ภาษาเขมรถิ่นไทย

ภาษาเขมรถิ่นไทย[3] บ้างเรียก ภาษาเขมรเหนือ หรือ ภาษาเขมรสุรินทร์ เป็นภาษาย่อยของภาษาเขมร พูดโดยชาวไทยเชื้อสายเขมรในประเทศไทยที่อยู่ในจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี มหาสารคาม และร้อยเอ็ด รวมทั้งที่อพยพไปสู่ประเทศกัมพูชา โดยจังหวัดสุรินทร์ มีผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทยมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ60ของประชากรทั้งหมดในจังหวัด หรือประมาณ8แสนคนภาษาเขมรถิ่นไทยต่างจากภาษาเขมรสำเนียงพนมเปญซึ่งเป็นสำเนียงมาตรฐาน ในด้านจำนวนและความต่างของหน่วยเสียงสระ การใช้พยัญชนะ รากศัพท์ และไวยากรณ์ ทำให้แยกสำเนียงเขมรถิ่นไทยออกจากสำเนียงอื่น ๆ ได้ง่าย ผู้พูดภาษาเขมรถิ่นไทยจะเข้าใจภาษาเขมรทุกสำเนียง แต่ผู้พูดสำเนียงพนมเปญจะมีปัญหาในการทำความเข้าใจภาษาเขมรถิ่นไทย ทำให้นักภาษาศาสตร์บางคนแยกภาษาเขมรถิ่นไทยออกเป็นภาษาใหม่ต่างหากจากภาษาเขมร โดยถือเป็นภาษาใกล้เคียงกัน

ภาษาเขมรถิ่นไทย

ตระกูลภาษา
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ประเทศไทย
ผู้วางระเบียบ -
ออกเสียง /pʰsaː kʰmɛ:r-lɤ:/
ระบบการเขียน เป็นภาษาพูด มีบ้างที่ใช้อักษรไทย[2]
จำนวนผู้พูด 1.4 ล้านคน [1]  (2006)
ISO 639-3 kxm
ชาติพันธุ์ ไทยเชื้อสายเขมร
ประเทศที่มีการพูด ประเทศไทย, ประเทศกัมพูชา
ภาษาทางการ -