ภาษาไพทอน

ภาษาไพทอน (Python programming language) หรืออีกชื่อที่คนไทยนิยมเรียกว่า ภาษาไพธอน เป็นภาษาระดับสูงซึ่งสร้างโดยคีโด ฟัน โรสซึม โดยเริ่มในปีพ.ศ. 2553 การออกแบบของภาษาไพทอนมุ่งเน้นให้ผู้โปรแกรมสามารถอ่านชุดคำสั่งได้โดยง่ายผ่านการใช้งานอักขระเว้นว่าง (whitespaces) จำนวนมาก นอกจากนั้นการออกแบบภาษาไพทอนและการประยุกต์ใช้แนวคิดการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุในตัวภาษายังช่วยให้นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมที่เป็นระเบียบ อ่านง่าย มีขนาดเล็ก และง่ายต่อการบำรุง[3]ไพทอนเป็นภาษาแบบไดนามิกซึ่งรองรับกระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรมหลายรูปแบบ ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงการเขียนโปรแกรมตามลำดับขั้น, การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ, หรือการเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน นอกจากนี้ไพทอนเป็นภาษาที่มักถูกอธิบายว่าเป็นภาษาโปรแกรมแบบ "มาพร้อมถ่าน" (batteries included) กล่าวคือไพทอนมาพร้อมกับไลบรารีมาตรฐานจำนวนมาก เช่นโครงสร้างข้อมูลแบบซับซ้อน และไลบรารีสำหรับคณิตศาสตร์ไพทอนรุ่น 2.0 ซึ่งออกเมื่อปีค.ศ. 2000 มาพร้อมกับเครื่องมือภายในจำนวนมาก เช่นเครื่องมือการสร้างลิสต์ (list comprehension) และตัวเก็บขยะ (garbage collector) และไพทอนรุ่น 3.0 เป็นไพทอนรุ่นที่ได้รับการปรับปรุงและแก้ไขจำนวนมาก ทว่าความเปลี่ยนแปลงไนไพทอน 3 นั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เข้ากันแบบย้อนหลัง กล่าวคือชุดคำสั่งที่เขียนสำหรับไพทอน 2 อาจไม่ทำงานตามปกติเมื่อสั่งให้ทำงานบนตัวแปลภาษาของไพทอน 3

ภาษาไพทอน

เว็บไซต์ www.python.org
ลิขสิทธิ์: ลิขสิทธิ์มูลนิธิซอฟต์แวร์ไพทอน
ระบบปฏิบัติการ หลายระบบปฏิบัติการ
เป็นพื้นฐานของ Jython, IronPython
รุ่นล่าสุด 3.8.1
18 ธันวาคม ค.ศ. 2019 (2019-12-18)[1]
2.7.17
19 ตุลาคม ค.ศ. 2019 (2019-10-19)[2]
ออกแบบโดย คีโด ฟัน โรสซึม
พัฒนาโดย มูลนิธิซอฟต์แวร์ไพทอน
เริ่มในปี พ.ศ. 2533
มีอิทธิพลจาก ABC, Perl, Lisp, Smalltalk, Tcl
มีอิทธิพลต่อ Ruby, Boo