ภาษาไทยถิ่นเหนือ
ภาษาไทยถิ่นเหนือ

ภาษาไทยถิ่นเหนือ

คำเมือง (คำเมือง: , [กำเมือง]) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ภาษาถิ่นภาคพายัพ[2] เป็นภาษาถิ่นของชาวไทยวนทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งเป็นอาณาจักรล้านนาเดิม ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, อุตรดิตถ์, แพร่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, พะเยา และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในบางพื้นที่ของจังหวัดตาก, สุโขทัย และเพชรบูรณ์ ปัจจุบันกลุ่มคนไทยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรี, จังหวัดราชบุรี และอำเภอของจังหวัดอื่นที่ใกล้เคียงกับราชบุรีอีกด้วยคำเมืองยังสามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงล้านนาตะวันตก (ในจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน และแม่ฮ่องสอน) และสำเนียงล้านนาตะวันออก (ในจังหวัดเชียงราย, พะเยา, ลำปาง, อุตรดิตถ์, แพร่ และน่าน) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียงล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่จะไม่พบสระเอือะ เอือ แต่จะใช้สระเอียะ เอียแทน (มีเสียงเอือะและเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป็นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย)ส่วนคนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียงเมืองยอง เพราะชาวลำพูนจำนวนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐฉาน จึงมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์คำเมืองมีไวยากรณ์คล้ายกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกันและไวยากรณ์ที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่เดิมใช้คู่กับ อักษรธรรมล้านนา ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่ใช้อักษรมอญเป็นต้นแบบ

ภาษาไทยถิ่นเหนือ

ภูมิภาค ภาคเหนือตอนบนของไทย
ตระกูลภาษา
ออกเสียง  ( ฟังเสียง)
ระบบการเขียน อักษรธรรมล้านนา, อักษรไทย
จำนวนผู้พูด 6 ล้านคน[1]  (ไม่พบวันที่)
ISO 639-3 nod
ภาษาทางการ ไม่มี
ประเทศที่มีการพูด ไทย พม่า ลาว กัมพูชา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาไทยถิ่นเหนือ http://rb-social.blogspot.com/2011/08/8-2_30.html http://www.ethnologue.com/show_language.asp?code=n... http://www.jipathaphan.com/index.php?lay=show&ac=a... http://www.oceansmile.com/K/Ratburi/ThaiYeun.htm http://www.teawtourthai.com/saraburi/?id=1454 http://kwannthp.wordpress.com/2011/12/22/%E0%B8%9B... http://www.thaithesis.org/detail.php?id=43030 http://art-culture.chiangmai.ac.th/ http://hic.arts.chula.ac.th/index.php/tai-yuen http://library.tru.ac.th/il/lpcul23.html