมของการเปลี่ยนแปลงภาษามีรากฐานมาจากแบบจำลองคลื่นของปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 การใช้ศัพท์ ภาษาศาสตร์สังคม เป็นครั้งแรก (ที่ได้รับการยืนยัน) ปรากฏในชื่อบทความ "Sociolinguistics in India" ของทอมัส คัลลัน ฮอดสัน ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Man in India ใน ค.ศ. 1939[2][3] ภาษาศาสตร์สังคมปรากฏครั้งแรกในซีกโลกตะวันตกในคริสต์ทศวรรษ 1960 และได้รับการบุกเบิกโดยนักภาษาศาสตร์เช่นวิลเลียม ลาโบฟ ในสหรัฐ และบาซิล เบิร์นสไตน์ ในสหราชอาณาจักร ในคริสต์ทศวรรษ 1960 วิลเลียม อเล็กซานเดอร์ สจวร์ต[4] และไฮนทซ์ โคลส ได้นำเสนอแนวคิดพื้นฐานสำหรับทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคมของภาษาพหุศูนย์ ซึ่งอธิบายว่าวิธภาษามาตรฐานมีความแตกต่างกันอย่างไรในแต่ละชาติ (เช่น ภาษาอังกฤษแบบบริติช/อเมริกัน/แคนาดา/ออสเตรเลีย;[5] ภาษาเยอรมันแบบเยอรมัน/ออสเตรีย/สวิส;[6] ภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบียแบบบอสเนีย/โครเอเชีย/มอนเตเนโกร/เซอร์เบีย[7] เป็นต้น)

ใกล้เคียง

ภาษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์เพิ่มพูน ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ ภาษาศาสตร์สังคม ภาษาศาสตร์ประสาทวิทยา ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ ภาษาศาสตร์จิตวิทยา