ระบบเสียง ของ ภาษาเวียดนาม

เสียงพยัญชนะ

เสียงพยัญชนะในภาษาเวียดนามมีหน่วยเสียงตามตารางทางด้านล่าง โดยอักษรทางด้านซ้ายเป็นอักษรที่ใช้เขียนแทนหน่วยเสียงนั้น ๆ ในภาษาเวียดนาม อักษรตรงกลางเป็นสัทอักษร และด้านขวานั้นเป็นอักษรไทยที่นิยมใช้ทับศัพท์

ริมฝีปากปุ่มเหงือกปลายลิ้นม้วนเพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
นาสิกm [m] มn [n] นnh [ɲ] ญng/ngh [ŋ] ง
กักไม่ก้อง ไม่พ่นลมp [p] ปt [t] ตtr [ʈʂ~ʈ] จch [c~tɕ] จc/k/q [k~q] ก
ก้องb [ɓ] บđ [ɗ] ด
ไม่ก้อง พ่นลมth [tʰ] ทkh [x~kʰ] ค
เสียดแทรกไม่ก้องph [f] ฟx [s] ซs [ʂ] ซh [h] ฮ
ก้องv [v] วd [z~j] ซ, ยr [ʐ~ɹ] ซ, รgi [z~j] ซ, ยg/gh [ɣ] ก
เปิดu/o [w] วl [l] ลy/i [j] ย
สำเนียงต่าง ๆ ของภาษาเวียดนาม
รูปแบบรูปพยัญชนะเหนือกลางตอนเหนือกลางใต้
พยัญชนะต้นx[s] ส[s] ซ[s] ซ[s] ซ
s[ʂ] ซ (ม้วนลิ้น)[ʂ] ซ (ม้วนลิ้น)[ʂ] ซ (ม้วนลิ้น)
ch[tɕ] จ[tɕ] จ[tɕ] จ[tɕ] จ
tr[tʂ] จ (ม้วนลิ้น)[tʂ] จ (ม้วนลิ้น)[tʂ] จ (ม้วนลิ้น)
r[z] ซ (ก้อง)[ɻ] ร (ม้วนลิ้น)[ɻ] ร (ม้วนลิ้น)[ɻ] ร (ม้วนลิ้น)
d[ɟ] กึ่ง จ กึ่ง ก (ก้อง)[j] ย[j] ย
gi[z] ซ (ก้อง)
v[1][v] กึ่ง ฟ กึ่ง ว[v] กึ่ง ฟ กึ่ง ว
พยัญชนะท้ายc[k][k] ก[k] ก[k] ก
t[t] ต[t] ต
t
หลัง e
[k, t] ก, ต
t
หลัง ê
[t] ต[k, t] ก, ต
t
หลัง i
[t] ต
ch[ʲk] จ/ก[k] ก
ng[ŋ] ง[ŋ] ง[ŋ] ง[ŋ] ง
n[n] น[n] น
n
หลัง i, ê
[n] น[n] น
nh[ʲŋ] ญ/ง[ŋ] ง

เสียงสระ

 หน้ากลางหลัง
สูงi [i] /-ิ/ư [ɨ/ɯ] /-ือ/u [u] /-ู/
กลางสูงê [e] /เ-/ơ [əː/ɤː] /เ-อ/ô [o] /โ-/
กลางต่ำe [ɛ] /แ-/â [ə/ɤ/ɜ] /เ-อะ/o [ɔ] /-อ/
ต่ำă [a] /-ะ/, a [aː] /-า/

เสียงวรรณยุกต์

นักภาษาศาสตร์ได้ศึกษาภาษาเวียดนามและจัดให้อยู่ในภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก เช่นเดียวกับภาษาเขมร ซึ่งเป็นภาษาระบบคำสองพยางค์ (disyllable) และมีลักษณะน้ำเสียง (register) เป็นลักษณะสำคัญของภาษา อีกทั้งเป็นภาษาที่ไม่มีระบบเสียงวรรณยุกต์ แต่ภาษาเวียดนามปัจจุบันได้พัฒนาระบบเสียงวรรณยุกต์ขึ้นใช้ เนื่องจากอิทธิพลของภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์อันได้แก่ภาษาตระกูลไทที่อยู่โดยรอบและภาษาจีนที่เข้ามาปกครองเวียดนามในขณะนั้น

สระในภาษาเวียดนามนั้น ออกเสียงโดยมีวรรณยุกต์ภายใน (thanh หรือ thanh điệu) โดยวรรณยุกต์มีความแตกต่างกันที่

  • ระดับเสียง
  • ความยาว
  • น้ำเสียงขึ้นลง
  • ความหนักแน่น
  • การออกเสียงคอหอย (ลักษณะเส้นเสียง)

เครื่องหมายกำกับวรรณยุกต์นั้น ปกติจะเขียนเหนือหรือใต้สระ [ส่วนใหญ่เขียนไว้เหนือสระ แต่วรรณยุกต์หนั่ง (nặng) เป็นจุดใต้สระ] วรรณยุกต์ทั้ง 6 ในภาษาถิ่นเหนือ (รวมฮานอยด้วย) มีดังนี้

ชื่อลักษณะเครื่องหมายตัวอย่างตัวอย่างสระออกเสียง
งาง (ngang)   'ระดับ'สูงระดับ ˧ (ไม่มีเครื่องหมาย) ma  'ผี' a (วิธีใช้·ข้อมูล) อา
ฮเหวี่ยน (huyền)   'แขวน'ต่ำตก ˨˩`mà  'แต่' à (วิธีใช้·ข้อมูล) อ่า
ซัก (sắc)   'คม'สูงขึ้น ˧˥´má  'แก้ม, แม่ (ถิ่นใต้) ' á (วิธีใช้·ข้อมูล) อ๊า
หอย (hỏi)   'ถาม'ต่ำขึ้น ˧˩˧ ̉mả  'หลุมศพ, สุสาน'  (วิธีใช้·ข้อมูล) อ๋า
หงา (ngã)   'ตก'สูงขึ้นหยุด ˧˥ˀ˜mã  'ม้า (จีน-เวียดนาม), รหัส' ã (วิธีใช้·ข้อมูล) อะ-อ๊ะ
หนั่ง (nặng)   'หนัก'ต่ำตกหยุด ˧˨ˀ ̣mạ  'สีข้าว'  (วิธีใช้·ข้อมูล) อะ (เสียงหนัก)