ระบบเสียง ของ ภาษาไทยถิ่นใต้

ระบบเสียงพยัญชนะ

bilabiallabiodentalalveolaralveolar-palatalpalatalpalatal-velarvelaruvelarglotal
Plosive[p] [pʰ] [p̚]

[b] [bᵐ]

[t] [tʰ] [t̚]

[d]

[c] [cʰ][k] [kʰ] [k̚][ʔ]
Nasal[m] [m̚][n] [n̚][ɲ][ŋ] [ŋ̚][ɴ]
Trill[r]
Tap or Flap[ɾ]
Fricative[β][f][s][ɧ][x][h]
Approximant[w][ʋ̚][ɹ][j] [j̚]
Lateral[l]
Affricate[tɕ] [tɕʰ]

ระบบเสียงสระ

สระเดี่ยว

อะ อา อิ อี อึ อือ อุ อู เอะ เอ แอะ แอ โอะ โอ เอาะ ออ เออะ เออ

สระประสม

เอียะ เอีย เอือะ เอือ อัวะ อัว

vowels
short vowellong vowelsshort

dipthongs

aอะอาเอียะ
iอิอีอัวะ
eเอะเอɯəเอือะ
ɛแอะɛːแอlong

dipthong

ɔเอาะɔːออiaเอีย
uอุอูuaอัว
ɯอึɯːอือɯaเอือ
ɤเออะɤːเออvowel with

finals

əเออะโอam̚อำ
oโอะaj̚ไอ

ใอ

aʋ̚เอา


ระบบเสียงวรรณยุกต์

เสียงวรรณยุกต์มีถึง 7 หน่วยเสียง ได้แก่

  • สูง-ขึ้น-ตก [453] และสูง-ขึ้น [45]
    • สูง-ขึ้น-ตก [453] เป็นเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์เป็นที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นพวกอักษรสูง หรืออักษรต่ำที่มีอักษรสูงนำ
    • สูง-ขึ้น [45] เป็นเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์ตายที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นพวกอักษรสูง หรืออักษรต่ำที่มีอักษรสูงนำ และมีพยัญชนะเสียงกัก (ก, ด, บ) เป็นเสียงสะกด
  • อสูง-ระดับ (ตกตอนท้าย) [44] เป็นเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์เป็นและพยางค์ตายเสียงยาวที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นพวกอักษรสูง หรืออักษรต่ำที่มีอักษรสูงนำ
  • กลาง-ขึ้น-ตก [343] และกลาง-ขึ้น [34]
    • กลาง-ขึ้น-ตก [343] เป็นเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์เป็นที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นพวกอักษรกลาง
    • กลาง-ขึ้น [34] เป็นเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์ตายที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นพวกอักษรกลาง และมีพยัญชนะเสียงกัก (ก, ด, บ) เป็นเสียงสะกด
  • กลาง-ระดับ [33] เป็นเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์เป็นและพยางค์ตายเสียงยาวที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นพวกอักษรกลาง
  • ต่ำ-ขึ้น-ตก [232] เป็นเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นพวกอักษรต่ำ
  • ต่ำ-ขึ้น [24] เป็นเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์เป็นและพยางค์ตายเสียงยาวที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นพวกอักษรต่ำ
  • ต่ำ-ตก [21] เป็นเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์เป็นและพยางค์ตายเสียงสั้นที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นพวกอักษรต่ำ

คำควบกล้ำ

คำควบกล้ำในภาษาไทยถิ่นใต้ นั้น มี 15 เสียง ได้แก่ กร, กล, กว, คร, คล, คว, ตร, บร, บ (ซึ่งออกเป็นเสียงธนิตควบกล้ำด้วย ร), ปร, ปล, พร, พล, มร, มล ส่วน ทร บางคำเป็นควบกล้ำไม่แท้ เช่น เทริด อ่านว่า เซิด แปลว่า เครื่องสวมศีรษะของกษัตริย์

เพิ่มเติมครับ มีคำควบกล้ำ ที่ไม่ได้อยู่ในหลักภาษาไทยมาตรฐานด้วย เช่น

  • หมฺรฺ เช่น หมฺรับ อ่านว่า "หฺมฺรับ" (ห เป็นอักษรนำ ตามด้วย ม ควบกล้ำด้วย ร) แปลว่า สำรับ ไม่ได้ อ่านว่า หม-รับ หรือ หมับ ให้ออกเสียง "หมฺ" ควบ "ร") เช่น การจัดหฺมฺรับประเพณีสารทเดือนสิบ