ไวยากรณ์ ของ ภาษาอินโดนีเซีย

คำคุณศัพท์

คำคุณศัพท์ในภาษาอินโดนีเซียตามหลังคำนาม

ภาษาอินโดนีเซียความหมายเฉพาะคำแปลเป็นแม่แปลเป็นภาษาอังกฤษ
Ini buku merahนี่ หนังสือ สีแดงนี่คือหนังสือสีแดงThis is a red book.
Ia adalah orang terkenalเขา เป็น คน มีชื่อเสียงเขาเป็นคนมีชื่อเสียงHe is a famous person.
Ini buku sayaนี่ หนังสือ ฉันนี่คือหนังสือของฉันThis is my book.

นี่คือสามีของฉัน

ปัจจัย

ภาษาอินโดนีเซียมีระบบปัจจัยที่ซับซ้อน วิธีสร้างคำทำได้หลายแบบได้แก่

  • ปัจจัย Ber + ajar (สอน) = BeLajar (ลบ 'R' และเติม 'L')

= เรียน

  • ปัจจัย Me + ajar + -kan = meNGajarkan (เติม 'NG')

= สอน (สกรรมกริยา)

  • ปัจจัย Ber + judi (พนัน) = Berjudi (Ber- ไม่เปลี่ยนรูป)

= เล่นพนัน

  • ปัจจัย Me + judi + -kan = meNjudikan (เติม'N')

= เสียพนัน

คำแต่ละคำอาจมีความหมายทางไวยากรณ์ต่างไปขึ้นกับปัจจัยที่ใช้ เช่นme + makan (memakan) หมายถึงกิน (ในความหมายของการย่อยสลาย) ในขณะที่ di + makan (dimakan) หมายถึงถูกกิน ter + makan (termakan) หมายถึงถูกกินโดยทันที ปัจจัยที่ต่างกัน 2 คำอาจใช้เปล่ยนความหมายของคำ เช่น duduk หมายถึงนั่งลง mendudukkan หมายถึงให้บางคนนั่งลงหรือวางของบางอย่างลง menduduki หมายถึง นั่งบนบางอย่าง didudukkan หมายถึง ถูกทำให้นั่งลง diduduki หมายถึง ถูกทำให้นั่งบน

ปัจจัยในภาษาอินโดนีเซียมีที่ยืมมาจากภาษาอื่น เช่น ภาษาสันสกฤต ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ เช่น maha-, juru-, pasca-, eka-, anti-, pro-

ปัจจัยสร้างคำนาม

ชนิดของปัจจัยAffixตัวอย่างรากศัพท์ตัวอย่างคำที่ได้
อุปสรรคpe (N) -duduk (นั่ง)penduduk (ที่อยู่)
ke-hendak (ต้องการ)kehendak (desire)
juru-acara (event)juruacara (event host)
อาคม-el-tunjuk (ชี้)telunjuk (ความต้องการ)
-em-kelut (dishevelled)kemelut (chaos, crisis)
-er-gigi (ฟัน)gerigi (toothed blade, serration)
ปัจจัย-anbangun (ตื่นขึ้น ยกขึ้น)bangunan (สร้าง)
Confixke-...-anraja (กษัตริย์)kerajaan (ราชอาณาจักร)
pe-...-ankerja (ทำงาน)pekerjaan (อาชีพ)

ปัจจัยสร้างคำกริยา

ชนิดของปัจจัยAffixตัวอย่างรากศัพท์ตัวอย่างคำที่ได้
อุปสรรคbe (L) -ajar (สอน)belajar (เรียน) - Intransitive
me (N) -tolong (ช่วย)menolong (ช่วย) - Active transitive
me (NG) -gambar (ภาพ)menggambar (วาดภาพ) - Active transitive
di-ambil (take)diambil (is being taken) - Passive transitive
memper-dalam (ลึก)memperdalam (ทำให้ลึก)
dipe (R) -dalam (ลึก)diperdalam (กำลังลึกลงไป)
te (R) -makan (กิน)termakan (กินอย่างทันทีทันใด)
ปัจจัย-kanletak (เก็บ)letakkan (เก็บ) - Grammatical mood#Imperative mood transitive
-ijauh (ไกล)jauhi (avoid) - Imperative transitive
Confixbe (R) -...-anpasang (ซ่อม)berpasangan (ถูกซ่อม)
be (R) -...-kandasar (base)berdasarkan (based upon)
me (M) -...-kanpasti (แน่ใจ)memastikan (มั่นใจ)
me (N) -...-iteman (companion)menemani (to accompany)
mempe (R) -...-kanguna (ใช้)mempergunakan (to misuse, to utilise)
mempe (L) -...-iajar (สอน)mempelajari (เรียน)
ke-...-anhilang (หายไป)kehilangan (สูญหาย)
di-...-isakit (เจ็บปวด)disakiti (รู้สึกเจ็บปวด)
di-...-kanbenar (right)dibenarkan (is allowed to)
dipe (R) -...-kankenal (know, recognise)diperkenalkan (is being introduced)

