สัทวิทยา ของ ภาษาไทย

ภาษาไทยประกอบด้วยหน่วยเสียงสำคัญ 3 ประเภท[3] คือ

  1. หน่วยเสียงพยัญชนะ
  2. หน่วยเสียงสระ
  3. หน่วยเสียงวรรณยุกต์

พยัญชนะ

พยัญชนะต้น

ภาษาไทยมาตรฐานแบ่งแยกรูปแบบเสียงพยัญชนะก้องและพ่นลม ในส่วนของเสียงกักและเสียงผสมเสียงแทรก เป็นสามประเภทดังนี้

  • เสียงไม่ก้อง ไม่พ่นลม
  • เสียงไม่ก้อง พ่นลม
  • เสียงก้อง ไม่พ่นลม

หากเทียบกับภาษาอังกฤษ โดยทั่วไปมีเสียงแบบที่สองกับสามเท่านั้น เสียงแบบที่หนึ่งพบได้เฉพาะเมื่ออยู่หลัง เอส (S) ซึ่งเป็นเสียงแปรของเสียงที่สอง

เสียงพยัญชนะต้นมี 21 เสียง ตารางด้านล่างนี้บรรทัดบนคือสัทอักษรสากล บรรทัดล่างคืออักษรไทยในตำแหน่งพยัญชนะต้น

ริมฝีปากทั้งสองปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
เสียงนาสิก[m]
[n]
ณ, น
[ŋ]
เสียงกักก้อง[b]
[d]
ฎ, ด
ไม่ก้อง ไม่มีลม[p]
[t]
ฏ, ต
[tɕ]
[k]
[ʔ]
ไม่ก้อง มีลม[pʰ]
ผ, พ, ภ
[tʰ]
ฐ, ฑ, ฒ, ถ, ท, ธ
[tɕʰ]
ฉ, ช, ฌ
[kʰ]
ข, ฃ, ค, ฅ, ฆ*
เสียงเสียดแทรก[f]
ฝ, ฟ
[s]
ซ, ศ, ษ, ส
[h]
ห, ฮ
เสียงเปิด[w]
[l]
ล, ฬ
[j]
ญ, ย
เสียงรัวลิ้น[r]

* และ เลิกใช้แล้ว ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าภาษาไทยสมัยใหม่มีพยัญชนะเพียง 42 ตัวอักษร

พยัญชนะสะกด

ถึงแม้ว่าพยัญชนะไทยมี 44 รูป 21 เสียงในกรณีของพยัญชนะต้น แต่ในกรณีพยัญชนะสะกดแตกต่างออกไป สำหรับเสียงสะกดมีเพียง 8 เสียง และรวมทั้งไม่มีเสียงด้วย เรียกว่า มาตรา เสียงพยัญชนะก้องเมื่ออยู่ในตำแหน่งตัวสะกด ความก้องจะหายไป

ในบรรดาพยัญชนะไทย นอกจาก และ ที่เลิกใช้แล้ว ยังมีพยัญชนะอีก 6 ตัวที่ใช้เป็นตัวสะกดไม่ได้คือ ดังนั้นตัวสะกดจึงเหลือเพียง 36

 ริมฝีปาก
ทั้งสอง
ริมฝีปากล่าง
-ฟันบน
ปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
เสียงนาสิก [m]
  [n]
ญ, ณ, น, ร, ล, ฬ
  [ŋ]
ง ng
 
เสียงกัก[p̚]
บ, ป, พ, ฟ, ภ

p

  [t̚]
จ, ช, ซ, ฌ, ฎ, ฏ, ฐ, ฑ,
ฒ, ด, ต, ถ, ท, ธ, ศ, ษ, ส
  [k̚]
ก, ข, ค, ฆ
 [ʔ]
* -
เสียงเปิด [w]
  [j]
 

* เสียงพยัญชนะกัก เส้นเสียง จะปรากฏเฉพาะหลังสระเสียงสั้นเมื่อไม่มีพยัญชนะสะกด

กลุ่มพยัญชนะ

แต่ละพยางค์ในคำหนึ่ง ๆ ของภาษาไทยแยกออกจากกันอย่างชัดเจน (ไม่เหมือนภาษาอังกฤษที่พยัญชนะสะกดอาจกลายเป็นพยัญชนะต้นในพยางค์ถัดไป หรือในทางกลับกัน) ดังนั้นพยัญชนะหลายตัวของพยางค์ที่อยู่ติดกันจะไม่รวมกันเป็นกลุ่มพยัญชนะเลย

