ภาษาสโลวัก

ภาษาสโลวัก (slovenčina, slovenský jazyk) เป็นภาษากลุ่มภาษาสลาวิกตะวันตก (กลุ่มเดียวกับภาษาเช็ก ภาษาโปแลนด์ และภาษาซอร์เบีย) ในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน ภาษาสโลวักมีความใกล้ชิดกับภาษาเช็กเป็นพิเศษ นอกจากนี้ ภาษาสโลวักและภาษาสโลวีเนียเป็นภาษาสลาฟสมัยใหม่สองภาษาเท่านั้นที่ชื่อท้องถิ่นของตนเองมีความหมายตรงตามตัวอักษรว่า "สลาวิก (Slavic) " (ชาวสโลวาเกีย: slovenčina และชาวสโลวีเนีย: slovenščina) (ส่วน slověnskii เป็นภาษาสลาโวนิกเก่า)ภาษาสโลวักพูดในประเทศสโลวาเกีย (ประมาณ 5 ล้านคน) สหรัฐอเมริกา (500,000 คน เป็นผู้อพยพ) ประเทศเช็กเกีย (320,000 คน เนื่องมาจากอดีตเชโกสโลวาเกีย) ประเทศฮังการี (20,000 คน เป็นชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์โบราณ) ประเทศเซอร์เบีย-วอยวอดีนาภาคเหนือ (60,000 คน ผู้สืบเชื้อสายจากผู้ตั้งถิ่นฐานรุ่นแรก ๆ ในช่วงที่อยู่ภานใต้การปกครองของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก) ประเทศโรมาเนีย (22,000 คน เป็นชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์เก่าแก่) ประเทศโปแลนด์ (20,000 คน) ประเทศแคนาดา (20,000 คน เป็นผู้อพยพ) ประเทศออสเตรเลีย (เป็นผู้อพยพ) ประเทศออสเตรีย ประเทศยูเครน ประเทศบัลแกเรีย ประเทศโครเอเชีย (5,000 คน) และประเทศอื่น ๆ บางประเทศกรีก · โครเอเชีย · เช็ก · ดัตช์ · เดนมาร์ก · บัลแกเรีย · โปรตุเกส · โปแลนด์ · ฝรั่งเศส · ฟินแลนด์ · มอลตา · เยอรมัน · โรมาเนีย ·
ลัตเวีย · ลิทัวเนีย · สเปน · สโลวัก · สโลวีเนีย · สวีเดน · อังกฤษ · อิตาลี · เอสโตเนีย · ไอริช · ฮังการี

ภาษาสโลวัก

ภูมิภาค ยุโรปกลาง
ตระกูลภาษา
ผู้วางระเบียบ บัณฑิตยสถานสโลวัก (สถาบันภาษาศาสตร์ลยูดอวีต ชตูร์)
จำนวนผู้พูด มากกว่า 6 ล้านคน  (ไม่พบวันที่)
ISO 639-1 sk
ISO 639-2 slo (B)
slk (T)
ประเทศที่มีการพูด สโลวาเกีย สหรัฐอเมริกา แคนาดา เช็กเกีย เซอร์เบีย โรมาเนีย ฮังการี และอื่น ๆ[ต้องการอ้างอิง]
ภาษาทางการ สโลวาเกีย วอยวอดีนา สหภาพยุโรป