การนำไปใช้งาน ของ ภาษาไพทอน

ด้วยความยืดหยุ่นของภาษาไพทอน และความเป็น ภาษาสคริปต์ทำให้มีการใช้งานไพทอนอย่างกว้างขวาง

ตัวแก้ไขสำหรับไพทอน

ผู้ใช้สามารถใช้ตัวแก้ไขข้อความทั่วไปในการแก้ไขโปรแกรมภาษาไพทอน นอกจากนั้นยังมี Integrated Development Environmentอื่น ๆ ให้เลือกใช้อีก อาทิ

  • PyScripter: เป็นชุดเครื่องมือสำหรับพัฒนาภาษาไพธอน บนระบบปฏิบัติการวินโดวน์ ที่ให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ฟรี (open source)
  • Python IDLE: มีอยู่ในชุดอินเตอร์พรีเตอร์อยู่แล้ว สามารถเลือกติดตั้งได้
  • PythonWin: เป็นตัวแก้ไขในชุดของ PyWin32
  • ActivePython: จาก ActiveState (ล่าสุด รุ่น 2.5.1 )
  • SPE (Stani's Python Editor) : เป็นตัวแก้ไขที่มาพร้อมกับตัวออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟส wxGlade และเครื่องมือสำหรับ Regular Expression มีระบบ Syntax Highlight และการจัดย่อหน้าตามวากยสัมพันธ์ของไพทอนให้อัตโนมัติพัฒนาขึ้นจากภาษาไพทอนดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรีที่ http://spe.pycs.net
  • WingIDE: ตัวแก้ไขที่มีระบบ Syntax Highlight และการจัดย่อหน้าตามไวยกรณ์ของไพทอนให้อัตโนมัติ แต่ไม่ใช่ฟรีแวร์
  • Komodo: ตัวแก้ไขที่มีระบบ Syntax Highlight, การจัดย่อหน้าตามไวยกรณ์ของไพทอนให้อัตโนมัติและเติมคำอัตโนมัติ เป็นตัวแก้ไขจาก ActiveState อีกตัวหนึ่ง ไม่ใช่ฟรีแวร์
  • Pydev: เป็น Python IDE สำหรับ Eclipse สามารถใช้พัฒนา Python, Jython และ Ironpython
  • PyCharm: เป็น Python IDE ที่สร้างขึ้นโดยบริษัท JetBrains แบ่งออกเป็น 2 เวอร์ชัน ได้แก่ Community Edition (ใช้งานฟรี) และ Professional Edition (เสียเงินสามารถทดลองใช้ได้ 30 วัน) โดย Professional Edition จะเพิ่มความสามารถในการตรวจ syntax ของเฟรมเวิร์กที่ได้รับความนิยมที่ใช้งานร่วมกับภาษาไพทอน เช่น Django, Flask, Google App Engine เป็นต้น

องค์กรสำคัญที่ใช้ไพทอน

ซอฟต์แวร์ที่เขียนด้วยไพทอน

  • บิตทอร์เรนต์ (BitTorrent)
  • Chandler โปรแกรมจัดการข้อมูลส่วนบุคคล
  • บางส่วนของ GNOME
  • บางส่วนของ Blender
  • Mailman โปรแกรมจัดการจดหมายกลุ่ม (เมลลิ่งลิสต์)
  • MoinMoin โปรแกรมวิกิ
  • Portage ส่วนจัดการแพกเกจของ Gentoo Linux
  • Zope แอปพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์
  • เทอร์โบเกียร์ กรอบงานขนาดใหญ่สำหรับพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ
  • Django กรอบงานขนาดใหญ่สำหรับพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