ประวัติ ของ ภาษาเปอร์เซีย

ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษากลุ่มอิหร่าน อยู่ในกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน ในตระกูลภาษาอินดด-ยุโรเปียน ภาษานี้แบ่งออกเป็นสามยุคอย่างชัดเจนคือยุคโบราณ ยุคกลางและยุคใหม่ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์อิหร่านสามช่วง ยุคโบราณเริ่มตั้งแต่ก่อนราชวงศ์อะแคมินิดจนถึงหลังราชวงศ์อะแคมินิด (ประมาณพ.ศ. 143-243) ยุคกลางเริ่มจากยุคหลังจากสิ้นสุดยุคโบราณจนถึงยุคราชวงศ์ซัสซานิด และยุคหลังจากนั้น ยุคใหม่ เริ่มหลังจากสิ้นสุดราชวงศ์ซัสซานิดจนถึงปัจจุบัน เอกสารภาษาเปอร์เซียที่เก่าที่สุดอยู่ในยุคจักรวรรดิเปอร์เซียเมื่อ 57 ปีก่อนพุทธศักราช

ภาษาเปอร์เซียโบราณ

ดูบทความหลักที่: ภาษาเปอร์เซียโบราณ

ภาษาเปอร์เซียโบราณพัฒนามาจากภาษาอิหร่านดั้งเดิมที่เกิดขึ้นในที่ราบอิหร่านทางตะวันตกเฉียงใต้ ตัวอย่างที่เก่าที่สุดของภาษานี้คือจารึกเบฮิสตันในสมัยพระเจ้าดาริอุสที่ 1 ในสมัยราชวงศ์อะแคมินิด แม้ว่าจะมีตัวอย่างที่อายุมากกว่านี้ เช่นจารึกของพระเจ้าไซรัสมหาราช แต่ภาษาใหม่กว่า ภาษาเปอร์เซียโบราณเขียนด้วยอักษรรูปลิ่มสำหรับภาษาเปอร์เซีย ซึ่งมีลักษณะเฉพาะสำหรับภาษา คาดว่าประดิษฐ์ขึ้นใช้ในสมัยพระเจ้าดาริอุสที่ 1 ในยุคราชวงศ์อะแคมินิดเริ่มมีการนำอักษรอราเมอิกมาใช้ พบทางตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นบ้านเกิดของราชวงศ์อะแคมินิด

ภาษาเปอร์เซียยุคกลาง

ดูบทความหลักที่: ภาษาเปอร์เซียกลาง

ในทางตรงกันข้ามกับภาษาเปอร์เซียโบราณ ภาษาเปอร์เซียยุคกลางมีความแตกต่างทั้งทางด้านรุปแบบการเขียนและการพูด รูปแบบทวิพจน์ในภาษาเปอร์เซียโบราณได้หายไป ภาษาเปอร์เซียยุคกลางใช้ปรบทในการบอกหน้าที่ของคำ ภาษาเปอร์เซียยุคกลางเริ่มต้นขึ้นเมื่อราชวงศ์อะแคสินิดเริ่มตกต่ำ โดยการเปลี่ยนแปลงของภาษาน่าจะเริ่มราวพุทธศตวรรษที่ 9 และใช้จนถึงพุทธศตวรรษที่ 12 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 ภาษาเปอร์เซียกลางจึงเริ่มเปลี่ยนมาสู่ภาษาเปอร์เซียใหม่ เอกสารที่เหลือยู่ส่วนใหญ่เป็นเอกสารทางศาสนาโซโรอัสเตอร์ ชื่อของภาษาในยุคนี้คือ Parsik ซึ่งกลายเป็นคำว่า "เปอร์เซีย" ในภาษาเปอร์เซียใหม่ เมื่อเขียนด้วยอักษรอาหรับ เมื่อภาษานี้เปลี่ยนมาเป็นภาษาเปอร์เซียใหม่ ภาษายุคกลางนี้จึงเรียกว่าภาษาปะห์ลาวี จุดเปลี่ยนระหว่างภาษายุคกลาง (ปะห์ลาวี เช่นภาษาพาร์เทียน) มาเป็นภาษาเปอร์เซีย (farsi)จึงเป็นจุดที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับและการเขียนด้วยอักษรอาหรับ