ปัจจัยสร้างคำคุณศัพท์

ชนิดของปัจจัยAffixตัวอย่างรากศัพท์ตัวอย่างคำที่ได้
อุปสรรคte (R) -kenal (know)terkenal (famous)
se-rupa (appearance)serupa (คล้าย)
ปัจจัย-em-cerlang (radiant bright)cemerlang (bright, excellent)
-er-sabut (husk)serabut (dishevelled)
Confixke-...-anbarat (west)kebaratan (westernized)

เพศทางไวยากรณ์

ภาษาอินโดนีเซียมีการแบ่งเพศของคำน้อย คำจำนวนมากที่อ้างถึงบุคคลไม่มีการจำแนกเพศ ตัวอย่างเช่น adik หมายถึงน้องโดยไม่ระบุเพศ ไม่มีการแยกคำที่หมายถึง"คนรัก" ออกเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง ถ้าต้องการระบุเพศจะเพิ่มคำคุณศัพท์เข้ามา เช่น adik laki-laki หมายถึงน้องชายที่สืบสายโลหิตเดียวกัน ไม่มีคำที่มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษ "man" ที่หมายถึงผู้ชายและความเป็นมนุษย์โดยทั่วไป

คำบางคำมีการแบ่งเพศบ้าง เช่น putri หมายถึงลูกสาว และ putra หมายถึงลูกชาย คำเหล่านี้มักเป็นคำยืมจากภาษาอื่น เช่นตัวอย่างข้างต้นเป็ยคำยืมจากภาษาสันสกฤตผ่านทางภาษาชวาโบราณ ในจาการ์ตาและบางพื้นที่ abang อาจใช้หมายถึงพี่ชาย kakak (พี่ที่สืบสายโลหิตเดียวกัน) หมายถึงพี่สาว

คำประสม

ภาษาอินโดนีเซียมีการสร้างคำใหม่ด้วยการเชื่อมรากศัพท์ตั้งแต่สองคำขึ้นไปเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น rumah หมายถึงบ้าน makan หมายถึงกิน รวมกันเป็น rumah makan หมายถึงภัตตาคาร ส่วนอีกตัวอย่างคือ sepak แปลว่า แตะ bola แปลว่า บอล รวมกันเป็น sepak bola จะหมายถึง การแตะบอล หรือฟุตบอล นั่นเอง แต่ภาษามาเลยเซีย จะเปลี่ยนจาก sepak bola กลายเป็น bola sepak ส่วนความหมายก็ยังเปลี่ยนแปล เหมือนเดิม

ลักษณนาม

ภาษาอินโดนีเซียมีการใช้ลักษณนามเช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ ในเอเชีย เช่น ภาษาเบงกอล ภาษาไทย ตัวอย่างคำลักษณนาม เช่น ekor ใช้กับสัตว์ buah ใช้กับนามไม่มีชีวิต lembar ใช้กับกระดาษ biji ใช้กับสิ่งที่เป็นก้อนกลม ในการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการละคำลักษณนามได้

คำปฏิเสธ

ภาษาอินโดนีเซียมีรูปคำปฏิเสธสามคำคือ tidak bukan และ belum

  • Tidak บางครั้งลดรูปเหลือ tak ใช้ปฏิเสธคำกริยาและคุณศัพท์ เช่น Saya tidak tahu (ฉันไม่รู้) หรือ Ibu saya tidak senang (แม่ของฉันไม่มีความสุข)
  • Bukan ใช้ปฏิเสธคำนาม เช่น Itu bukan seekor anjing (นั่นไม่ใช่หมา)
  • Belum ใช้ปฏิเสธประโยคหรือวลีที่บางอย่างยังไม่สมบูรณ์ และใช้ตอบปฏิเสธคำถาม เช่น Anda sudah pernah ke Indonesia (Belum?) = คุณเคยอยู่อินโดนีเซียมาก่อน (หรือไม่) Belum, saya masih belum pernah pergi ke Indonesia = ไม่, ฉันไม่เคยอยู่อินโดนีเซีย

คำปฏิเสธอีกคำหนึ่งในภาษาอินโดนีเซียคือ jangan ซึ่งตรงกับคำปฏิเสธ do not ในภาษาอังกฤษ jangan ใช้ปฏิเสธคำสั่งหรือแสดงการต่อต้านการกระทำ เช่น Jangan tingalkan saya = อย่าทิ้งฉัน

