ภาษาถิ่น ของ ภาษาเขมร

ภาษาถิ่นมีการแสดงอย่างชัดเจนในบางกรณี มีข้อแตกต่างที่สังเกตเห็นได้ระหว่างคนพูดจากเมืองพนมเปญ (เมืองหลวง) และเมืองพระตะบองในชนบท โดยภาษาเขมรจะแบ่งเป็นภาษาถิ่นได้ 5 ถิ่น ได้แก่

ลักษณะของสำเนียงในพนมเปญ คือการออกเสียงอย่างไม่เคร่งครัด โดยที่บางส่วนของคำจะนำมารวมกัน หรือตัดออกไปเลย เช่น "พนมเปญ" จะกลายเป็น"อึม.เปญ" อีกลักษณะหนึ่งของสำเนียงในพนมเปญ ปรากฏในคำที่มีเสียง r/ร เป็นพยัญชนะที่ 2 ในพยางค์แรก กล่าวคือ จะไม่ออกเสียง r/ร ออกเสียงพยัญชนะตัวแรกแข็งขึ้น และจะอ่านให้มีระดับเสียงตก เช่นเดียวกับวรรณยุกต์เสียงโท ตัวอย่างเช่น "trej" ("เตรย" แปลว่า "ปลา") อ่านเป็น "เถ็ย" (โดย d จะกลายเป็น t และมีสระคล้ายเสียง "เอ" และเสียงสระจะสูงขึ้น) อีกตัวอย่างหนึ่งคือ คำว่า "ส้ม" ออกเสียงว่า kroic โกรจ ในชนบท ส่วนในเมืองออกเสียงเป็น khoic" โขจ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาเขมร http://www.ethnologue.com/show_language.asp?code=K... http://omniglot.com/writing/khmer.htm http://geonames.de/alphkl.html#khm http://www.khmeros.info/khmeros_workingsoft.html#K... http://www.bauhahnm.clara.net/Khmer/Welcome.html http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=k... http://www.sil.org/iso639-3/documentation.asp?id=k... http://www.ubru.ac.th/ccu/khmer_index.php https://khmerspelling.wordpress.com/tag/%E1%9E%95%...