ภาษาเปอร์เซียใหม่

ประวัติศาสตร์ของภาษาเปอร์เซียใหม่เกิดขึ้นเมื่อ 1,000 - 1,200 ปี พัฒนาการของภาษานี้แบ่งเป็นยุคต้น ยุคคลาสสิกและยุคใหม่ ผู้พูดภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาแม่ในปัจจุบันสามารถเข้าใจเอกสารโบราณของภาษาเปอร์เซียได้แม้จะมีความแตกต่างทางด้านไวยากรณ์บ้าง

ภาษาเปอร์เซียคลาสสิก

ปัญจตันตระหรือกาลิละห์ วา ดิมนา วรรณคดีเปอร์เซียที่มีอิทธิพลมากเรื่องหนึ่ง

การแพร่เข้ามาของศาสนาอิสลามกลายเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ของภาษาเปอร์เซียและวรรณกรรม ภาษานี้เป็นภาษากลางของโลกอิสลามฝั่งตะวันออกและอินเดีย เป็นภาษากลางและภาษาทางวัฒนธรรมของราชวงศ์ที่นับถือศาสนาอิสลามหลายราชวงศ์ เช่นซามานิดส์ บูยิดส์ ตาฮิริดส์ จักรวรรดิโมกุล ติมูริดส์ คาชนาวิดส์ เซลจุก ความเรชมิดส์ ซาฟาวิด อัฟชาริดส์ จักรวรรดิออตโตมานและอื่นๆ

ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาเดียวในตะวันออกที่มาร์โคโปโลรู้จัก อิทธิพลของภาษาเปอร์เซียต่อภาษาอื่นๆในโลกอิสลามปรากฏชัดมาก หลังจากที่ชาวอาหรับรุกรานเปอร์เซีย ภาษาเปอร์เซียได้ปรับปรุงคำศัพท์จากภาษาอาหรับมาใช้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่บางคำมาจากตระกูลภาษาอัลไตอิกระหว่างที่ถูกปกครองภายใต้จักรวรรดิมองโกล

ภาษาเปอร์เซียกับการปกครองในอินเดีย

บทกวีภาษาเปอร์เซียที่อินเดียราวพุทธศตวรรษที่ 23 บทกวีภาษาเปอร์เซีย Takht-e Shah Jahan, ที่อินเดีย

ในช่วง 500 ปีก่อนที่อังกฤษจะเข้าปกครองอินเดียเป็นอาณานิคม ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาที่สองที่สำคัญในอินเดียทั้งทางด้านการเรียนการสอนและทางวัฒนธรรม ในยุดจักรวรรดิโมกุล ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาราชการ เมื่ออังกฤษเข้ามาปกครองอินเดีย ภาษาอังกฤษจึงเข้ามาเป็นภาษากลางแทนที่ภาษาเปอร์เซีย

ภาษาเปอร์เซียในปัจจุบัน

ตังแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษ ภาษารัสเซียและภาษาฝรั่งเศสได้เข้ามาเป็นศัพท์เทคนิคในภาษาเปอร์เซีย สมาคมวิชาการภาษาเปอร์เซียแห่งชาติในอิหร่านเป็นองค์กรที่รับผิดชอบในการสร้างคำใหม่จากรากศัพท์ภาษาเปอร์เซียให้เทียบเท่าคำยืมจากภาษาอื่น

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาเปอร์เซีย http://www.peeters-leuven.be/boekoverz.asp?nr=8392 http://www.ashkdahlen.com/index.php?id=152 http://www.choone.com/perkey.html http://www.ethnologue.com/show_family.asp?subid=10... http://www.GlobalDic.com http://books.google.com/books?id=3T1bAAAAQAAJ&prin... http://books.google.com/books?id=3T9bAAAAQAAJ&prin... http://books.google.com/books?id=3ppxqpkEHVoC&prin... http://books.google.com/books?id=6j1bAAAAQAAJ&prin... http://books.google.com/books?id=7hZHFh_nVEMC&prin...