ภาษาไทใหญ่

ภาษาไทใหญ่ หรือ ภาษาฉาน (ไทใหญ่:  လိၵ်ႈတႆး (วิธีใช้·ข้อมูล) [ลิ่กไต๊],  ၵႂၢမ်းတႆး (วิธีใช้·ข้อมูล) ความไท [กว๊ามไต๊], /kwáːm.táj/; อังกฤษ: Shan language) เป็นภาษาตระกูลขร้า-ไท ใช้พูดในภาคเหนือของประเทศพม่า ประเทศไทย และทางตอนใต้ของประเทศจีน มีเสียงวรรณยุกต์ 5 เสียง ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้พูดที่แน่นอน เนื่องจากสงครามระหว่างพม่ากับไทใหญ่ ทำให้การเข้าไปศึกษาเกี่ยวกับชาวไทใหญ่ทำได้ยาก คาดว่ามีผู้พูดราว 4-30 ล้านคน มีอักษรเป็นของตนเอง 2 ชนิดคือ อักษรไทใหญ่ ใช้ในพม่า และอักษรไทใต้คง ใช้ในจีนแม้ว่าจะมีคำกล่าวว่า "อย่ากิ๋นอย่างม่าน อย่าตานอย่างไต" ซึ่งเปรียบเทียบวิถีชีวิตของชาวพม่าที่ให้ความสำคัญกับการกินอยู่ ซึ่งแตกต่างจากชาวไทใหญ่ที่ให้ความสำคัญแก่การทำบุญ ถึงกระนั้นไทใหญ่ก็รับวัฒนธรรม ศาสนา ตลอดจนถึงคำในภาษาพม่าเข้ามามาก จนคำไทใหญ่หลายถิ่นเป็นกวามไตลอแล คือไทใหญ่พูดคำพม่าปนไปหมด เช่นที่เมืองสีป้อและเมืองยางเป็นต้น[1]

ภาษาไทใหญ่

ภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตระกูลภาษา
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน  พม่า
ระบบการเขียน อักษรไทใหญ่
ออกเสียง lik.táj
จำนวนผู้พูด 3.3 ล้านคน  (2544)
ISO 639-3 shn
ISO 639-2 shn
ชาติพันธุ์ ชาวไทใหญ่
ประเทศที่มีการพูด พม่า (โดยมากในรัฐฉาน), ไทย, จีน