ภาษาไทยมีกลุ่มพยัญชนะเพียงไม่กี่กลุ่ม ประมวลคำศัพท์ภาษาไทยดั้งเดิมระบุว่ามีกลุ่มพยัญชนะ (ที่ออกเสียงรวมกันโดยไม่มีสระอะ) เพียง 11 แบบเท่านั้น เรียกว่า พยัญชนะควบกล้ำ หรือ อักษรควบกล้ำ

ริมฝีปากปุ่มเหงือกเพดานอ่อน
พยัญชนะเดี่ยว[p]
[pʰ]
ผ, พ
[t]
[k]
[kʰ]
ข, ฃ, ค, ฅ
เสียงรัว[r]
[pr]
ปร
[pʰr]
พร
[tr]
ตร
[kr]
กร
[kʰr]
ขร, ฃร, คร
เสียงเปิด[l]
[pl]
ปล
[pʰl]
ผล, พล
[kl]
กล
[kʰl]
ขล, คล
[w]
[kw]
กว
[kʰw]
ขว, ฃว, คว, ฅว

พยัญชนะควบกล้ำมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกหกเสียงจากคำยืมภาษาต่างประเทศ ได้แก่

  • /br/ (บร) เช่น บรอนซ์, เบรก
  • /bl/ (บล) เช่น บล็อก, เบลอ
  • /dr/ (ดร) เช่น ดราฟต์, ดริงก์
  • /fr/ (ฟร) เช่น ฟรักโทส, ฟรี
  • /fl/ (ฟล) เช่น ฟลูออรีน, แฟลต
  • /tʰr/ (ทร) เช่น จันทรา, แทรกเตอร์

เราสามารถสังเกตได้ว่า กลุ่มพยัญชนะเหล่านี้ถูกใช้เป็นพยัญชนะต้นเท่านั้น ซึ่งมีเสียงพยัญชนะตัวที่สองเป็น ร ล หรือ ว และกลุ่มพยัญชนะจะมีเสียงไม่เกินสองเสียงในคราวเดียว การผันวรรณยุกต์ของคำขึ้นอยู่กับไตรยางศ์ของพยัญชนะตัวแรก

สระ

Wikibooks
วิกิตำรา มีคู่มือ ตำรา หรือวิธีการเกี่ยวกับ:
ภาษาไทย/ไวยากรณ์/ภาษาไทยเบื้องต้น/สระ

เสียงสระในภาษาไทยมาตรฐานแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน สะกดด้วยรูปสระพื้นฐานหนึ่งตัวหรือหลายตัวร่วมกัน (ดูที่ อักษรไทย)

สระเดี่ยว หรือ สระแท้ คือสระที่เกิดจากฐานเพียงฐานเดียว มีทั้งสิ้น 18 เสียง

 ลิ้นส่วนหน้าลิ้นส่วนหลัง
ปากเหยียดปากเหยียดปากห่อ
สั้นยาวสั้นยาวสั้นยาว
ลิ้นยกสูง[i]
–ิ
[iː]
–ี
[ɯ]
–ึ
[ɯː]
–ื
[u]
–ุ
[uː]
–ู
ลิ้นกึ่งสูง[e]
เ–ะ
[eː]
เ–
[ɤ]
เ–อะ
[ɤː]
เ–อ
[o]
โ–ะ
[oː]
โ–
ลิ้นกึ่งต่ำ[ɛ]
แ–ะ
[ɛː]
แ–
  [ɔ]
เ–าะ
[ɔː]
–อ
ลิ้นลดต่ำ  [a]
–ะ
[aː]
–า
  

สระเดี่ยว

สระประสม

สระประสม คือสระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" มี 3 เสียงดังนี้

  • เ–ีย [iːa] ประสมจากสระ อี และ อา ia
  • เ–ือ [ɯːa] ประสมจากสระ อือ และ อา uea
  • –ัว [uːa] ประสมจากสระ อู และ อา ua

ในบางตำราจะเพิ่มสระสระประสมเสียงสั้น คือ เ–ียะ เ–ือะ –ัวะ ด้วย แต่ในปัจจุบันสระเหล่านี้ปรากฏเฉพาะคำเลียนเสียงเท่านั้น เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น

