ภาษาทองแดง ของ ภาษาไทยถิ่นใต้

ภาษาทองแดง เดิมเป็นอีกชื่อของภาษาไทยถิ่นใต้ เป็นชื่อที่แปลมาจากชื่อเดิมคือ "ภาษาตามโพร" สันนิษฐานว่า การตั้งชื่อนี้มาจากชื่อของอาณาจักรตามพรลิงก์ (ตาม-พระ-ลิง) [ต้องการอ้างอิง] ซึ่งคำว่า ตามพร (ะ) - แปลว่าทองแดง (สันสกฤต: Tāmbra ตามพร, บาลี: Tāmba ตามพ) แต่ในปัจจุบัน คำว่าภาษาทองแดง จะหมายถึง ผู้ที่มีภาษาแม่เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ เมื่อพูดภาษาไทยมาตรฐานแล้ว สำเนียงจะไม่ชัด กล่าวคือ มีสำเนียงของภาษาไทยถิ่นใต้ หรือใช้คำศัพท์ที่มีอยู่เฉพาะในภาษาไทยถิ่นใต้ มาปะปนอยู่กับภาษาไทยมาตรฐาน ชาวใต้จะเรียกอาการนี้ว่า แหลงทองแดง (ทองแดงหล่น) ตัวอย่างเช่น การออกเสียงอักษร ฮ. แทนเสียง ง., การออกเสียง ควฺ, ขวฺ แทนเสียง ฟ., ฝ. (การจับผิดว่า ชาวใต้คนหนึ่งคนใด "แหลงทองแดง" หรือพูดไม่ได้สำเนียงมาตรฐาน ชาวใต้ถือเป็นการดูแคลน จะอนุญาตให้จับผิดได้ เฉพาะชาวใต้ด้วยกัน หรือเป็นคนที่สนิทสนมเท่านั้น) ปัจจุบันผู้ที่พูดภาษาใต้ไม่ชัด หรือออกสำเนียงใต้ไม่ชัดเจนก็เรียกว่าแหลงทองแดงเช่นกัน

แหลงข้าหลวง คำนี้เป็นภาษาไทยใต้สำเนียงสงขลา ใช้สำหรับดูถูก ผู้ใช้ที่ใช้ภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพ เป็นสำเนียงถิ่น (บ้างอาจจะใช้เรียกผู้ที่ใช้ภาษาไทยกลางแท้ เช่นภาษาไทยมาตรฐานและสำเนียงสุพรรณบุรีด้วย), โดยเฉพาะเมื่อคนนั้นมีความพยายามที่จะพูดภาษาไทยใต้ และพูดไม่ได้สำเนียงใต้ โดยเฉพาะพลาดพลั้งในการใช้อนุประโยค ที่เป็นแบบภาษาหมิ่นใต้[ต้องการอ้างอิง]