ระบบเสียง ของ ภาษาไทใหญ่

พยัญชนะ

เสียงสัทอักษรพยัญชนะในภาษาไทใหญ่ (เสียงแปร) มีอยู่ด้วยกัน 19 เสียง ไม่เหมือนภาษาไทยและลาวเพราะไม่มีเสียงกักโฆษะ [d] และ [b]**

 ริมฝีปากทั้งสองริมฝีปากล่าง
-ฟันบน
ปุ่มเหงือกหลังปุ่ม
เหงือก
เพดานแข็งเพดานอ่อนผนังคอ
เสียงกัก[ p ]
[ pʰ ]
 [ t ]
[ tʰ ]
   [ k ]
[ kʰ ]
 [ ʔ ]
เสียงนาสิก [ m ]
  [ n ]
[ ɲ ]
   [ ŋ ]
 
เสียงเสียดแทรก ([ f* ])
[ s ]
    [ h ]
เสียงผสมเสียดแทรก   [ ts ]
    
เสียงรัวลิ้น   ([ r* ])
    
เสียงเปิด    [ j ]
 [ w ]
 
เสียงข้างลิ้น   [ l ]
    
  • เสียง /f/ (ၾ) บางครั้งอาจจะออกเสียงเป็น /pʰ/ * เสียง /r/ ส่วนใหญ่มักออกเสียงเป็น /ɹ/ (เหมือนอักษร R ในภาษาอังกฤษ)
  • ปัจจุบัน ได้มีการเพิ่มรูปและเสียงของพยัญชนะเข้ามาแล้ว คือ /b/ = ၿ , /d/ = ၻ แต่มักจะใช้ในคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ

พยัญชนะควบกล้ำ

ในภาษาไทใหญ่มีการควบกล้ำอยู่ 3 เสียง /j/ /r/ /w/ โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปของพยัญชนะที่นำมาควบด้วย เป็น ျ , ြ , ႂ ตามลำดับ อนึ่ง คำที่ควบด้วยเสียง /r/ บางครั้งจะไม่ออกเสียงควบกันสนิท โดยจะออกเสียงในลักษณะสระอะกึ่งเสียง สำหรับเสียง /k/ , /kʰ/ และ /s/ เมื่อมีการควบของเสียงร่วมกับเสียง /j/ เสียงที่เกิดขึ้นมักจะใกล้เคียงกับเสียง /c/ , /cʰ/ และ /ʃ/ ตามลำดับ
ตัวอย่างคำ

  • ၵျွင်း [kʲɔ̰́ŋ] วัด [กย๊อง]
  • ၽြႃး [pʰɹáː] พระ [พร้า]
  • ၵႂၢမ်း [kʷáːm] คำพูด, ความ, ภาษา [กว๊าม]

เสียงสระ

ภาษาไทใหญ่มีสระเดี่ยวอยู่ 10 เสียง และสระผสมอีก 13 เสียง
สระเดี่ยว

หน้ากลาง-หลังหลัง
/i//ɨ/~/ɯ//u/
/e//ə/~/ɤ//o/
/ɛ//a/
/aː/
/ɔ/


สระผสม
[iu], [eu], [ɛu]; [ui], [oi], [ɯi], [ɔi], [əi]; [ai], [aɯ], [au]; [aːi], [aːu]

เสียงวรรณยุกต์

[[:File:ShanTone.ogg|]]
เสียงวรรณยุกต์ทั้ง 6 เสียงในภาษาไทใหญ่พร้อมสัญลักษณ์ทางสัทอักษร โดยใช้ /kaː/ ในการออกเสียง

หากมีปัญหาในการเล่นไฟล์นี้ ดูที่ วิธีใช้สื่อ
วรรณยุกต์ไทใหญ่เสียงอักษรไทยไทย
จัตวาၼႃ/nǎː/หนาหนา
เอกၼႃႇ/nàː/หน่ามาก
โทၼႃႈ/nāː/หน้าหน้า
ตรีၼႃး/náː/น้านา
โทสั้นၼႃႉ/na̰/น่าน้า