สระเสียงสั้นสระเสียงยาวสระเกิน
ไม่มีตัวสะกดมีตัวสะกดไม่มีตัวสะกดมีตัวสะกดไม่มีตัวสะกดมีตัวสะกด
–ะ–ั–1, -รร, -รร-–า–า––ำ(ไม่มี)
–ิ–ิ––ี–ี–ใ–(ไม่มี)
–ึ–ึ––ือ–ื–ไ–(ไม่มี)
–ุ–ุ––ู–ู–เ–า(ไม่มี)
เ–ะเ–็–, เ––2เ–เ––ฤ, –ฤฤ–, –ฤ–
แ–ะแ–็–, แ––2แ–แ––ฤๅ, –ฤๅ(ไม่มี)
โ–ะ––โ–โ––ฦ, –ฦฦ–, –ฦ–
เ–าะ–็อ–, -อ-2–อ–อ–, ––3ฦๅ, –ฦๅ(ไม่มี)
–ัวะ–็ว––ัว–ว–
เ–ียะ(ไม่มี)เ–ียเ–ีย–
เ–ือะ(ไม่มี)เ–ือเ–ือ–
เ–อะเ–ิ–4,
เ––4
เ–อเ–ิ–,
เ––5,
เ–อ–6

สระเกิน คือสระที่มีเสียงของพยัญชนะปนอยู่ มี 8 เสียงดังนี้

  • –ำ [am, aːm] am ประสมจาก อะ + ม (อัม) เช่น ขำ บางสำเนียงถิ่นออกเสียงยาวเวลาพูด (อาม) เช่น น้ำ
  • ใ– [aj, aːj] ai ประสมจาก อะ + ย (อัย) เช่น ใจ บางสำเนียงถิ่นออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย) เช่น ใต้
  • ไ– [aj, aːj] ai ประสมจาก อะ + ย (อัย) เช่น ไหม้ บางสำเนียงถิ่นออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย) เช่น ไม้
  • เ–า [aw, aːw] ao ประสมจาก อะ + ว (เอา) เช่น เกา บางสำเนียงถิ่นออกเสียงยาวเวลาพูด (อาว) เช่น เก้า
  • ฤ [rɯ] rue, ri, roe ประสมจาก ร + อึ (รึ) เช่น ฤกษ์ บางคำเปลี่ยนเป็น /ri/ (ริ) เช่น กฤษณะ หรือ /rɤː/ (เรอ) เช่นฤกษ์
  • ฤๅ [rɯː] rue ประสมจาก ร + อือ (รือ)
  • ฦ [lɯ] lue ประสมจาก ล + อึ (ลึ)
  • ฦๅ [lɯː] lue ประสมจาก ล + อือ (ลือ)

บางตำราก็ว่าสระเกินเป็นพยางค์ ไม่ถูกจัดว่าเป็นสระ

สระบางรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกด จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ สามารถสรุปได้ตามตารางด้านขวา

  1. คำที่สะกดด้วย –ั + ว นั้นไม่มี เพราะซ้ำกับ –ัว แต่เปลี่ยนไปใช้ เ–า แทน
  2. สระ เ-ะ แ-ะ เ-าะ ที่มีวรรณยุกต์ ใช้รูปเดียวกับสระ เ– แ- -อ ตามลำดับ เช่น เผ่น เล่น แล่น แว่น ผ่อน กร่อน
  3. คำที่สะกดด้วย –อ + ร จะลดรูปเป็น –ร ไม่มีตัวออ เช่น พร ศร จร ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ โ–ะ ดังนั้นคำที่สะกดด้วย โ–ะ + ร จึงไม่มี
  4. สระ เ–อะ ที่มีตัวสะกดใช้รูปเดียวกับสระ เ–อ[4] เช่น เงิน เปิ่น เห่ย
  5. คำที่สะกดด้วย เ–อ + ย จะลดรูปเป็น เ–ย ไม่มีพินทุ์อิ เช่น เคย เนย เลย ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ เ– อย่างไรก็ตาม คำที่สะกดด้วย เ– + ย จะไม่มีในภาษาไทย
  6. พบได้น้อยคำ เช่น เทอญ เทอม

วรรณยุกต์

เสียงวรรณยุกต์

คำเป็น

เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมาตรฐานจำแนกออกได้เป็น 5 เสียง ได้แก่

