ความแตกต่างจากภาษาไทยกลาง ของ ภาษาไทยถิ่นเหนือ

ความแตกต่างทางด้านระบบเสียง

โดยมากแล้วภาษาไทยกลางและคำเมืองมักมีเสียงที่เหมือนกันยกเว้นบางครั้ง ที่ไม่เหมือนแต่คล้ายกันได้แก่ เสียงธนิต (aspirate) ของอักษรต่ำมักตรงกับเสียงสิถิล (unaspirate) เช่น จาก "ท" เป็น "ต" (เช่น "ทาง" เป็น "ตาง"), "ช" เป็น "จ" (เช่น "ช้อน" เป็น "จ๊อน"), "พ" เป็น "ป" (เช่น "แพง" เป็น "แปง"), "ค" เป็น "ก" (เช่น "คำ" เป็น "กำ") เป็นต้น โดยมักจะคงเสียงวรรณยุกต์เดิม (เช่น "ใช้" เป็น "ใจ๊") อย่างไรก็ตาม เสียงธนิต (aspirate) ของอักษรต่ำที่ตรงกับเสียงโฆษะบาลีมักมีเสียงที่ตรงกันในทั้งสองภาษา เช่น ภาพ เป็น ภาพ และ ธรรม เป็น ธัมม์ เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว เสียงธนิต (aspirate) ของอักษรต่ำที่ตามด้วย ร ในไทยกลางมักตรงกับเสียงธนิตแต่ไม่มี ร ตามในคำเมือง เช่น คราว เป็น คาว, ครั้ง เป็น คั้ง, และ พระ เป็น พะ นอกจากนี้แล้ว ยังมีความแตกต่างที่อื่นด้วย ได้แก่ เสียง ร ในไทยกลางมักตรงกับเสียง ฮ และ ล เป็นบางคำ คำเมือง (เช่น "เรา" เป็น "เฮา") เสียง ย ที่สะกดด้วย ทั้ง ย และ ญ ในภาษาไทยมักตรงกับเสียง ย นาสิก ซึ่งไม่มีในภาษาไทยกลาง และถิ่นใต้ (เช่น "หญ้า" เป็น "หญ้า (นาสิก)"

นอกจากความแตกต่างทางด้านพยัญชนะแล้ว ทั้งสองมีความแตกต่างทางด้านเสียงวรรณยุกต์อีกด้วย คำที่ขึ้นต้นด้วยอักษรกลาง(ยกเว้น ด, บ, อย, และ อ)ในคำเป็นภาษาไทยที่มีเสียงสามัญมักตรงกับเสียงจัตวาในคำเมือง (เช่น "ตัว" เป็น "ตั๋ว", "ใจ" เป็น "ใจ๋") แต่ในคำพ้องเสียงของภาคกลาง ในภาษาเหนือนั้นอาจจะออกเสียงไม่เหมือนกัน ส่วนในคำตายนั้นเสียงเอกมักตรงกับเสียงจัตวาในคำเมือง (เช่น "หัก" เป็น "หั๋ก")

อักษรไทยประเภทในภาษาไทยกลางเสียงคำเมืองตัวอย่างความหมาย
ก, จ, ต/ฏ, ปอักษรกลางอโฆษะก, จ, ต, ป ตามลำดับก๋า, จ๋าน, ต๋า, ป๋า ตามลำดับกา, จาน, ตา, ปลา ตามลำดับ
ด/ฎ/ฑ, บ, อย, ออักษรกลางโฆษะ และ อด, บ, อย, อ ตามลำดับด้าว, บ่าว, อย่า, อาว ตามลำดับด้าว, บ่าว, อย่า, อาผู้ชาย (อาว์) ตามลำดับ
ค, ช, ท, พอักษรต่ำโฆษะบาลีก, จ, ต, ป ตามลำดับก้า, จ๊าง, ตาง, ปา ตามลำดับค่า, ช้าง, ทาง, พา ตามลำดับ
ฅ, ซ, ฟอักษรต่ำเสียดแทรกค, ซ, ฟ ตามลำดับคืน, ซ้ำ, ฟ้า ตามลำดับกลับคืน, ซ้ำ, ฟ้า ตามลำดับ
ฆ, , ธ/ฒ (ยกเว้น "เฒ่า"), ภอักษรต่ำธนิตค, , ท , พ ตามลำดับ
ข, , ถ/ฐ, ผ, ฝอักษรสูงธนิตข, , ถ, ผ, ฝ ตามลำดับขา, สัตร, ถง, ผ้า, ฝา ตามลำดับขา, ร่มฉัตร, ถุง, ผ้า, ฝา ตามลำดับ
ศ/ษ/สอักษรสูงเสียดแทรกสายสาย
กร, ตร, ปรอักษรกลาง + รข, ก, ผ ตามลำดับขาบ, กง, ผาสาท ตามลำดับกราบ, ตรง, ปราสาท ตามลำดับ
คร, พรอักษรต่ำ + รค, พ ตามลำดับคั้ง, พ้า ตามลำดับครั้ง, พร้า ตามลำดับ
ย, , ล/ฬ , ว, ฮอักษรต่ำกึ่งสระ และ ฮญ (นาสิก), (บางครั้ง ล ในคำภาษาบาลี), ล , ว, ฮ ตามลำดับญาว (นาสิก), เฮือ, ลอง , ว่า, ฮิ ตามลำดับยาว, เรือ, ลอง, ว่า, พยายาม ตามลำดับ
ง, , น/ณ, มอักษรต่ำนาสิกง, ญ (นาสิก), น, ม ตามลำดับงู, ใหญ่ (นาสิก), นา, ม้า ตามลำดับงู, ใหญ่, นา, ม้า ตามลำดับ
ห, หง, หย/หญ, หน, หม, หร/หล, หวอักษรต่ำ ห และ ห นำห, หง, หญ (นาสิก), หน, หม, หล, หว ตามลำดับหา, เหงา, หญ้า (นาสิก), หนู, หมู, หลาน, แหวน ตามลำดับหา, เหงา, หญ้า, หนู, หมู, หลาน, แหวน ตามลำดับ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาไทยถิ่นเหนือ http://rb-social.blogspot.com/2011/08/8-2_30.html http://www.ethnologue.com/show_language.asp?code=n... http://www.jipathaphan.com/index.php?lay=show&ac=a... http://www.oceansmile.com/K/Ratburi/ThaiYeun.htm http://www.teawtourthai.com/saraburi/?id=1454 http://kwannthp.wordpress.com/2011/12/22/%E0%B8%9B... http://www.thaithesis.org/detail.php?id=43030 http://art-culture.chiangmai.ac.th/ http://hic.arts.chula.ac.th/index.php/tai-yuen http://library.tru.ac.th/il/lpcul23.html