เปรียบเสียงกับภาษาไทย

โดยมากแล้วทั้งสองภาษามักมีเสียงวรรณยุกต์ที่คล้ายกันยกเว้นบางที่ ที่คล้ายได้แก่ เสียงเอกในคำเป็นของทั้งสองมักตรงกัน เช่น ป่า, อย่า, อยู่, ผ่า เป็นต้น เสียงจัตวาในคำเป็นที่ขึ้นต้นด้วยอักษรสูงมักตรงกัน เช่น ขา, หมา, หนา, ผา, หลัง เป็นต้น เสียงที่ไม่เหมือนได้แก่ เสียงสามัญไทยในคำที่ขึ้นต้นด้วยอักษรกลางมักตรงกับเสียงจัตวาไทใหญ่ เช่น กา เป็น ก๋า, ปลา เป็น ป๋า, ตา เป็น ต๋า, และ อา เป็น อ๋า เป็นต้น เสียงสามัญไทยในคำที่ขึ้นต้นด้วยอักษรต่ำมักตรงกับเสียงตรีไทใหญ่ เช่น นา เป็น น้า, ทา เป็น ต๊า, ลา เป็น ล้า เป็นต้น เสียงโทไทยมักตรงกับเสียงสามัญไทใหญ่ เช่น เจ้า เป็น เจา, ข้า เป็น คา, หน้า เป็น นา, และ ผ้า เป็น พา เป็นต้น เสียงตรีไทยมักตรงกับเสียงโทสั้นไทใหญ่ เช่น น้ำ เป็น น่ำ, ช้าง เป็น จ้าง, ม้า เป็น ม่า, น้า เป็น น่า เป็นต้น

นอกจากการแตกต่างระหว่างเสียงวรรณยุกต์แล้ว ทั้งสองมีความแตกต่างเล็กน้อยทางเสียงพยัญชนะขึ้นต้นด้วย คำในภาษาไทยที่ขึ้นต้นด้วยอักษรต่ำเสียงกักธยิตมักตรงกับเสียงกักสิถิลในไทใหญ่ เช่น พยัญชนะ พ, ท, และ ค ในไทยมักตรงกับเสียง ป, ต, และ ก ในไทใหญ่ แต่คำในภาษาไทยที่ขึ้นต้นด้วยอักษรต่ำเสียงกักธยิตที่ตรงกับเสียงโฆษะบาลีมักตรงกับเสียงกักธนิตในไทใหญ่ เช่น พยัญชนะ ภ, ธ, และ ฆ ในไทยมักตรงกับเสียง พ, ท, และ ค นอกจากนี้ คำในภาษาไทยที่ขึ้นต้นด้วยอักษรต่ำเสียงกักธยิตที่ตามด้วย ร มักตรงกับเสียงกักธนิตในไทใหญ่ เช่น พยัญชนะ ปร, ทร, และ คร ในไทยมักตรงกับเสียง พ, ท, และ ค ในไทใหญ่

นอกจากนี้แล้ว มีเสียงพยัญชนะบางเสียงในไทใหญ่ที่ไม่ตรงกับไทย พยัญชนะ ด กับ บ ของไทยมักตรงกับเสียง หล กับ หม ในไทใหญ่ เช่น ดิน เป็น หลิน, ดี เป็น หลี, เดือน เป็น เหลิน, บ่า เป็น หม่า, บ้า เป็น มา (หม้า), และ บ่าว เป็น หม่าว เป็นต้น พยัญชนะ ร ของไทยมักตรงกับเสียง ฮ ไทใหญ่ เช่น เรา เป็น เฮ้า, ร่าง เป็น ฮาง, และ รัก เป็น ฮั่ก เป็นต้น

อักษรต่ำไทย
ไม้วรรณยุกต์ไทยอักษรไทยเสียงไทยอักษรไทใหญ่การออกเสียงเสียงไทใหญ่
-ทา/tʰaa/တႃးต๊า~ตา/táa/
เอกท่า/tʰâa/တႃႈต้า (โทพิเศษ)/taa/
โทท้า/tʰáa/တႃႉต้ะ~ต้า/ta̰a/
อักษรกลางไทย
ไม้วรรณยุกต์ไทยอักษรไทยเสียงไทยอักษรไทใหญ่การออกเสียงเสียงไทใหญ่
-ปลา/plaa/ပႃป๋า/pǎa/
เอกป่า/pàa/ပႃႇป่า/pàa/
โทป้า/pâa/ပႃႈปา/paa/
อักษรสูงไทย
ไม้วรรณยุกต์ไทยอักษรไทยเสียงไทยอักษรไทใหญ่การออกเสียงเสียงไทใหญ่
-ผา/pʰǎa/ၽႃผา/pʰǎa/
เอกผ่า/pʰàa/ၽႃႇผ่า/pʰàa/
โทผ้า/pʰâa/ၽႃႈพา/pʰaa/