เสียงวรรณยุกต์ตัวอย่าง
เสียงระดับเสียงอักษรไทยสัทอักษรสากล
หน่วยเสียงเสียง
สามัญกลางนา/nāː/[naː˧]
เอกกึ่งต่ำ-ต่ำ หรือ ต่ำอย่างเดียวหน่า/nàː/[naː˨˩]
โทสูง-ต่ำน่า/หน้า/nâː/[naː˦˩]
ตรีกึ่งสูง-สูง หรือ สูงอย่างเดียวน้า/náː/[naː˦˥]
จัตวาต่ำ-กึ่งสูงหนา/nǎː/[naː˨˩˦]
คำตาย

เสียงวรรณยุกต์ในคำตายสามารถมีได้แค่เพียง 3 เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงเอก เสียงโท และ เสียงตรี โดยขึ้นอยู่กับความสั้นความยาวของสระ เสียงเอกสามารถออกเสียงควบคู่กับได้สระสั้นหรือยาว เสียงตรีสามารถออกเสียงควบคู่กับสระสั้น และ เสียงโทสามารถออกเสียงควบคู่กับสระยาว เช่น

เสียงสระตัวอย่าง
อักษรไทยหน่วยเสียงเสียง
เอกสั้นหมัก/màk/[mak̚˨˩]
ยาวหมาก/màːk/[maːk̚˨˩]
ตรีสั้นมัก/mák/[mak̚˦˥]
โทยาวมาก/mâːk/[maːk̚˥˩]

แต่อย่างใดก็ดี ในคำยืมบางคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ คำตายสามารถมีเสียงตรีควบคู่กับสระยาว และเสียงโทควบคู่กับสระสั้นได้ด้วย เช่น

เสียงสระตัวอย่าง
อักษรไทยหน่วยเสียงเสียง
อังกฤษ
ตรียาวมาร์ก/máːk/[maːk̚˦˥]Marc, Mark
สตาร์ต/sa.táːt/[sa.taːt̚˦˥]start
บาส (เกตบอล)/báːt (.kêt.bɔ̄n) /[baːt̚˦˥ (.ket̚˥˩.bɔn˧)]basketball
โทสั้นเมคอัพ/méːk.ʔâp/[meːk̚˦˥.ʔap̚˥˩]make-up

รูปวรรณยุกต์

ส่วน รูปวรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่

รูปวรรณยุกต์ชื่อ
ไทยสัทอักษร
-่ไม้เอก/máːj.ʔèːk/
-้ไม้โท/máːj.tʰōː/
-๊ไม้ตรี/máːj.trīː/
-๋ไม้จัตวา/máːj.t͡ɕàt.ta.wāː/

การเขียนเสียงวรรณยุกต์

ทั้งนี้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีระดับเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ขึ้นอยู่กับระดับเสียงของอักษรนำด้วยเช่น ข้า (ไม้โท) ออกเสียงโทเหมือน ค่า (ไม้เอก) เป็นต้น

รูปวรรณยุกต์
ไม่เขียน-่-้-๊-๋
อักษรสูงเสียงจัตวาเสียงเอกเสียงโท--
ตัวอย่างขาข่าข้า--
กลางเสียงสามัญเสียงเอกเสียงโทเสียงตรีเสียงจัตวา
ตัวอย่างปาป่าป้าป๊าป๋า
ต่ำเสียงสามัญเสียงโทเสียงตรี--
ตัวอย่างคาค่าค้า--

คำควบกล้ำ

คำควบกล้ำ หรือ อักษรควบ หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์ และใช้สระเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงกล้ำเป็นพยางค์เดียวกันเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์นั้นจะผันเป็นไปตามเสียงพยัญชนะตัวหน้าคำควบกล้ำ ( อักษรควบ ) มี 2 ชนิด คือ

คำควบแท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ล ว ควบกับพยัญชนะตัวหน้า ประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงพยัญชนะทั้งสองตัวพร้อมกัน คำควบไม่แท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ควบกับพยัญชนะตัวหน้าประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านไม่ออกเสียง ร ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าหรือมิฉะนั้นก็ออกเสียง เป็นเสียงอื่นไป คำควบไม่แท้ที่ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้า ได้แก่พยัญชนะ จ ซ ศ ส ควบกับ ร คำควบไม่แท้ ท ควบกับ ร แล้วออกเสียงกลายเป็น ซ

ใกล้เคียง

ภาษาไทย ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษาไทยถิ่นใต้ ภาษาไทยสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภาษาไทยบ้าบ๋าภูเก็ต ภาษาไทยถิ่นอีสาน ภาษาไทยดำ ภาษาไทยโคราช ภาษาไทยถิ่นสงขลา วันภาษาไทยแห่งชาติ