พหูพจน์

การแสดงพหูพจน์ใช้การซ้ำคำ เช่น บุคคลใช้ว่า orang ประชาชนใช้ว่า orang-orang แต่ประชาชน 1,000 คนใช้ว่า seribu orang แต่คำโดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องแสดงความเป็นพหูพจน์ แต่บางครั้งการซ้ำคำไม่ได้แสดงความเป็นพหูพจน์เสมอไป เช่น hati หมายถึง หัวใจหรือตับขึ้นกับบริบท ในขณะที่ hati-hati หมายถึง ระมัดระวัง นอกจากนั้นบางคำเช่น biri-biri (แกะ) และ kupu-kupu (ผีเสื้อ) อาจเป็นทั้งรูปพหูพจน์และเอกพจน์ขึ้นกับบริบทหรือตัวเลขในประโยค

สรรพนาม

สรรพนามแทนบุรุษที่ 1 พหูพจน์ มีสองคำ คือ kami (ไม่รวมผู้ฟัง) และ Kita (รวมผู้ฟัง) สรรพนามบุรุษที่ 1 เอกพจน์ มีสองคำคือ saya และ aku มีความหมายเหมือนกันแต่ saya เป็นทางการมากกว่า aku ใช้กับคนสนิทในครอบครัว หรือกับเพื่อน สรรพนามบุรุษที่ 2 มีสามคำคือ kamu anda และ kalian anda เป็นคำที่สุภาพที่สุด kalian เป็นรูปพหูพจน์ และไม่เป็นทางการมากนักนอกจากนี้ ภาษาอินโดนีเซียยังมีคำสรรพนามอื่นๆอีก ซึ่งขึ้นกับโครงสร้างทางสังคมและอิทธิพลของภาษาถิ่น คำบางคำถือว่าสุภาพมากและใช้ในบทกวีเท่านั้น เช่น saudara/sauderi

สรรพนามชี้เฉพาะ

มีสองคำคือ ini (นี่) ใช้กับสิ่งที่อยู่ใกล้ผู้พูดกับ itu (โน่น) ใช้กับสิ่งที่อยู่ไกลผู้พูด ทั้งสองคำนี้ไม่มีรูปพหูพจน์

การเรียงลำดับคำ

รูปแบบพื้นฐานของประโยคเป็น ประธาน-กริยา-กรรม แต่จะใช้ในรูปถูกกระทำ กรรม-กริยา- (ประธาน) ได้ ซึ่งถือเป็นประโยคแบบละประธาน คำขยายตามหลังคำที่ถูกขยาย

กริยา

ไม่มีการผันตามจำนวนหรือบุคคล ไม่มีเครื่องหมายแสดงกาล แต่แสดงกาลด้วยการเติมคำในประโยค เช่น เมื่อวานนี้หรือคำบ่งกาลอื่นๆ เช่น sudah (พร้อมแล้ว) อย่างไรก็ตาม ภาษาอินโดนีเซียมีระบบปัจจัยของกริยาที่ซับซ้อน เพื่อแบ่งแยกรูปกระทำ-ถูกกระทำ การใช้ปัจจัยเหล่านี้อาจถูกละในการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ

การเน้น

ในการพูด การเน้นที่ส่วนของประโยคต่างกันทำให้มีการเรียงลำดับคำต่างกันไปได้ รูปแบบเหล่านี้พบน้อยในการเขียน ตัวอย่าง เช่น

  • Saya pergi ke pasar kemarin = ฉันไปตลาดเมื่อวานนี้ (รูปปกติหรือเน้นประธาน)
  • Kemarin saya pergi ke pasar = เมื่อวานนี้ฉันไปตลาด (เน้นที่เมื่อวาน)
  • Ke pasar saya pergi, kemarin = ที่ตลาด, ฉันไปเมื่อวานนี้ (เน้นสถานที่ที่ไป)
  • Pergi ke pasar, saya, kemarin = ไปตลาด, ฉัน, เมื่อวานนี้ (เน้นที่การเดินทาง)

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาอินโดนีเซีย http://www.ethnologue.com/ http://www.ethnologue.com/language/ind http://itotd.com/articles/310/bahasa-indonesia/ http://melayuonline.com/eng/opinion/read/80/risen-... http://melayuonline.com/ind/article/read/174/sriwi... http://melayuonline.com/ind/culture/dig/1349/bahas... http://melayuonline.com/ind/culture/dig/1626/bahas... http://www.hawaii.edu/indolang/malay.html http://kbri-astana.kz/id/print/10-bahasa_dan_diale... http://en.wikisource.org/wiki/Constitution_of_the_...