ระบบเสียง ของ ภาษาไทยถิ่นเหนือ

ระบบเสียงพยัญชนะ

พยัญชนะต้น

 ริมฝีปากริมฝีปากกับฟันปุ่มเหงือกปุ่มเหงือก-
เพดานแข็ง
เพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
นาสิก [m]  [n] [ɲ] [ŋ] 
ระเบิด[p][pʰ][b] [t][tʰ][d]  [k]([kʰ])** [ʔ]*
เสียดแทรก [f][s]   [x] [h]
กึ่งเสียดแทรก   [t͡ɕ]([t͡ɕʰ])**   
กึ่งสระ [w]  [j]  
กึ่งสระเปิดข้างลิ้น   [l]    
* ก่อนหน้าสระ หรือ หลังสระสั้น** /kʰ/ and /t͡ɕʰ/ มาจากศัพท์ ภาษาไทยกลาง.

พยัญชนะต้นควบกล้ำ

ไม่ปรากฏคำควบกล้ำเสียง ร ล มีคำควบกล้ำเฉพาะเสียง ว เท่านั้นอนึ่งเสียงรัวลิ้น "ร" และเสียงไม่รัวลิ้น "ล" ถือว่าไม่ต่างกัน ซึ่งบางครั้งเสียง "ล" จะกลายเป็นเสียง "ร" ก็ไม่ถือว่าต่างกันแต่อย่างใด

คำควบกล้ำในภาษาไทยถิ่นเหนือนั้น มี ๑๑ เสียงได้แก่

  • /kw/ กว
  • /xw/ ขว, คว
  • /t͡ɕw/ จว
  • /ŋw/ งว
  • /sw/ ซว
  • /ɲw/ ญว
  • /tw/ ตว
  • /pʰw/ พว
  • /jw/ ยว
  • /lw/ ลว
  • /ʔw/ อว

พยัญชนะสะกด

 ริมฝีปากริมฝีปากกับฟันปุ่มเหงือกปุ่มเหงือก-
เพดานแข็ง
เพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
นาสิก [m]  [n]   [ŋ] 
ระเบิด[p]   [t]    [k]  [ʔ]*
กึ่งสระ [w]  [j]  
* หลังสระสั้นเท่านั้น

ระบบเสียงสระ

สระเดี่ยว

อะ อา อิ อี อึ อือ อุ อู เอะ เอ แอะ แอ โอะ โอ เอาะ ออ เออะ เออ

จะ จา จิ จี จึ จือ จุ จู เจะ เจ แจะ แจ โจะ โจ เจาะ จอ เจอะ เจอ

สระประสม

อัวะ อัว เอียะ เอีย เอือะ เอือ

เสียงสระเอือะ,เอือ จะไม่พบในบางท้องถิ่น คือในถิ่นล้านนาตะวันออก ได้แก่ จังหวัดแพร่, อุตรดิตถ์, น่าน, พะเยา และลำปาง โดยจะออกเสียงเป็นสระเอียะ,เอีย เช่น คำเมือง เป็น กำเมียง (มีเสียงเอือะ และเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป๊นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย)

นอกจากนี้ยังมีสำเนียงแบบเมืองยองซึ่งพูดกันมากในจังหวัดลำพูน โดยจะไม่มีสระประสม สระอัว กลายเป็น โอ สระเอีย กลายเป็น เอ และสระเอือ กลายเป็น เออ เช่น เมือง เป็น เมิง, เกลือ เป็น เก๋อ, สวย เป็น โสย, หมี่เกี๊ยว เป็น หมี่เก๊ว เป็นต้น

ระบบเสียงวรรณยุกต์







วรรณยุกต์ (วัณณยุกต์) ทั้งหกของคำเมืองในพยางค์ '/law/' คือ เหลา เหล่า เหล้า เลา เล่า เล้า ตามลำดับ:

เสียงวรรณยุกต์ในพยางค์เป็น

เสียงวรรณยุกต์สำเนียงเชียงใหม่มี 6 เสียง คือ เสียงจัตวา, เสียงเอก, เสียงตรีปลายโท, เสียงสามัญ, เสียงโท, และเสียงตรี[8]

เสียงวรรณยุกต์ตัวอย่าง
อักษรไทยการถอดรหัสเสียงการออกเสียงความหมายในภาษาไทย
เสียงจัตวาเหลา/lǎw/[law˨˦]เหลา, ทำให้คม
เสียงเอกเหล่า/làw/[law˨]เหล่า, ป่า
เสียงตรีปลายโทเหล้า/la᷇w/[la̰w˥˧]เหล้า, เครื่องดืมมึนเมา
เสียงสามัญเลา/lāw/[law˦]งาม
เสียงโทเล่า/lâw/[law˥˩]เล่า, บอกเรื่อง
เสียงตรีเล้า/láw/[la̰w˦˥˦]เล้า, ที่กักไก่

เสียงวรรณยุกต์ในพยางค์ตาย

เสียงวรรณยุกต์ตัวอย่าง
อักษรไทยการถอดรหัสเสียงการออกเสียงความหมายในภาษาไทย
เสียงจัตวาหลัก/lǎk/[lak˨˦]เสาหลัก, หลักแหลม
เสียงตรีลัก/lák/[lak˦˥]ลักขโมย, แอบ
เสียงเอกหลาก/làːk/[laːk˨]หลากหลาย
เสียงโทลาก/lâːk/[laːk˥˩]ลาก, ดึง

เสียงวรรณยุกต์บางที่มีถึง 9 เสียง ได้แก่

  • เสียงสามัญ
  • เสียงเอกต่ำ หรือเสียงเอกขุ่น
  • เสียงเอกสูง หรือเสียงเอกใส
  • เสียงโทต่ำ หรือเสียงโทขุ่น
  • เสียงโทพิเศษ
  • เสียงโทสูง หรือเสียงโทใส
  • เสียงตรีต่ำ หรือเสียงตรีขุ่น
  • เสียงตรีสูง หรือเสียงตรีใส
  • เสียงจัตวา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาไทยถิ่นเหนือ http://rb-social.blogspot.com/2011/08/8-2_30.html http://www.ethnologue.com/show_language.asp?code=n... http://www.jipathaphan.com/index.php?lay=show&ac=a... http://www.oceansmile.com/K/Ratburi/ThaiYeun.htm http://www.teawtourthai.com/saraburi/?id=1454 http://kwannthp.wordpress.com/2011/12/22/%E0%B8%9B... http://www.thaithesis.org/detail.php?id=43030 http://art-culture.chiangmai.ac.th/ http://hic.arts.chula.ac.th/index.php/tai-yuen http://library.tru.ac.th/il/lpcul23.html