ภาษาอราเมอิกใหม่กลาง

ภาษาอราเมอิกใหม่ตอนกลาง (Central Neo-Aramaic) เป็นคำที่มีความหมายต่างกันในกลุ่มของนักเซมิติกวิทยา ความหมายอย่างกว้างหมายถึงภาษากลุ่มอราเมอิกใหม่ทั้งหมด ยกเว้นภาษาอราเมอิกใหม่ตะวันตกและภาษามันดาอิกใหม่ ความหมายที่แคบกว่า หมายถึง เฉพาะภาษาตูโรโยและภาษามลาโซรวมทั้งภาษาใกล้เคียงที่ยังค้นไม่พบ ความหมายที่เคยใช้มาก่อนหน้านี้หมายถึงภาษาอราเมอิกใหม่ตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อป้องกันความสับสน บางครั้งเรียกกลุ่มที่เล็กกว่าว่าภาษาอราเมอิกใหม่ตะวันตกเฉียงเหนือ เมื่อรวมกับภาษาอราเมอิกใหม่ตะวันออกเฉียงเหนือจึงเรียกว่าภาษาอราเมอิกใหม่เหนือภาษาอราเมอิกใหม่ตอนกลางหรือภาษาอราเมอิกใหม่ตะวันตกเฉียงเหนือใช้พูดโดยชาวคริสต์ที่อยู่ในบริเวณตูร์ อับดิน ของตุรกีตะวันออกเฉียงใต้ และบริเวณรอบๆ ภาษาตูโรโยเองเป็นสำเนียงที่ใกล้เคียงกับสำเนียงที่ใช้พูดในตูร์ อับดิน ในขณะที่ภาษามลาโซเป็นภาษาที่ตายแล้ว เคยใช้พูดทางเหนือของจังหวัดดียาร์บากึร ภาษาใกล้เคียงอื่นๆเป็นภาษาที่ตายแล้วและไม่มีบันทึกไว้ ผู้พูดภาษาเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้อพยพสู่อัล-ยาซีราในซีเรีย มีผู้พูดภาษาตูโรโยบางส่วนอพยพไปอยู่สวีเดนภาษาอราเมอิกใหม่ตอนกลางมีลูกหลานแยกออกไปสองทาง ส่วนใหญ่แยกไปเป็นภาษาอราเมอิกตะวันออกที่มีผู้พูดในตูร์อับดินและบริเวณรอบๆเป็นเวลานับพันปี และได้รับอิทธิพลจากภาษาซีเรียคคลาสสิก ซึ่งเป็นภาษาอราเมอิกตะวันออกที่ขยายไปทางตะวันตกจนถึงเอเดสซา วิวัฒนาการที่แยกออกจากกันเห็นได้ชัดเจนในภาษาตูโรโยและภาษามลาโซ ภาษามลาโซมีไวยากรณ์ใกล้เคียงกับภาษาคลาสสิกและยังใช้ระบบกาลใกล้เคียงกัน ภาษาตูโรโยมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาซีเรียคคลาสสิก มีการพัฒนาไวยากรณ์ที่ต่างไป มีลักษณะบางส่วนใกล้เคียงกับภาษาอราเมอิกใหม่ตะวันออกเฉียงเหนือทั้งสองภาษาเรียกภาษาของตนเองว่าภาษาซีเรียค (ܣܘܪܝܝܐ Sūryoyo) และเรียกภาษาซีเรียคคลาสสิกว่า Edessan (ܐܘܪܗܝܐ Ūrhoyo) หรือภาษาเขียน (ܟܬܒܢܝܐ Kthobonoyo)

ใกล้เคียง